หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ 6 แอพคู่ใจเวลาเที่ยวต่างประเทศ

6 แอพคู่ใจเวลาเที่ยวต่างประเทศ

แอพเที่ยวต่างประเทศ
Words by Pinda Phisitbutra

อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก แอพกล้องถ่ายรูป เรารู้น่าว่าพอเห็นชื่อบทความนี้ คุณก็มีรายชื่อแอพโปรดที่ใช้ประจำเวลาไปเที่ยวขึ้นมาเพียบ แต่นี่เรากำลังพูดถึงแอพที่ “ควรมี” จริงๆ ขณะเดินทางอยู่ต่างแดน ไม่มีแอพเหล่านี้ติดสมาร์ทโฟนไว้ก็ไม่ถึงขั้นคอขาดบาดตาย แต่รับรองว่าชีวิตการท่องเที่ยวของคุณจะง่ายขึ้นอีกเยอะถ้าคุณมี…

1. พิซซ่า 4 AUD กี่บาท รู้ได้ง่ายๆ ด้วย Currency

ถ้าไปประเทศที่ค่าเงินคูณเป็นเงินไทยได้ง่ายๆ ก็ว่าไปอย่าง แต่ค่าเงินบางประเทศต้องคูณหารหลายตลบกว่าจะรู้ว่ากาแฟแก้วละเท่าไหร่ ค่าตั๋วรถไฟเท่าไหร่ แล้วกระเป๋าน่ารักใบนั้นน่ะเท่าไหร่ ไปเที่ยวนะ ไม่ได้ไปฝึกคิดเลขในใจ แต่คุณจะไม่ต้องบริหารสมองบ่อยขนาดนั้นอีกต่อไปถ้ามีแอพช่วยคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนที่ชื่อ Currency จุดเด่นของแอพนี้คือใช้ง่าย ใช้ได้ขณะออฟไลน์ มีทุกสกุลเงิน สิ่งที่ต้องทำก็แค่เลือกสกุลเงินของประเทศที่เราไปเที่ยว ลากมาวางใกล้ๆ สกุลเงินบาทไทย จากนั้นก็ใส่ตัวเลขแล้วกด enter เท่านี้คุณก็จะรู้ว่า กระเป๋าใบละห้าแสนวอนก็เท่ากับหมื่นสี่พันบาท แพงอยู่ดี ฮือๆ

ดาวน์โหลดแอพ iOS และ Android

currency app

2. เที่ยวไม่เกินงบเมื่อมี TravelSpend

แอพนี้ให้คุณกำหนดงบเดินทางแต่ละทริป และเฉลี่ยงบประมาณในแต่ละวันให้ ส่วนรายจ่ายไหนที่ไม่ใช่รายจ่ายรายวัน (เช่น ค่าตั๋วเครื่องบินที่จ่ายทีเดียว) คุณก็สามารถกำหนดให้เป็นรายจ่ายรวมของทั้งทริปได้ จุดเด่นที่ทำให้แอพนี้ต่างจากแอพบันทึกรายรับรายจ่ายทั่วไปก็คือ มันสามารถแปลงรายจ่ายในสกุลเงินต่างประเทศเป็นเงินสกุลบาทของเราได้เลย จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาคำนวณว่าตกลงค่าใช้จ่ายต่างๆ คิดเป็นเงินไทยเท่าไหร่ นอกจากนี้ก็ยังมีการวิเคราะห์รายจ่ายประจำทริปให้เหมือนแอพบันทึกรายรับรายจ่ายทั่วไป มีการแบ่งรายจ่ายเป็นหมวดหมู่ ใช้งานง่าย มีแอพนี้ไว้ ทริปต่อไปจะได้เที่ยวไม่เกินงบ

ดาวน์โหลดแอพ iOS และ Android

travelspend app

3. สยบเสียงกรนด้วย White Noise

นักท่องเที่ยวสายประหยัดที่เลือกพักห้องรวมในโฮสเทลต่างคงเคยผจญเสียบกรน เสียงคุย หรือแม้แต่เสียงผายลมของคนที่นอนบนเตียงชั้นบนกันมาบ้าง เราจะมาสยบเสียงรบกวนการนอนเหล่านี้ด้วยแอพ White Noise ที่จะปล่อยเสียงแบ็กกราวด์สงบๆ ไม่ว่าจะเป็นเสียงป่าฝนอเมซอน เสียงคลื่นกระทบหาด เสียงลมพัด เสียงฝนตกกระทบหลังคา เสียงหยดน้ำ เสียงกบร้อง แถมยังตั้งเวลาให้เสียงหยุดและใช้เป็นนาฬิกาปลุกได้ด้วย

