หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ ซื้อประกันสุขภาพเด็กให้ลูก 1 คน ต้องเข้าใจ 4 เรื่องนี้

ซื้อประกันสุขภาพเด็กให้ลูก 1 คน ต้องเข้าใจ 4 เรื่องนี้

ซื้อประกันให้ลูก

วางแผนดูแลสุขภาพลูก ต้องซื้อประกันเด็กเลยไหม?

การเลี้ยงลูก 1 คน ไม่เพียงแต่จะอาศัยความพยายามในทุกๆ ด้าน แต่ยังมาพร้อมกับการเตรียมความพร้อมด้านค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดู โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลโรคเด็กเล็กที่มักจะสูงกว่าค่ารักษาพยาบาลของผู้ใหญ่หลายเท่าตัว

ดังนั้น เพื่อช่วยให้ผู้ที่กำลังวางแผนมีลูก รวมไปถึงคุณพ่อคุณแม่ที่ลูกเพิ่งคลอด ได้วางแผนการดูแลสุขภาพลูกอย่างรอบด้านมากที่สุด ลองมาทำความเข้าใจ 4 เรื่องสำคัญเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพลูกที่นำมาฝากในบทความนี้ พร้อมตอบคำถามคาใจว่า “ประกันสุขภาพเด็กจำเป็นมากแค่ไหน” กัน

ประกันเด็กจำเป็นไหม

เรื่องที่ 1: เข้าใจก่อน! เด็ก 1 คน เสี่ยงป่วยมากแค่ไหน?

“ทำไมเด็กป่วยบ่อย?” ถือเป็นอีกหนึ่งคำถามที่หลายคนสงสัยอยู่ไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่ดูแลลูกน้อยเป็นอย่างดีแล้ว แต่จนแล้วจนรอดลูกก็ยังป่วยบ่อย

ถึงแม้จะได้รับการเสริมภูมิคุ้มกันจากนมแม่ รวมถึงสารพัดวัคซีนที่ฉีดตั้งแต่แรกเกิด แต่ในความเป็นจริงแล้ว ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กยังจำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาและสร้างความแข็งแรงด้วยเช่นกัน 

ดังนั้น หากยิ่งเด็กอายุน้อยเท่าไหร่ ความแข็งแรงของภูมิคุ้มกันในร่างกายก็จะน้อยตามไปด้วย จึงเป็นสาเหตุทำให้ลูกน้อยมีความเสี่ยงที่เจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น แม้จะเผชิญกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยเล็กน้อย ไม่ว่าจะเป็นอากาศที่เปลี่ยนแปลง อุณหภูมิที่แปรปรวน อาหารการกิน ฝุ่นควันและสิ่งสกปรก หรือ แม้แต่การสัมผัสสิ่งของและบุคคลภายในบ้าน

เรื่องที่ 2: โรคฮิตในเด็กที่ต้องเตรียมรับมือในแต่ละช่วงวัย

เด็กแต่ละช่วงอายุมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยแตกต่างกัน โดยเบื้องต้นแล้ว เด็กแต่ละช่วงวัยมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยด้วยโรคฮิตในเด็กที่แตกต่างกัน ดังนี้

โรคฮิตในเด็กแรกเกิด

เด็กแรกเกิด หรือ เด็กอายุตั้งแต่แรกเกิด – 1 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาเด็กสามารถกิน นอน ร้อง และถ่ายได้ ทั้งจะมีการเคลื่อนไหวตอบสนองกับสิ่งต่างๆ โดยอัตโนมัติ เช่น สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียง หรือ กำนิ้วมือ เป็นต้น

เด็กระยะนี้สามารถสื่อสารความต้องการได้ผ่านการยิ้มและร้อง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรสังเกตการร้อง พร้อมพิจารณาถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นรอบด้าน เพื่อทำความเข้าใจความหมายของการร้องในแต่ละครั้ง

