หน้าหลัก เรื่องราวรอบตัว ฝนตกหนักทุกวัน เตรียมพร้อมป้องกันน้ำท่วม อย่างไร?

ฝนตกหนักทุกวัน เตรียมพร้อมป้องกันน้ำท่วม อย่างไร?

ฝนตกหนักทุกวัน เตรียมพร้อมป้องกันหากน้ำท่วม

ช่วงนี้พายุเข้า ฝนตกหนักแทบทุกวัน ทำให้ได้รับผลกระทบหลายๆ อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นทางสุขภาพกาย (จากหวัดและเชื้อโรคต่างๆ) สุขภาพใจ (จากรถติด น้ำท่วม) ทำให้เหนื่อยทั้งกายและจิตใจ อีกทั้งพายุฝนก็ไม่มีทีท่าว่าจะหยุดง่ายๆ อย่างที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้พยากรณ์อากาศไว้ว่าพายุฝนนั้นอาจจะยังคงอยู่ต่อกับเราไปจนถึงสิ้นเดือน เรียกได้ว่าทำให้หลายๆ คนถอนหายใจไปตามๆ กัน แต่ในเมื่อเราบังคับฝนฟ้าไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้ก็คือ ป้องกันและเตรียมรับมือกับน้ำท่วม วันนี้ซันเดย์เลยอยากจะมาแนะนำวิธีเตรียมพร้อมรับกับน้ำท่วมที่อาจจะมาถึงหน้าบ้านคุณ

ฝนตกหนักทุกวัน-เตรียมพร้อมป้องกันน้ำท่วม

สิ่งของจำเป็นที่ควรเตรียมติดบ้านสำหรับป้องกันน้ำท่วม

อย่างที่รู้กันว่าหากเกิดน้ำท่วมอาจจะมีเหตุหลายอย่างไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ แต่ไม่ว่าจะสถานการณ์ไหนซันเดย์ขอแนะนำให้มีสิ่งเหล่านี้ติดบ้านไว้ยามฉุกเฉินเสมอ ยิ่งหากเจอน้ำท่วมยิ่งต้องระวัง เพราะมีหลายสิ่งหลายอย่างต้องระวัง ทั้งไฟฟ้าลัดวงจร สัตว์อันตราย ของเสียหรือของอันตรายที่ไหลมากับน้ำ และเชื้อโรคต่างๆ

  1. น้ำดื่มสะอาด มีไว้ยิ่งเยอะยิ่งดี เพราะยามฉุกดฉินจะหาน้ำสะอาดได้ยาก ถึงแม้จะมีเครื่องกรองก็ตาม อาจมีไฟฟ้าลัดวงจรได้
  2. อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง อาหารที่สามารถอยู่ในที่ชื้นได้ ทานง่าย และอยู่ได้ค่อนข้างนาน
  3. ยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาลดไข้ ยาล้างแผล เกลือแร่ และยาอื่นๆ สำหรับผู้มีโรคประจำตัว
  4. อุปกรณ์ให้แสงสว่าง เช่น ไฟฉาย เทียนไข ไม้ขีดไฟ ไฟแช็ก
  5. รองเท้าบูธแบบกันน้ำ ข้อสูงยิ่งดี เพราะน้ำที่ท่วมนั้นมีเชื้อโรคอยู่มาก หากโดนน้ำไปอาจเป็นโรคได้หลายชนิด
  6. เสื้อผ้าระบายอากาศ บางเบาไม่อับชื้น ไม่เช่นนั้นเชื้อราอาจถามหาได้
  7. แบตเตอรี่สำรอง ชาร์จไว้ให้เต็ม เผื่อเก็บไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
  8. สิ่งของจำเป็นอื่นๆ เช่น นกหวีดเอาไว้ขอความช่วยเหลือ เชือก ถุงพลาสติก มีด และอื่นๆ
สิ่งของจำเป็นที่ควรเตรียมติดบ้านสำหรับป้องกันน้ำท่วม

วิธีเก็บของมีค่าต่างๆ ให้ปลอดภัยจากสถานการณ์น้ำท่วม

เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ทุกคนจะต้องเก็บเอกสาร ทรัพย์สิน และสิ่งของสำคัญเก็บไว้มากมายไว้ในบ้าน และหากจะต้องให้ขนย้ายทุกอย่างคงจะเป็นไปไม่ได้ บางชิ้นอาจจะใหญ่เกินไป หรือบางชิ้นอาจจะมีค่าเกินกว่าที่จะไปเก็บไว้ที่อื่น ดังนั้นสิ่งที่ทำได้คือการป้องกันไม่ให้สิ่งเหล่านี้เสียหายหรือสูญหายไปได้

  1. ใช้ซองกันน้ำเก็บเอกสารสำคัญต่างๆ ที่ไม่สามารถเปียกน้ำได้ เช่นทะเบียนบ้าน สมุดบัญชี โฉนดที่ดิน และเอกสารอื่นๆ ทางที่ดีแนะนำให้สแกนเก็บไว้ในมือถือหรือคอมพิวเตอร์ของตนเองเผื่อยามฉุกเฉินด้วยเช่นกัน 
  2. ขนย้ายสิ่งของไปไว้ที่สูงเกินระดับน้ำท่วม ใส่กล่องหรือซองที่กันน้ำเอาไว้เพื่อกันความชื้นต่างๆ ที่จะไปทำลายสิ่งของ
  3. รถยนต์ รีบเคลื่อนย้าย หาที่จอดที่มีการเตรียมไว้เพื่อป้องกันไม่ให้รถจะต้องแช่น้ำ หรือจมน้ำไป มิเช่นนั้นอาจจะต้องเสียค่าซ่อมหรือร้ายกว่านั้นคือต้องเสียรถไปเลยถาวร

