ฤดูฝน ไม่ได้ส่งผลแค่กับทางอารมณ์และความรู้สึก แต่ฝนที่ตกกระหน่ำไม่เว้นแต่ละวันยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ การจราจรติดขัด ทั้งยังส่งผลให้เกิด น้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่ จนทำให้เจ้าของรถยนต์หลายคนจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำท่วมโดยไม่ทันตั้งตัว
ไม่เพียงแต่จะมีความเสี่ยงที่เครื่องยนต์จะดับกลางคันเท่านั้น แต่การขับรถฝ่าน้ำท่วมยังทำให้เกิด ความชื้นสะสม ที่สามารถสร้างความเสียหายให้กับระบบการทำงานต่างๆ ของรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ผ้าเบรก ช่วงล่าง ระบบปรับอากาศ ไปจนถึงระบบไอเสีย แน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นความเสียหายเล็กน้อยเท่าไหร่ ก็ย่อมมีค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมตามมาด้วยเช่นกัน
ดังนั้นในช่วงที่ฝนกำลังเทลงมาอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจขับรถลุยน้ำท่วม ลองมาเตรียมตัวให้พร้อมกับทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการขับรถยนต์ฝ่าน้ำท่วมที่นำมาฝากในบทความนี้กัน
ก่อนขับรถลุยน้ำท่วม มารู้จักค่าความสูงรถ หรือ ‘Ground Clearance’ กันก่อน
ก่อนที่จะตัดสินใจขับรถลุยน้ำท่วมทุกครั้ง เจ้าของรถยนต์ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ใช้น้ำมัน รถยนต์ไฟฟ้า หรือแม้แต่รถจักรยานยนต์ จำเป็นที่จะต้องตรวจสอบ ‘ค่าความสูงรถ’ หรือ ‘Ground Clearance’ เพื่อเช็กให้ชัวร์ว่า รถยนต์ของเราสามารถขับฝ่าน้ำท่วมระดับใดได้บ้าง
‘ค่าความสูงรถ’ หรือ ‘Ground Clearance’ เป็นค่าที่วัดจากพื้นถึงท้องรถยนต์ โดยทั่วไปแล้วจะแบ่งได้ 6 ระดับเบื้องต้น ดังนี้
- รถกระบะ หรือ Pickup ความสูงจะอยู่ที่ 23 – 28 เซนติเมตร
- รถกระบะดัดแปลง หรือ PPV ความสูงจะอยู่ที่ 21 – 22.5 เซนติเมตร
- รถยนต์อเนกประสงค์ เช่น รถยนต์ Cross Over, SUV และ MPV ความสูงจะอยู่ที่ 17 – 20.5 เซนติเมตร
- รถยนต์นั่งขนาดเล็กกลุ่ม B-Segment ความสูงจะอยู่ที่ 13 – 15 เซนติเมตร
- รถยนต์นั่งขนาดกลางกลุ่ม C-Segment ความสูงจะอยู่ที่ 16 – 17 เซนติเมตร
- รถยนต์นั่งขนาดใหญ่กลุ่ม D-Segment ความสูงจะอยู่ที่ 15 – 17 เซนติเมตร
ประเมินความสูงของระดับน้ำท่วมขังก่อนตัดสินใจลุย
แม้ว่าค่าความสูงของรถยนต์จะช่วยให้เห็นภาพว่า รถยนต์แต่ละคันอยู่สูงพ้นพื้นและน้ำท่วมขังมากเท่าไหร่ แต่เพื่อเป็นการไม่ประมาท ตลอดจนช่วยลดความเสี่ยงที่รถยนต์จะเสียหายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก่อนตัดสินใจขับรถลุยน้ำท่วมทุกครั้ง อย่าลืมประเมินความสูงของระดับน้ำท่วมร่วมด้วย