โดยส่วนใหญ่แล้ว ภาวะผิดปกติ หรือ โรคฮิตในเด็กแรกเกิด ที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังจะประกอบไปด้วย

  • ร้องโคลิก หรือ อาการที่เด็กร้องเสียงดังต่อเนื่องเป็นช่วงเวลา เช่น ร้องดังนานหลายชั่วโมงโดยไม่ทราบสาเหตุ 
  • ผื่น เช่น “ผดร้อน” ที่เป็นตุ่มใสๆ บริเวณหน้าผาก คอ หลัง ข้อพับ หรือ “ผื่นผ้าอ้อม” ที่เกิดขึ้นจากการที่ผิวหนังระคายเคืองจากความชื้น ไปจนถึง “ผื่นผิวหนังอักเสบ” เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมัน ส่วนใหญ่มักเป็นผื่นที่มีสะเก็ดเหลือง ส่วนใหญ่มักจะหายเองได้
  • แผลอักเสบ เช่น แผลจากการฉีดวัคซีนวัณโรค (BCG) หรือ สะดืออักเสบ
  • ภาวะติดเชื้อในเด็กแรกเกิด เกิดขึ้นจากภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนคลอด ทำให้เชื้อจากช่องคลอดไหลเข้าถุงน้ำคร่ำ ส่งผลให้เชื้อแพร่เข้าสู่ร่างกายของลูกและเกิดการติดเชื้อได้ หากสังเกตว่าลูกหายใจผิดปกติ ซึม กินนมได้น้อย ตัวซีด มีไข้ ร้องไม่หยุด อาเจียนนม หรือ มีอาการชักเกร็ง ต้องรีบพาลูกไปพบแพทย์โดยด่วน
  • โรคทางเดินหายใจในเด็ก เกิดจากระบบทางเดินหายใจที่ยังไม่แข็งแรงหลังเกิด ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติที่จมูก คอ ไปจนถึงปอดได้ 
  • ภาวะตัวเหลืองแรกเกิด ส่วนใหญ่มักหายได้เอง แต่หากตัวเด็กยังเหลืองขึ้นเรื่อยๆ แพทย์อาจลงความเห็นให้เจาะเลือดเพื่อตรวจและติดตามผล หรือ ส่องไฟรักษา
  • น้ำตาลในเลือดผิดปกติ เกิดจากคุณแม่ที่เป็นเบาหวาน หรือ ระดับน้ำตาลในเลือดของทารกต่ำ

โรคฮิตในเด็กทารก – วัยเรียน

เด็กทารก หรือ เด็กอายุระหว่าง 1 – 12 เดือน จะเป็นวัยที่เริ่มเรียนรู้และแสดงออกถึงพัฒนาการใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นการพลิกคว่ำ หงาย ตั้งศีรษะ เรียนรู้ภาษาเบื้องต้น ไปจนถึงการเริ่มคลาน เดิน และหยิบของด้วยตัวเอง

ในขณะที่ เด็กวัย 1 – 3 ขวบจะเป็นช่วงที่มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองอย่างรวดเร็ว ทั้งยังสามารถเรียนรู้และเข้าใจเรื่องที่มีความซับซ้อนได้มากขึ้น แต่ก็จะเป็นวัยที่ไม่ชอบให้ใครมาบังคับเช่นกัน

เมื่อโตขึ้นมาในวัย 3 – 5 ปี เด็กๆ ก็จะเริ่มเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ พร้อมสร้างทักษะทางร่างกายใหม่ๆ อย่างการกระโดดขาเดียว หรือ การยืนขาเดียวที่ต้องใช้กล้ามเนื้อและทักษะหลายด้านพร้อมกัน นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ยังเริ่มมีการสร้างความสัมพันธ์กับเด็กคนอื่นๆ มีการพูดคุย ชอบซักถาม ทั้งยังเป็นวัยเริ่มหัดอ่านหนังสือ เสริมสร้างจินตนาการ และสร้างความมั่นใจให้กับเด็กๆ ด้วย

