หน้าหลัก เรื่องราวรอบตัว สรุปครบ! ทุกเรื่องที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจขับรถลุยน้ำท่วม

สรุปครบ! ทุกเรื่องที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจขับรถลุยน้ำท่วม

เช็กก่อนชัวร์กว่า-รับมืออย่างไร-เมื่อต้องขับรถลุยน้ำท่วม

ฤดูฝน ไม่ได้ส่งผลแค่กับทางอารมณ์และความรู้สึก แต่ฝนที่ตกกระหน่ำไม่เว้นแต่ละวันยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ การจราจรติดขัด ทั้งยังส่งผลให้เกิด น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ จนทำให้เจ้าของรถยนต์หลายคนจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำท่วมโดยไม่ทันตั้งตัว 

ไม่เพียงแต่จะมีความเสี่ยงที่เครื่องยนต์จะดับกลางคันเท่านั้น แต่การขับรถฝ่าน้ำท่วมยังทำให้เกิด ความชื้นสะสม ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับระบบการทำงานต่าง ๆ ของรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ผ้าเบรก ช่วงล่าง ระบบปรับอากาศ ไปจนถึงระบบไอเสีย แน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายเล็กน้อยเท่าไหร่ ก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมตามมาด้วยเช่นกัน 

ดังนั้นในช่วงที่ฝนกำลังเทลงมาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจขับรถลุยน้ำท่วม ลองมาเตรียมตัวให้พร้อมกับทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการขับรถยนต์ฝ่าน้ำท่วมที่นำมาฝากในบทความนี้กัน


ก่อนขับรถลุยน้ำท่วม มารู้จักค่าความสูงรถ หรือ ‘Ground Clearance’ กันก่อน

ขับรถลุยน้ำท่วม-รู้จักค่าความสูงรถ-Ground-Clearance

ก่อนที่จะตัดสินใจขับรถลุยน้ำท่วมทุกครั้ง เจ้าของรถยนต์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ใช้น้ำมัน รถยนต์ไฟฟ้า หรือแม้แต่รถจักรยานยนต์ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบ ‘ค่าความสูงรถ’ หรือ ‘Ground Clearance’ เพื่อเช็กให้ชัวร์ว่า รถยนต์ของเราสามารถขับฝ่าน้ำท่วมระดับใดได้บ้าง

‘ค่าความสูงรถ’ หรือ ‘Ground Clearance’ เป็นค่าที่วัดจากพื้นถึงท้องรถยนต์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งได้ 6 ระดับเบื้องต้น ดังนี้

  • รถกระบะ หรือ Pickup ความสูงจะอยู่ที่ 23 – 28 เซนติเมตร
  • รถกระบะดัดแปลง หรือ PPV ความสูงจะอยู่ที่ 21 – 22.5 เซนติเมตร
  • รถยนต์อเนกประสงค์ เช่น รถยนต์ Cross Over, SUV และ MPV ความสูงจะอยู่ที่ 17 – 20.5 เซนติเมตร
  • รถยนต์นั่งขนาดเล็กกลุ่ม B-Segment ความสูงจะอยู่ที่ 13 – 15 เซนติเมตร
  • รถยนต์นั่งขนาดกลางกลุ่ม C-Segment ความสูงจะอยู่ที่ 16 – 17 เซนติเมตร
  • รถยนต์นั่งขนาดใหญ่กลุ่ม D-Segment ความสูงจะอยู่ที่ 15 – 17 เซนติเมตร

ประเมินความสูงของระดับน้ำท่วมขังก่อนตัดสินใจลุย

แม้ว่าค่าความสูงของรถยนต์จะช่วยให้เห็นภาพว่า รถยนต์แต่ละคันอยู่สูงพ้นพื้นและน้ำท่วมขังมากเท่าไหร่ แต่เพื่อเป็นการไม่ประมาท ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงที่รถยนต์จะเสียหายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก่อนตัดสินใจขับรถลุยน้ำท่วมทุกครั้ง อย่าลืมประเมินความสูงของระดับน้ำท่วมร่วมด้วย

โดยเบื้องต้น เจ้าของรถยนต์สามารถประเมินระดับความสูงของน้ำท่วมได้คร่าว ๆ โดยการพิจารณาจากความสูงของฟุตบาท ในประเทศไทย ฟุตบาท หรือ ทางเท้าส่วนใหญ่จะมีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 15 – 20 เซนติเมตร 

ด้วยเหตุนี้ หากบนถนนมีน้ำท่วมสูงกว่าขอบฟุตบาทเมื่อไหร่ แปลว่าระดับน้ำท่วมอาจอยู่ที่ราว 15 – 20 เซนติเมตร ดังนั้น รถยนต์ที่มีค่าความสูงรถที่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตรจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ ตลอดจนต้องติดตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในรถยนต์ให้ดี

Sunday Tips!