โดยเบื้องต้น เจ้าของรถยนต์สามารถประเมินระดับความสูงของน้ำท่วมได้คร่าวๆ โดยการพิจารณาจากความสูงของฟุตบาท ในประเทศไทย ฟุตบาท หรือ ทางเท้าส่วนใหญ่จะมีความสูงโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 15 – 20 เซนติเมตร
ด้วยเหตุนี้ หากบนถนนมีน้ำท่วมสูงกว่าขอบฟุตบาทเมื่อไหร่ แปลว่าระดับน้ำท่วมอาจอยู่ที่ราว 15 – 20 เซนติเมตร ดังนั้น รถยนต์ที่มีค่าความสูงรถที่ต่ำกว่า 20 เซนติเมตรจะต้องเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่ ตลอดจนต้องติดตามความผิดปกติที่เกิดขึ้นในรถยนต์ให้ดี
Sunday Tips! นอกจากจะพิจารณาระดับขอบฟุตบาทแล้ว เจ้าของรถยนต์ยังควรตรวจสอบพื้นผิว สภาพ และระดับของถนนร่วมด้วย เนื่องจากถนนแต่ละสายมีการปรับระดับพื้นที่ การทรุดตัว การก่อสร้าง และการชำรุดที่แตกต่างกัน ทั้งยังมีระยะห่างจากแหล่งน้ำที่ไม่เท่ากัน จากความแตกต่างในด้านของทำเลและการก่อสร้างนี้ แม้จะประเมินจากฟุตบาทแล้ว แต่น้ำท่วมขังก็มีโอกาสที่จะต่ำกว่า 15 เซนติเมตร หรือ สูงกว่า 20 เซนติเมตรได้เช่นกัน ดังนั้น เพื่อความไม่ประมาท อย่าลืมตรวจสอบรายละเอียดของถนนแต่ละสายก่อนเดินทางด้วย |
น้ำท่วมระดับไหนขับรถลุยได้บ้าง?
แม้จะเข้าใจการประเมินความสูงรถยนต์ที่สอดคล้องกับระดับน้ำท่วมขังแล้ว แต่หากมีความจำเป็นจะต้องเดินทางไปยังพื้นที่น้ำท่วมที่มีระดับน้ำขังสูงกว่าความสูงของรถยนต์ กรมการขนส่งทางบกขอแนะนำให้เจ้าของรถยนต์พิจารณาถึงระดับน้ำท่วมที่รถยนต์สามารถฝ่าออกไปได้ ดังนี้
5 เทคนิคขับรถลุยน้ำท่วมอย่างปลอดภัย รถไม่พังกลางทาง!
หลังจากประเมินระดับความสูงของน้ำท่วมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนสตาร์ทรถยนต์ออกจากที่ไหน ลองมาดู 5 เทคนิคสำคัญที่จะช่วยให้ทุกคนขับรถลุยน้ำท่วมได้อย่างปลอดภัย รถยนต์ไม่เสียหาย แถมถึงที่หมายอย่างปลอดภัยกัน
1. ขับรถบนเลนที่มีน้ำท่วมน้อยที่สุด
น้ำท่วมที่ทะลักเข้าไปในเครื่องยนต์สามารถทำให้ระบบไฟฟ้าลัดวงจร ทั้งยังทำให้ระบบการทำงานต่างๆ เสียหายได้ ซึ่งการเลือกขับรถยนต์บนเลนที่มีน้ำท่วมน้อยที่สุดนั้นสามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงในส่วนนี้ได้เป็นอย่างดี
2. ขับรถช้าๆ รักษาระยะห่างให้มากกว่าเดิม
นอกจากจะทำให้ถนนลื่นมากกว่าปกติแล้ว น้ำท่วมขังยังทำให้เบรกทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้น การขับรถช้าๆ ในช่วงน้ำท่วมจึงสามารถช่วยลดอุบัติเหตุได้
ที่สำคัญ การขับรถเร็วในช่วงน้ำท่วมยังเพิ่มความเสี่ยงที่น้ำจะไหลท่วมเข้ามาที่เครื่องยนต์มากขึ้น ส่งผลให้เครื่องยนต์ดับ หรือ เกิดลัดวงจรได้