หลังจากผ่านวัย 5 ปีจนเข้ามาสู่วัยเรียน เด็กวัย 5 – 12 ปี ก็จะเริ่มเรียนรู้ทักษะชีวิต สมอง กล้ามเนื้อ และร่างกายมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว ในวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรหากิจกรรมให้ลูกได้ฝึกและปลดปล่อยพลังงาน เช่น หากีฬา หรือ กิจกรรมที่เด็กสนใจ ที่สำคัญ เด็กๆ ยังจะเริ่มเรียนรู้ทักษะการปฏิสัมพันธ์มากขึ้น มีทักษะคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหามากขึ้น นอกจากนี้ ยังเริ่มมีการเปรียบเทียบกับผู้อื่น รวมถึงเรียนรู้การสร้างความภูมิใจและมั่นใจให้กับตัวเอง

นอกจากจะเฝ้าติดตามพัฒนาการของลูกในวัยนี้อย่างใกล้ชิด เพื่อสร้างคุณภาพชีวิต สุขภาพกายและใจที่แข็งแรง พร้อมฝึกให้ลูกเข้าสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพแล้ว คุณพ่อคุณแม่เองก็ต้องเฝ้าระวังโรคฮิตในเด็กวัยนี้ด้วยเช่นกัน โดยโรคที่มักเกิดในเด็กวัยนี้จะประกอบไปด้วย

  • การติดเชื้อแบบต่างๆ เช่น การเป็นโรคหวัด ไข้หวัด โรคมือเท้าปาก โรคเฮอร์แปงไจนา และ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ไข้เลือดออก
  • ไอกรน
  • โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดบวม ปอดอักเสบ รวมไปถึงไวรัส RSV
  • โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องอืด ท้องเสีย และ ท้องผูก
  • ผื่นประเภทต่างๆ
  • หอบ หืด และอาการเกี่ยวเนื่องจากภูมิแพ้

เรื่องที่ 3: ดูแลสุขภาพเด็กอย่างไรได้บ้าง?

โรคฮิตในเด็กวัยต่างๆ ข้างต้น ไม่เพียงแต่จะมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบกับสภาพร่างกายของเด็กในระยะยาวเท่านั้น แต่ยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่แตกต่างกันไปตามความรุนแรงและซับซ้อนของโรคด้วย 

ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน รวมถึงความผิดปกติที่เกี่ยวเนื่องกับโรคฮิตในเด็กวัยต่างๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรดูแลสุขภาพของเด็กอย่างรอบด้านด้วยเช่นกัน โดยเบื้องต้น ขอแนะนำให้ดูแลสุขภาพของลูกให้ครบทุกมุมมอง ดังนี้

  1. เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ
  2. รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดเว้นจากการรับประทานอาหารปรุงรสและอาหารหวาน เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอ เหมาะสมกับการเติบโต และสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ โดยการรับประทานอาหารปรุงรสและอาหารหวานอาจส่งผลเสียกับร่างกายของเด็กในระยะยาวได้ จึงควรงดเว้นการรับประทานอาหารปรุงจนถึง 2 ขวบ
  3. นอนหลับครบ เรียนรู้เหมาะกับวัย เพื่อให้ร่างกายของลูกได้เจริญเติบโตอย่างแข็งแรงและเหมาะกับพัฒนาการ ไม่ควรเร่งรีบให้ลูกเรียนรู้เพราะอาจขัดกับพัฒนาการแต่ละช่วงวัยจนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพกายและใจตามมาได้
  4. ตรวจสุขภาพและรับวัคซีนตามเกณฑ์ให้ครบ
  5. รักษาความสะอาด เช่น สอนลูกให้ล้างมืออย่างถูกต้องเป็นประจำ อาบน้ำและแปรงฟันอยู่เสมอ พร้อมสอนลูกให้รู้จักรักษาความสะอาดและดูแลสุขอนามัยของตนเอง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสัมผัสกับเชื้อโรคอันตรายให้ได้มากที่สุด
  6. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสมและสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และเสริมสร้างพัฒนาการที่สมวัย ทั้งยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติด้วย
  7. หลีกเลี่ยงการพาลูกไปสถานที่แคบและแออัด เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อโรคมากขึ้น
  8. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะกับเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงการรับสารเคมีที่อาจทำร้ายร่างกายลูกได้
  9. ใช้เวลากับลูกเสมอ งดเว้นจากการเลี้ยงลูกด้วยสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือ ทีวี เนื่องจากอาจทำให้ลูกสมาธิสั้น หรือ มีปัญหาด้านพัฒนาการได้
  10. หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ เช่น การโยนลูกขึ้นลงแรงๆ อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บในสมองได้