คลิกเพื่ออ่านรายละเอียด ประกันรถยนต์ของซันเดย์


วิธีป้องกันบ้านจากน้ำท่วม

หลายๆ พื้นที่ได้เผชิญน้ำท่วมกันแล้ว หากแต่จะน้อยหรือมากขึ้นอยู่กับพื้นที่นั้นๆ บางพื้นที่ยังอยู่ในระดับที่ยังพออาศัยอยู่ได้ หรืออาจจะท่วมแต่ระบายน้ำได้ไว ส่วนบางพื้นที่อาจจะไม่ได้โชคดีเช่นนั้น แต่ถึงอย่างไรสิ่งที่ต้องป้องกันก็คือบ้านของทุกท่านนั่นเอง แน่นอนว่าตอนน้ำท่วมอาจทำให้บางส่วเสียหาย หากแต่เราเตรียมการหรือพยายามป้องกันแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถลดความเสียหายลงได้ และยังสามารถอยู่ได้อย่างปลอดภัย ด้วยวิธีง่ายๆ เหล่านี้

  1. ปิดช่องปลั๊กไฟในบ้าน เพื่อป้องกันปัญหากระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด และป้องกันไม่ให้โคลน เศษดิน แมลงตัวเล็กๆ เข้าไปยังช่องเสียบปลั๊กไฟ สามารถนำเทปกาว หรือเทปกันน้ำแบบอื่นๆ มาใช้ปิดได้เลย
  2. ตัดระบบไฟฟ้าทั้งหมดในบ้านหากน้ำไหลเข้าบ้าน และปิดการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด 
  3. ปิดช่อง หรือรูเล็กๆ ให้หมด เพื่อกันสัตว์เลื้อยคลานหรือสิ่งแปลกปลอมที่อาจจะไหลมากับกระแสน้ำ 
  4. พยายามให้บ้านได้มีที่การระบายอากาศ เพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นภายในบ้าน
วิธีป้องกันบ้านจากน้ำท่วม

รวมเบอร์โทรฉุกเฉินขอความช่วยเหลือภัยน้ำท่วม 

นอกจากนี้ สิ่งที่ควรรู้และเก็บไว้คือเบอร์ฉุกเฉินและหน่วยกู้ภัยต่างๆ เพื่อขอความช่วยเหลือในยามจำเป็น ซันเดย์ได้รวบรวมเบอร์ต่างๆ มาให้เซฟเก็บไว้แล้วตรงนี้

  • ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) พื้นที่กรุงเทพฯ โทร. 1111 กด 5
  • ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท สอบถามเส้นทางน้ำท่วม โทร. 1146
  • สายด่วนแจ้งเตือนสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) โทร. 1784
  • สายด่วนข้อมูลภัยพิบัติ ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ICT) โทร. 192
  • เครือข่ายอาสาสมัครวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน โทร. 1677
  • กรมชลประทาน สอบถามข้อมูลน้ำในเขื่อน โทร. 1460
  • สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร. 1669

เพียงเท่านี้เราก็สามารถรักษาหรือป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระดับนึง ถึงแม้ว่าอาจจะไม่ได้ป้องกันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่อย่างน้อยก็ได้ลดความเสียหายลงบ้าง นอกจากทรัพย์สินแล้ว อีกสิ่งที่ต้องปกป้องก็คือสุขภาพร่างกายของตนเอง เพราะหน้าฝนแบบนี้แน่นอนว่าทำให้หลายๆ คนล้มป่วยได้ง่ายจากไข้หวัดและโรคอื่นๆ อีกมากมายที่มาพร้อมกับน้ำท่วม และสำหรับใครที่ยังไม่มีประกันสุขภาพที่ถูกใจ เหมาะกับตัวเอง ลองมาออกแบบประกันสุขภาพที่ใช่กับ Sunday


Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักกับ Vacation Guilt ลางานแล้วรู้สึกผิด พร้อมวิธีปรับตัวแบบมือโปร

ลางานแล้วรู้สึกผิดเกิดจากอะไร ต้องปรับตัวอย่างไรดี? มีใครเป็นแบบนี้บ้าง? ทำงานหนักมาตลอดทั้งปี…

รวมไอเดียของขวัญคริสต์มาสเพื่อสุขภาพโดนใจคนให้ ถูกใจคนรับ

รวมของขวัญคริสต์มาสเพื่อสุขภาพ จะให้เพื่อนหรือแฟนก็เลิศ! เริ่มมีอากาศเย็น ๆ มาให้สัมผัสกันในช่วงปลายปี…
health-focused-christmas-gift-ideas-for-everyone

อาการแพ้แอลกอฮอล์เป็นอย่างไร อันตรายแค่ไหน พร้อมวิธีแก้

คนแพ้แอลกอฮอล์มีอาการเป็นอย่างไรบ้าง?  อาการแพ้แอลกอฮอล์หรือแพ้เหล้าเป็นอาการที่พบได้ไม่มาก…
alcohol-allergy-symptoms-risks-and-solutions
0
Share