Sunday Tips! สำหรับรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิง – รถยนต์เกียร์ธรรมดา ขอแนะนำให้ขับรถยนต์เกียร์ 1 – 2 ในช่วงน้ำท่วมหรือ – รถยนต์เกียร์อัตโนมัติ ขอแนะนำให้ขับรถยนต์เกียร์ต่ำ หรือ เกียร์ L สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า – แม้รถยนต์ไฟฟ้าจะมีค่ามาตรฐานในการป้องกันของแข็งและของเหลวที่จะเข้ามาภายในตัวรถยนต์ หรือ IP Rating (Ingress Protection) เริ่มต้นที่ IP67 ที่สามารถป้องกันความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การนำรถยนต์ไฟฟ้าขับลุยน้ำโดยตรง อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ความชื้นจะเล็ดลอดเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่มีมูลค่าและค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมที่สูงที่สุดได้ – โดยถึงจะเป็นความชื้นแม้เพียงเล็กน้อย ก็มีความเสี่ยงที่จะสร้างความเสียหายกับแบตเตอรี่ทั้งหมดของรถยนต์ไฟฟ้าได้ ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าจึงควรหลีกเลี่ยงการขับรถยนต์ลุยน้ำท่วม รวมถึงขับรถยนต์ไฟฟ้าฝ่าบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง |
3. ปิดเครื่องปรับอากาศ
เมื่อต้องขับรถลุยน้ำท่วม การปิดแอร์รถยนต์สามารถช่วยลดความเสี่ยงที่ใบพัดแอร์จะพัดน้ำ ขยะ และสิ่งปฏิกูลเข้าสู่เครื่องยนต์และระบบระบายความร้อนได้ ซึ่งเมื่อปิดแอร์แล้ว ผู้ขับขี่รถยนต์ควรเปิดกระจกเพื่อทำการระบายอากาศภายในห้องโดยสาร
4. เหยียบเบรก หรือ คลัตช์ บ่อยๆ
เมื่อขับรถพ้นช่วงที่น้ำท่วมแล้ว ขอแนะนำให้ย้ำเบรก หรือ คลัตช์บ่อยๆ เพื่อทำการไล่น้ำออกจากส่วนต่างๆ ของรถยนต์ ทั้งยังช่วยให้ผ้าเบรกแห้งไว ไม่มีความชื้นสะสมจนเกิดเป็นสนิมได้
5. หากรถดับ ห้ามสตาร์ทเด็ดขาด
หากเกิดเหตุรถยนต์ดับในระหว่างที่ขับลุยน้ำท่วม ผู้ขับขี่ห้ามพยายามสตาร์ทรถยนต์ใหม่โดยเด็ดขาด เนื่องจากการสตาร์ทรถยนต์ในขณะที่น้ำท่วมอยู่จะทำให้น้ำทะลักเข้ามาในเครื่องยนต์ได้
เมื่อรถดับในระหว่างน้ำท่วม ควรเปิดไฟฉุกเฉินให้ผู้ใช้รถยนต์คันอื่นทราบ จากนั้นให้เข็นรถยนต์ไปยังพื้นที่แห้งและตรวจสอบความเสียหาย หากขยับรถยนต์ไม่ได้ หรือ ไม่มั่นใจว่าจะซ่อมแซมรถยนต์เบื้องต้นได้อย่างไร แนะนำให้ติดต่อขอความช่วยเหลือกับหน่วยงานที่ใกล้ที่สุด
- ตำรวจทางหลวง กรมทางหลวง โทร. 1193
- ศูนย์ความปลอดภัย กรมทางหลวงชนบท โทร. 1146
- ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) โทร. 1111 กด 5
- ติดต่อบริการรถฉุกเฉินตามที่ระบุเอาไว้ในบริการหลังการขายของรถยนต์แต่ละแบรนด์
- ลูกค้าประกันรถยนต์และประกันรถยนต์ไฟฟ้าซันเดย์ ติดต่อขอความช่วยเหลือได้ที่ Sunday Customer Service ได้ที่ 02-026-3355
5 ข้อควรปฏิบัติหลังขับรถลุยน้ำท่วม
ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง หรือ รถยนต์ไฟฟ้า หลังจากที่ขับรถยนต์ลุยน้ำท่วมมาแล้ว เมื่อถึงจุดหมายปลายทางแล้ว อย่าลืมลงมาตรวจสอบรถยนต์ 5 ส่วนหลัก ดังนี้
1. ตรวจสอบระบบเบรก
แม้จะเหยียบเบรกและคลัตช์ระหว่างทางมาแล้ว เมื่อถึงที่หมาย อย่าลืมเหยียบเบรกและคลัตช์ย้ำเป็นจังหวะเพื่อไล่น้ำและความชื้นออกจากระบบให้ได้มากที่สุด
เมื่อต้องใช้รถยนต์ในครั้งต่อไป ให้สังเกตจังหวะการเบรก เสียงเบรก และระยะในการเบรกให้ดี หากพบความผิดปกติเมื่อไหร่ ขอแนะนำให้รีบนำรถยนต์ไปตรวจสอบกับอู่ หรือ ศูนย์รถยนต์ทันที
2. ตรวจสอบระบบไฟฟ้า
การตรวจสอบระบบไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในข้อควรปฏิบัติหลังขับรถลุยน้ำท่วมที่สำคัญเป็นอย่างมาก เมื่อถึงจุดหมายแล้ว ขอแนะนำให้ตรวจสอบความเสียหายของกล่องฟิวส์รถยนต์และกล่อง ECU (Electronic Control Unit) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกล่องที่ควบคุมการทำงานหลักของรถยนต์
นอกจากนี้ เจ้าของรถยนต์ยังควรตรวจสอบความผิดปกติที่สายไฟภายนอกและภายในรถยนต์ให้ดี หากพบความผิดปกติเมื่อไหร่ แนะนำให้ถอดขั้วแบตเตอรี่ออกและติดต่อช่างผู้เชี่ยวชาญทันที
3. ตรวจสอบการทำงานของเครื่องยนต์
เริ่มจากสังเกตอาการกระตุก เสียงเครื่องยนต์ ไปจนถึงอัตราการเร่ง โดยหากมีความผิดปกติในจังหวะเหล่านี้เมื่อไหร่ ขอแนะนำให้ติดต่อศูนย์หรืออู่ซ่อมเพื่อตรวจสอบความผิดปกติในทันที
นอกจากนี้ เจ้าของรถยนต์ยังควรเช็กก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง ซึ่งหากดึงออกมาแล้วน้ำมันที่ก้านวัดมีสีขุ่นคล้ายกาแฟนม แปลว่ามีน้ำเข้าไปในเครื่องยนต์ จำเป็นที่จะต้องให้ช่างผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบทันที
4. ตรวจสอบห้องโดยสาร
โดยส่วนใหญ่แล้ว ห้องโดยสารมักมีกลิ่นอับหลังจากขับรถฝ่าน้ำท่วมมา เนื่องจากน้ำอาจซึมผ่านรอยต่อและซีลบริเวณต่างๆ เข้ามา หรือเป็นไปได้ว่าน้ำจะไหลเข้าที่ทางท่อไอเสียและซึมเข้ามาที่ห้องโดยสาร
ดังนั้น หากพรมภายในห้องโดยสารมีความชื้น มีกลิ่นอับ หรือ มีน้ำขังที่บริเวณใด ควรรีบซับน้ำให้แห้ง ดูด หรือ เช็ดทำความสะอาดในทันที หลังจากนั้นให้เปิดประตูรถยนต์ทั้งหมดเพื่อระบายอากาศ และนำพรมไปตากแดด
อย่างไรก็ดี หลังจากที่เปิดระบายอากาศทั้งหมดแล้วกลิ่นอับยังไม่หาย หรือ รู้สึกถึงความชื้นภายในห้องโดยสาร ขอแนะนำให้นำรถยนต์ไปเช็กความผิดปกติที่แอร์ ตัวกรองอากาศ และ ท่อร่วมไอดี (Intake Manifold) ร่วมด้วย
5. ตรวจสอบไฟแจ้งเตือนความเสียหายที่หน้าปัดรถยนต์ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