เรื่องที่ 4: ประกันสุขภาพเด็กจำเป็นแค่ไหน?

เด็กแต่ละคนมีความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยรุนแรงไม่เท่ากัน เนื่องจากระดับภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกัน ทำให้ร่างกายตอบสนองต่อปัจจัยแวดล้อมไม่เหมือนกัน เช่น เด็กบางคนเจ็บป่วยจากการสัมผัสฝุ่นละอองและสิ่งสกปรก ในขณะที่เด็กบางคนเจ็บป่วยเพราะอากาศเปลี่ยนแปลง เป็นต้น

นอกจากจะคาดเดาอาการเจ็บป่วยได้ยากแล้ว เด็กเล็กเองก็ยังไม่สามารถอธิบายอาการเจ็บป่วยของตัวเองได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กเล็กที่ยังไม่สามารถสื่อสารได้ อีกทั้งร่างกายของเด็กยังมีความบอบบางสูง 

ด้วยปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ส่งผลให้การวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยและวางแผนรักษาเด็กเล็กจึงเป็นไปได้ยากกว่าผู้ใหญ่ จนเป็นหนึ่งในสาเหตุว่าทำไม การรักษาโรคเด็กจึงใช้เวลา มีหลายขั้นตอน และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงขึ้นตามไปด้วย

ด้วยเหตุนี้ การทำประกันเด็กเอาไว้จึงสามารถช่วยให้คุณพ่อคุณแม่วางใจในเรื่องค่ารักษาพยาบาลได้ โดยสามารถพิจารณาเลือกทำประกันเด็กได้ตามจุดประสงค์ งบประมาณ หรือ ความเสี่ยงที่ต้องการได้

เช่น ทำประกันเด็กแรกเกิดเอาไว้เพื่อให้ความคุ้มครองในช่วงที่ลูกน้อยกำลังเสริมสร้างภูมิคุ้มกันเพียงอย่างเดียว หรือ เลือกทำประกันอุบัติเหตุเด็กสำหรับลูกน้อยที่อยู่ในวัยเสริมสร้างพัฒนาการและกำลังซนได้เช่นกัน

ซื้อประกันสุขภาพเด็กแบบไหนดี?

1. ประกันสุขภาพเด็กออนไลน์ AXA SmartCare Essential

ซันเดย์ มาพร้อมกับประกันสุขภาพเด็กออนไลน์ AXA SmartCare Essential ที่ให้ความคุ้มครองให้กับ “ลูกน้อย” พร้อม “ผู้ปกครอง 1 คน” โดยที่คุณพ่อคุณแม่สามารถเลือกรับผลประโยชน์สูงสุดต่อปีกรมธรรม์ได้สูง 10 ล้านบาท พร้อมเบี้ยประกันเด็กแรกเกิดอายุ 15 วัน – 5 ปี ไม่ถึง 50,000 บาท และเบี้ยประกันสุขภาพของผู้ปกครองเริ่มต้นไม่ถึง 20,000 บาท