นอกจากจะพิจารณาระดับขอบฟุตบาทแล้ว เจ้าของรถยนต์ยังควรตรวจสอบพื้นผิว สภาพ และระดับของถนนร่วมด้วย เนื่องจากถนนแต่ละสายมีการปรับระดับพื้นที่ การทรุดตัว การก่อสร้าง และการชำรุดที่แตกต่างกัน ทั้งยังมีระยะห่างจากแหล่งน้ำที่ไม่เท่ากัน

จากความแตกต่างในด้านของทำเลและการก่อสร้างนี้ แม้จะประเมินจากฟุตบาทแล้ว แต่น้ำท่วมขังก็มีโอกาสที่จะต่ำกว่า 15 เซนติเมตร หรือ สูงกว่า 20 เซนติเมตรได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท อย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดของถนนแต่ละสายก่อนเดินทางด้วย

น้ำท่วมระดับไหนขับรถลุยได้บ้าง?

แม้จะเข้าใจการประเมินความสูงรถยนต์ที่สอดคล้องกับระดับน้ำท่วมขังแล้ว แต่หากมีความจำเป็นจะต้องเดินทางไปยังพื้นที่น้ำท่วมที่มีระดับน้ำขังสูงกว่าความสูงของรถยนต์ กรมการขนส่งทางบกขอแนะนำให้เจ้าของรถยนต์พิจารณาถึงระดับน้ำท่วมที่รถยนต์สามารถฝ่าออกไปได้ ดังนี้

น้ำท่วมระดับไหนขับรถลุยได้บ้าง

5 เทคนิคขับรถลุยน้ำท่วมอย่างปลอดภัย รถไม่พังกลางทาง!

5-เทคนิคขับ-รถลุยน้ำท่วม-ไม่พังกลางทาง

หลังจากประเมินระดับความสูงของน้ำท่วมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนสตาร์ทรถยนต์ออกจากที่ไหน ลองมาดู 5 เทคนิคสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนขับรถลุยน้ำท่วมได้อย่างปลอดภัย รถยนต์ไม่เสียหาย แถมถึงที่หมายอย่างปลอดภัยกัน

1. ขับรถบนเลนที่มีน้ำท่วมน้อยที่สุด

น้ำท่วมที่ทะลักเข้าไปในเครื่องยนต์สามารถทำให้ระบบไฟฟ้าลัดวงจร ทั้งยังทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ เสียหายได้ ซึ่งการเลือกขับรถยนต์บนเลนที่มีน้ำท่วมน้อยที่สุดนั้นสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี

2. ขับรถช้า ๆ รักษาระยะห่างให้มากกว่าเดิม

นอกจากจะทำให้ถนนลื่นมากกว่าปกติแล้ว น้ำท่วมขังยังทำให้เบรกทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น การขับรถช้า ๆ ในช่วงน้ำท่วมจึงสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้ 

ที่สำคัญ การขับรถเร็วในช่วงน้ำท่วมยังเพิ่มความเสี่ยงที่น้ำจะไหลท่วมเข้ามาที่เครื่องยนต์มากขึ้น ส่งผลให้เครื่องยนต์ดับ หรือ เกิดลัดวงจรได้

Sunday Tips!

สำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง 
– รถยนต์เกียร์ธรรมดา ขอแนะนำให้ขับรถยนต์เกียร์ 1 – 2 ในช่วงน้ำท่วมหรือ 
– รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ขอแนะนำให้ขับรถยนต์เกียร์ต่ำ หรือ เกียร์ L 

สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า 
– รถยนต์ไฟฟ้ามีระบบแบตเตอรี่แยกส่วน อีกทั้งยังระบบไฟฟ้า มอเตอร์ และระบบอื่น ๆ ยังมีการซีลด้วยฉนวนไฟฟ้า ทำให้สามารถขับขี่ในช่วงฝนตกและน้ำท่วมได้อย่างปลอดภัย
– ก่อนจะขับรถฝ่าน้ำท่วม ขอแนะนำให้ตรวจสอบ IP Rating (Ingress Protection) หรือ ค่ามาตรฐานในการป้องกันของแข็งและของเหลวที่จะเข้ามาภายในตัวรถยนต์ โดยหากรถยนต์ไฟฟ้ามีค่า IP67 ขึ้นไป จะสามารถขับรถลุยน้ำท่วมได้สูงถึง 1 เมตร แต่หากไม่มีความจำเป็น ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงพื้นที่น้ำท่วมเอาไว้ก่อนเสมอ

3. ปิดเครื่องปรับอากาศ

เมื่อต้องขับรถลุยน้ำท่วม การปิดแอร์รถยนต์สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่ใบพัดแอร์จะพัดน้ำ ขยะ และสิ่งปฏิกูลเข้าสู่เครื่องยนต์และระบบระบายความร้อนได้ ซึ่งเมื่อปิดแอร์แล้ว ผู้ขับขี่รถยนต์ควรเปิดกระจกเพื่อทำการระบายอากาศภายในห้องโดยสาร

