หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ สถิติโรคไข้เลือดออกระบาดปี 2567

สถิติโรคไข้เลือดออกระบาดปี 2567

รับมือกับโรคไข้เลือดออกปี 2567

รับมือไข้เลือดออกระบาด เช็กอาการและป้องกันอย่างไร?

หน้าฝนแบบนี้นอกจากจะฝนตกหนักและอาจทำให้เป็นหวัดได้ง่ายแล้ว อีกหนึ่งโรคยอดฮิตที่ตามมาด้วยก็คือโรคไข้เลือดออก

หลายคนอาจจะคิดว่าดูเป็นโรคที่ไกลตัว โดยเฉพาะคนที่ใช้ชีวิตในเมืองใหญ่ แต่รู้หรือไม่ว่า ไข้เลือดออกเป็นโรคระบาดที่ใกล้ตัวเรามากๆ ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่เมืองใหญ่หรือพื้นที่ต่างจังหวัด และถ้าหากเข้ารักษาไม่ทัน อาจจะทำให้เกิดอาการรุนแรง ถึงเสียชีวิตได้เลย

ในบทความนี้เราจึงอยากจะมาแนะนำวิธีสังเกตอาการเบื้องต้น พร้อมแนะนำวิธีการป้องกันรักษากัน 


ข้ามไปอ่านประเด็นที่น่าสนใจ


สถิติโรคไข้เลือดออกปี 2567

จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคระบุว่า 15 ปีที่ผ่านมา ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวน 1,237,467 คน และสถิติโรคไข้เลือดออกปี 2567 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนพฤษภาคมนี้ มียอดผู้ป่วยสะสมมากถึง 27,334 คน และมีผู้เสียชีวิตไปแล้ว 31 คน ซึ่งหากเปรียบเทียบตัวเลขกับสัปดาห์ก่อนๆ ก็จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสาเหตุที่จำนวนผู้ป่วยมีเพิ่มขึ้นก็เนื่องจากว่าประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนนั่นเอง (แหล่งน้ำขังจำนวนมากที่เกิดขึ้นจากน้ำฝน ทำให้ยุงลายแพร่พันธุ์ง่ายมากขึ้น)

Sunday Tips รู้หรือไม่!? 

5 เรื่องจริงที่เราอาจไม่รู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก

1. จังหวัดที่พบผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดคือกรุงเทพมหานคร
2. ไข้เลือดออกเสี่ยงทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ
3. ไข้เลือดออกอาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการก็ได้
4. ไข้เลือดออกหากเป็นแล้วก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้
5. หากมีการติดเชื้อซ้ำ อาการอาจรุนแรงมากขึ้นกว่าครั้งก่อนหน้า

ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค

เช็กอาการไข้เลือดออกเบื้องต้น

โรคไข้เลือดออกนั้นมี 3 ระยะด้วยกัน ไปดูกันว่าอาการไข้เลือดออกแต่ละระยะมีอาการอย่างไรบ้าง?

  • ระยะที่ 1: ระยะนี้เรียกว่าระยะไข้ คือมีไข้สูง หน้าแดง ตัวแดง และมีจุดเลือดออกตามตัว แต่จะแตกต่างจากไข้หวัดทั่วไปตรงที่ อาการไข้เลือดออกจะไม่มีน้ำมูกหรือไอ แต่ในรายที่มีอาการรุนแรง อาจอาเจียนและถ่ายเป็นเลือดสีดำ
  • ระยะที่ 2: เป็นระยะที่เรียกว่าระยะช็อก ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อไข้มีอาการลดลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งระยะนี้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ก็อาจเสียชีวิตได้เลย
  • ระยะที่ 3: ระยะฟื้นตัว ซึ่งเป็นระยะที่ไข้ค่อยๆ ลดลง และอาการจะเริ่มดีขึ้นเรื่อยๆ 

ป้องกันไข้เลือดออกอย่างไรในหน้าฝน?