3 ขั้นตอนการซื้อประกันสุขภาพเด็กออนไลน์ AXA กับ ซันเดย์
  1. เช็กเบี้ยประกันสุขภาพเด็กออนไลน์ AXA สำหรับลูกของคุณก่อน
  2. เมื่อเช็กเบี้ยและเลือกแผนประกันสุขภาพเด็กเรียบร้อย ให้สังเกตช่องด้านบนที่เขียนว่าเช็กเบี้ยประกันสุขภาพของผู้ปกครอง จากนั้นให้คลิกเพื่อเช็กเบี้ยประกันสุขภาพของคุณพ่อหรือคุณแม่
  3. กดชำระเงิน ประกันสุขภาพเด็ก และ ประกันสุขภาพผู้ปกครอง พร้อมกัน

หากยังไม่ชัวร์ว่าจะเลือกประกันเด็กและประกันผู้ใหญ่แผนไหนดี ลองมาดูตารางเปรียบเทียบเบี้ยประกันและความคุ้มครองของประกันสุขภาพเด็กออนไลน์ AXA SmartCare Essential แต่ละแบบได้เลย

AXA SmartCare Essential เน้นความคุ้มครองแบบการรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) 
ประกันเด็ก AXA SmartCare Essential

ประกันสุขภาพเด็ก

ประกันเด็ก AXA SmartCare Essential

ประกันสุขภาพผู้ปกครอง


AXA SmartCare Essential เน้นความคุ้มครองแบบการรักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) และ ผู้ป่วยนอก (OPD) 
ประกันเด็ก AXA SmartCare Essential

ประกันสุขภาพเด็ก

ประกันเด็ก AXA SmartCare Essential

ประกันสุขภาพผู้ปกครอง

axa smartcare essential

2. ประกันสุขภาพเด็กออนไลน์ MTI Care for Kids

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการรับความคุ้มครองในลูกน้อย แต่มีงบประมาณที่ไม่สูงมาก ซันเดย์มาพร้อมกับประกันสุขภาพเด็กออนไลน์ MTI Care for Kids ที่มีค่าเบี้ยเริ่มต้นเพียง 1,600 บาทต่อปี คุ้มครอง 4 โรคฮิตในเด็ก ทั้งอาหารเป็นพิษ ไข้เลือดออก ปอดบวม และไข้หวัดใหญ่ ทั้งยังให้ประกันอุบัติเหตุเด็ก คุ้มครองสูงสุด 100,000 บาทต่อครั้ง โดยสามารถซื้อได้ตั้งแต่อายุ 5 – 20 ปี

ประกันสุขภาพเด็กออนไลน์ MTI Care for Kids

เพราะการเจ็บป่วยของลูกเสี่ยงกว่าที่คาดไว้เสมอ ด้วยเหตุนี้ การมองหาประกันเด็กที่ตอบโจทย์ทั้งในแง่ของคุ้มครองและงบประมาณจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรมองข้าม หากสนใจประกันสุขภาพเด็กออนไลน์แผนไหน คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้ามาเช็กเบี้ยประกันได้ง่ายๆ บนเว็บไซต์ของซันเดย์ ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิด” เท่านั้น ไม่ต้องกรอกข้อมูลติดต่อ

ประกัน mti care for kids

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

คนไทยป่วย OPD โรคอะไรมากที่สุด รักษาอะไรบ้างที่ผ่านมา?

การรักษาแบบ OPD คืออะไร คนไทยป่วยด้วย OPD ด้วยโรคอะไรมากที่สุด? การรักษาแบบ OPD หรือ Out-Patient Department คือ…
5 โรคแบบ OPD

ครบที่เดียว! สรุปสาเหตุ + อาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย

สูงวัยเช็กด่วน! รวมสาเหตุและอาการของวัยทองในผู้หญิงและผู้ชาย เมื่อเวลาเปลี่ยนไป…
menopause-in-men-and-women

เข้าใจก่อนซื้อ! 6 ปัจจัยที่ส่งผลต่อเบี้ยประกันสุขภาพ

สรุปครบ! ทำไมจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพไม่เท่ากัน ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางประชากร รวมถึงความเสี่ยงจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ…
factors-affect-health-insurance-premium

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men
0
Share