หลังจากที่ขับรถยนต์ผ่านน้ำท่วมมา เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้ายังควรเช็กความเสียหายที่แจ้งเตือนบริเวณหน้าปัดรถยนต์ โดยหากมีไฟแจ้งเตือนความเสียหายเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจุดใด ขอแนะนำให้รีบนำรถยนต์รถยนต์ไฟฟ้าไปตรวจสอบกับศูนย์บริการของค่ายรถยนต์ในทันที เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไม่ได้มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้น
สำหรับลูกค้าประกันรถยนต์ไฟฟ้าซันเดย์ สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือ หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Sunday Customer Service ได้ที่เบอร์ 02-026-3355
ไม่อยากขับรถลุยน้ำท่วม ควรวางแผนการเดินทางอย่างไร?
การติดตามข่าวสารพื้นที่น้ำท่วมรายวันถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยวางแผนการเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ดี การติดตามข่าวสารด้วยตัวเองผ่านหลากหลายช่องทางกลับสร้างความสับสนอยู่บ่อยครั้ง แถมแต่ละแพลตฟอร์มเองก็มีการอัปเดตข้อมูลที่แตกต่างกันไป จนทำให้ใครหลายคนไม่มั่นใจว่าจะต้องเลือกเส้นทางการเดินทาง หรือ เตรียมตัวรับมือกับน้ำท่วมอย่างไรให้เหมาะสม
นอกจากจะเป็นแอปพลิเคชันสำหรับการซื้อประกันรถยนต์ออนไลน์ที่สามารถเลือกปรับกรมธรรม์ได้ตามต้องการแล้ว ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday ยังมาพร้อมกับฟีเจอร์ ‘คาดการณ์น้ำท่วม’ หรือ ‘Flood Prediction’ ที่ช่วยให้ผู้ใช้บริการ Sunday ปักหมุดเส้นทางและแผนที่น้ำท่วมครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย ตัวระบบมีการประมวลผลผ่านข้อมูลแบบเรียลไทม์ที่มีความแม่นยำสูงสุด 80% วางแผนการเดินทาง พร้อมรับมือน้ำท่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ!
ปักหมุดแผนที่น้ำท่วม วางแผนชีวิตได้ง่ายๆ ใน 3 ขั้นตอน:
- ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Jolly super app by Sunday ฟรี! ได้ที่ App Store และ Google Play Store พร้อมลงทะเบียนให้เรียบร้อย
- กดฟีเจอร์ ‘ใกล้ฉัน’ หรือ ‘Near Me’ จากนั้นเลือกฟีเจอร์รูประดับน้ำ
- เมื่อเห็นข้อความ ‘คาดการณ์น้ำท่วม’ หรือ ‘Flood Prediction’ แล้ว ให้กดดู ‘ดูข้อมูล’ หรือ View’ เท่านี้ก็เห็นสถานการณ์น้ำท่วมยังจุดที่ปักหมุดได้ทันที!
รู้แบบนี้แล้ว อย่าลืมดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Jolly super app by Sunday ได้ทันที วางแผนการทางสะดวกเพื่อชีวิตที่ง่าย หลีกเลี่ยงการขับรถลุยน้ำท่วม โดยไม่จำเป็น หรือจะซื้อประกันรถยนต์เพื่อเพิ่มความอุ่นใจก่อนออกสตาร์ทก็ทำได้ผ่านแอปฯ ปรับแต่งกรมธรรม์เองได้ จ่ายเท่าที่เห็น ลงตัวทุกการเดินทาง