  • ป้องกันไม่ให้ยุงกัด โดยอาจใช้ยากันยุง สเปรย์ฉีดตัวไล่ยุงที่หาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อ หรือหากไม่ชอบกลิ่นแรง ก็ควรใส่เสื้อแขนยาว ขายาว หรือนอนในมุ้ง
  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย หากไม่สามารถกำจัดภาชนะที่มีน้ำอยู่ได้ ให้หาผ้าหรือตาข่ายมาปิด เพื่อไม่ให้ยุงมาวางไข่ รวมถึงหมั่นเปลี่ยนน้ำทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นแจกัน หรือขวดน้ำต่างๆ
  • ฉีดวัคซีนไข้เลือดออก เพื่อลดความรุนแรงของโรค โดยเฉพาะผู้ที่เคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน ทั้งนี้ทั้งนั้นควรทำการปรึกษาแพทย์ก่อนว่าเราเหมาะสมกับการฉีดวัคซีนหรือไม่

ซึ่งนอกจากโรคไข้เลือดออกจะเป็นโรคที่อาจทำให้เราเสียชีวิตได้แล้ว โรคไข้เลือดออกก็มีค่ารักษาที่ไม่น้อยเลยทีเดียว หากต้องนอนรักษาตัวในโรงพยาบาลเป็นเวลานานๆ โดยข้อมูลจากโรงพยาบาลเปาโลระบุว่า ผู้ป่วยที่มานอนรับการรักษาที่โรงพยาบาล 3 วันนั้น มีค่าใช้จ่ายรวมอยู่ที่ประมาณ 49,000 บาทเลยทีเดียว


หากคุณมีความเสี่ยงสูง มีที่อยู่อาศัยอยู่ใกล้แหล่งน้ำ และหลีกเลี่ยงเจ้ายุงลายไม่ได้ ซันเดย์แนะนำประกันโรคปอดและโรคไข้เลือดออก ทำได้ตั้งแต่อายุ 6 – 70 ปี ค่าเบี้ยเริ่มต้นเพียง 370 บาท/ปี ให้ความคุ้มครองผู้ป่วยใน (IPD) สูงสุดถึง 60,000 บาท/ครั้ง แถมมีค่าเชยรายวันให้ด้วยนะ! ไปเช็คอ่านความคุ้มครองและสั่งซื้อประกันออนไลน์กันได้เลย! ซื้อประกันออนไลน์ได้เองง่ายๆ เพียงแถลงประวัติสุขภาพไม่กี่ข้อบนเว็บไซต์ ส่งกรมธรรม์ตัวจริงถึงบ้านให้ไม่เกิน 2 สัปดาห์! แอด LINE @easysunday หากต้องการพูดคุยกับแอดมิน

อยากใช้ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ต้องทำอย่างไร?

แอปประกันซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ทำอะไรได้บ้าง?

หากคุณเป็นอีกคนที่อยากใช้ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday แอปประกันที่ตอบโจทย์ความต้องการทุกอย่างได้ครอบคลุมแบบนี้ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมาใช้งานได้ในทันที ผ่าน App Store หรือ Google Play Store แล้วอย่าลืมติดตามข่าวสารและโปรโมชันดีๆ จากซันเดย์ในทุกๆ วันของคุณ


Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

คนไทยป่วย OPD โรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา?

การรักษาแบบ OPD คืออะไร คนไทยป่วยด้วย OPD ด้วยโรคอะไรมากที่สุด? การรักษาแบบ OPD หรือ Out-Patient Department คือ…
5 โรคแบบ OPD

ครบที่เดียว! สรุปสาเหตุ + อาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย

สูงวัยเช็กด่วน! รวมสาเหตุและอาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อเวลาเปลี่ยนไป…
menopause-in-men-and-women

เข้าใจก่อนซื้อ! 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ

สรุปครบ! ทำไมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไม่เท่ากัน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประชากร รวมถึงความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ…
factors-affect-health-insurance-premium
0
Share