4. เหยียบเบรก หรือ คลัตช์ บ่อย ๆ

เมื่อขับรถพ้นช่วงที่น้ำท่วมแล้ว ขอแนะนำให้ย้ำเบรก หรือ คลัตช์บ่อย ๆ เพื่อทำการไล่น้ำออกจากส่วนต่าง ๆ ของรถยนต์ ทั้งยังช่วยให้ผ้าเบรกแห้งไว ไม่มีความชื้นสะสมจนเกิดเป็นสนิมได้

5. หากรถดับ ห้ามสตาร์ทเด็ดขาด

หากเกิดเหตุรถยนต์ดับในระหว่างที่ขับลุยน้ำท่วม ผู้ขับขี่ห้ามพยายามสตาร์ทรถยนต์ใหม่โดยเด็ดขาด เนื่องจากการสตาร์ทรถยนต์ในขณะที่น้ำท่วมอยู่จะทำให้น้ำทะลักเข้ามาในเครื่องยนต์ได้

เมื่อรถดับในระหว่างน้ำท่วม ควรเปิดไฟฉุกเฉินให้ผู้ใช้รถยนต์คันอื่นทราบ จากนั้นให้เข็นรถยนต์ไปยังพื้นที่แห้งและตรวจสอบความเสียหาย หากขยับรถยนต์ไม่ได้ หรือ ไม่มั่นใจว่าจะซ่อมแซมรถยนต์เบื้องต้นได้อย่างไร แนะนำให้ติดต่อขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่ใกล้ที่สุด 

  • ตำรวจทางหลวง กรมทางหลวง โทร. 1193
  • ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
  • ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) โทร. 1111 กด 5
  • ติดต่อบริการรถฉุกเฉินตามที่ระบุเอาไว้ในบริการหลังการขายของรถยนต์แต่ละแบรนด์

4 ข้อควรปฏิบัติหลังขับรถลุยน้ำท่วม

4-ข้อควรปฏิบัติ-หลังขับรถลุยน้ำท่วม

ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ รถยนต์ไฟฟ้า หลังจากที่ขับรถยนต์ลุยน้ำท่วมมาแล้ว เมื่อถึงจุดหมายปลายทางแล้ว อย่าลืมลงมาตรวจสอบรถยนต์ 4 ส่วนหลัก ดังนี้

1. ตรวจสอบระบบเบรก

แม้จะเหยียบเบรกและคลัตช์ระหว่างทางมาแล้ว เมื่อถึงที่หมาย อย่าลืมเหยียบเบรกและคลัตช์ย้ำเป็นจังหวะเพื่อไล่น้ำและความชื้นออกจากระบบให้ได้มากที่สุด 

เมื่อต้องใช้รถยนต์ในครั้งต่อไป ให้สังเกตจังหวะการเบรก เสียงเบรก และระยะในการเบรกให้ดี หากพบความผิดปกติเมื่อไหร่ ขอแนะนำให้รีบนำรถยนต์ไปตรวจสอบกับอู่ หรือ ศูนย์รถยนต์ทันที

2. ตรวจสอบระบบไฟฟ้า

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในข้อควรปฏิบัติหลังขับรถลุยน้ำท่วมที่สำคัญเป็นอย่างมาก เมื่อถึงจุดหมายแล้ว ขอแนะนำให้ตรวจสอบความเสียหายของกล่องฟิวส์รถยนต์และกล่อง ECU (Electronic Control Unit) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกล่องที่ควบคุมการทำงานหลักของรถยนต์ 

นอกจากนี้ เจ้าของรถยนต์ยังควรตรวจสอบความผิดปกติที่สายไฟภายนอกและภายในรถยนต์ให้ดี หากพบความผิดปกติเมื่อไหร่ แนะนำให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ออกและติดต่อช่างผู้เชี่ยวชาญทันที

3. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์

เริ่มจากสังเกตอาการกระตุก เสียงเครื่องยนต์ ไปจนถึงอัตราการเร่ง โดยหากมีความผิดปกติในจังหวะเหล่านี้เมื่อไหร่ ขอแนะนำให้ติดต่อศูนย์หรืออู่ซ่อมเพื่อตรวจสอบความผิดปกติในทันที 

นอกจากนี้ เจ้าของรถยนต์ยังควรเช็กก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง ซึ่งหากดึงออกมาแล้วน้ำมันที่ก้านวัดมีสีขุ่นคล้ายกาแฟนม แปลว่ามีน้ำเข้าไปในเครื่องยนต์ จำเป็นที่จะต้องให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบทันที

4. ตรวจสอบห้องโดยสาร

โดยส่วนใหญ่แล้ว ห้องโดยสารมักมีกลิ่นอับหลังจากขับรถฝ่าน้ำท่วมมา เนื่องจากน้ำอาจซึมผ่านรอยต่อและซีลบริเวณต่าง ๆ เข้ามา หรือเป็นไปได้ว่าน้ำจะไหลเข้าที่ทางท่อไอเสียและซึมเข้ามาที่ห้องโดยสาร

ดังนั้น หากพรมภายในห้องโดยสารมีความชื้น มีกลิ่นอับ หรือ มีน้ำขังที่บริเวณใด ควรรีบซับน้ำให้แห้ง ดูด หรือ เช็ดทำความสะอาดในทันที หลังจากนั้นให้เปิดประตูรถยนต์ทั้งหมดเพื่อระบายอากาศ และนำพรมไปตากแดด 

อย่างไรก็ดี หลังจากที่เปิดระบายอากาศทั้งหมดแล้วกลิ่นอับยังไม่หาย หรือ รู้สึกถึงความชื้นภายในห้องโดยสาร ขอแนะนำให้นำรถยนต์ไปเช็กความผิดปกติที่แอร์ ตัวกรองอากาศ และ ท่อร่วมไอดี (Intake Manifold) ร่วมด้วย


ไม่อยากขับรถลุยน้ำท่วม ควรวางแผนการเดินทางอย่างไร?

การติดตามข่าวสารพื้นที่น้ำท่วมรายวันถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยวางแผนการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

อย่างไรก็ดี การติดตามข่าวสารด้วยตัวเองผ่านหลากหลายช่องทางกลับสร้างความสับสนอยู่บ่อยครั้ง แถมแต่ละแพลตฟอร์มเองก็มีการอัปเดตข้อมูลที่แตกต่างกันไป จนทำให้ใครหลายคนไม่มั่นใจว่าจะต้องเลือกเส้นทางการเดินทาง หรือ เตรียมตัวรับมือกับน้ำท่วมอย่างไรให้เหมาะสม

นอกจากจะเป็นแอปพลิเคชันสำหรับการซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ที่สามารถเลือกปรับกรมธรรม์ได้ตามต้องการแล้ว ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ ‘คาดการณ์น้ำท่วม’ หรือ ‘Flood Prediction’ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการ Sunday ปักหมุดเส้นทางและแผนที่น้ำท่วมครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย ตัวระบบมีการประมวลผลผ่านข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่มีความแม่นยำสูงสุด 80% วางแผนการเดินทาง พร้อมรับมือน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ!


เริ่มต้นปักหมุดแผนที่น้ำท่วมเพื่อวางแผนชีวิตได้ง่าย ๆ ใน 3 ขั้นตอน:

ขับรถลุยน้ำท่วม-JollySuperApp-Sunday
ขับรถลุยน้ำท่วม-ฟีเจอร์ใกล้ฉัน
ขับรถลุยน้ำท่วม-ตรวจสอบสถานการณ์น้ำท่วม
  1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Jolly super app by Sunday ฟรี! ได้ที่ App Store และ Google Play Store พร้อมลงทะเบียนให้เรียบร้อย
  2. กดฟีเจอร์ ‘ใกล้ฉัน’ หรือ ‘Near Me’ จากนั้นเลือกฟีเจอร์รูประดับน้ำ
  3. เมื่อเห็นข้อความ ‘คาดการณ์น้ำท่วม’ หรือ ‘Flood Prediction’ แล้ว ให้กดดู ‘ดูข้อมูล’ หรือ View’ เท่านี้ก็เห็นสถานการณ์น้ำท่วมยังจุดที่ปักหมุดได้ทันที!

รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Jolly super app by Sunday ได้ทันที วางแผนการทางสะดวกเพื่อชีวิตที่ง่าย หลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำท่วม โดยไม่จำเป็น หรือจะซื้อประกันรถยนต์เพื่อเพิ่มความอุ่นใจก่อนออกสตาร์ทก็ทำได้ผ่านแอปฯ ปรับแต่งกรมธรรม์เองได้ จ่ายเท่าที่เห็น ลงตัวทุกการเดินทาง


Loading

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

5 วิธี ทวงเงินเพื่อนแบบมือโปร ไม่เสียเพื่อนแถมได้เงิน

ทวงแบบได้ผล ต้องอาศัยศิลปะในการคุย ลำบากใจทุกครั้งที่มีเพื่อนหรือคนรู้จักมาขอยืมเงิน…
ทวงหนี้เพื่อน

บุหรี่ “ไฟฟ้า” vs “บุหรี่มวน” ใครจะอันตรายกว่ากัน?

เผยอันตราย พร้อมวิธีเลิก บุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่มวน บุหรี่ในปัจจุบันนี้มีหลากหลายรูปแบบให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้กัน…
บุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่มวน
0
Share