ดาวน์โหลดแอพ iOS และ Android

white noise app

4. อ่านเมนูหรือป้ายไม่ออก ใช้ฟีเจอร์กล้องใน Google Translate สิ

โอเค ทุกคนรู้จัก Google Translate ทุกคนรู้ว่าเราสามารถพิมพ์ข้อความได้ พูดใส่ไมโครโฟนเพื่อให้กูเกิลแปลได้ แต่ที่บางคนอาจจะยังไม่รู้คือมันมีฟังก์ชั่นถ่ายรูปด้วย คุณสามารถเอากล้องมือถือไปจ่อที่ข้อความภาษาต่างประเทศ แล้วกูเกิลจะแปลออกมาเป็นภาษาที่เราเข้าใจโดยอัตโนมัติ อ้าว! ฟีเจอร์นี้คุณรู้จักแล้วเหรอ โอเค ยังไงเราก็จำเป็นต้องอุทิศย่อหน้านี้ให้ Google Translate อยู่ดี เพราะมันเป็นแอพที่ขาดไม่ได้จริงจริ๊งเวลาไปต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ

ดาวน์โหลดแอพ iOS และ Android

google translate app

5. ไม่ตกเครื่องบินเพราะใช้ฟีเจอร์ World Clock

แอพนาฬิกาประจำเครื่องประจำมือถือของเรานี่เอง ฟีเจอร์ที่แนะนำให้ใช้คือฟีเจอร์ World Clock ที่บอกเวลาท้องถิ่นของแต่ละเมือง แอพนี้มีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะกับคนที่ต้องแวะเปลี่ยนเครื่องบินที่ต่างประเทศ เพราะเวลาเครื่องออกนั้นยึดกับเวลาท้องถิ่น แวะเปลี่ยนเครื่องที่เมืองไหนก็เพิ่มเวลาท้องถิ่นของเมืองนั้นไว้ใกล้ๆ กันในแอพ จะได้ไม่ตกเครื่องและไม่ต้องมาบวกลบระยะห่างของเวลาในใจ ไม่ต้องมางงไทม์โซน อย่าหวังเพิ่งเข็มบอกเวลาบนสมาร์ตโฟนมากนัก เพราะมันจะอัพเดตเวลาเป็นเวลาท้องถิ่นก็ต่อเมื่อเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตแล้วเท่านั้นนะ เดี๋ยวตกเครื่องกันพอดี

แอพนี้มีติดสมาร์ทโฟนคุณอยู่แล้ว

6. วางแผนการเดินทางล่วงหน้าด้วย Google Map

คงไม่ต้องพูดอะไรมากสำหรับแอพนี้ แต่รู้ไหมว่านอกจากจะใช้เป็นแอพคู่ใจขณะกำลังเดินทางแล้ว คุณยังสามารถวางแผนเที่ยวด้วย Google Map ได้อีกด้วย โดยรีเสิร์ชสถานที่ท่องเที่ยวที่จะไปแล้วใส่เครื่องหมายดาวเสมือนเป็นการปักหมุดไว้ในแผนที่ จากนั้นก็ศึกษาเส้นทางล่วงหน้าด้วยฟีเจอร์ Direction ซึ่งเลิศมากเพราะมีบอกละเอียดไปถึงหมายเลขของสายถสารสาธารณะของแต่ละเมือง ไม่ว่าจะเป็นสายแทรม รถไฟ หรือรถประจำทาง

ดาวน์โหลดแอพ iOS และ Android

google map app

แอพพิเศษเฉพาะที่ที่จะไป

ก่อนเดินทางไปต่างบ้านต่างเมืองก็หาข้อมูลให้ดีว่ามีแอพประจำถิ่นอะไรที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้ชีวิตคุณได้บ้าง เช่น ในเมลเบิร์นมีแอพบอกการเดินทางโดยละเอียดของแทรมและรถไฟ (ละเอียดกว่า Google Map อีก) ที่ชื่อ PTV หากจะไปไหนมาไหนในซิดนีย์ก็ต้องดาวน์โหลดแอพ Opal Travel ถ้าคุณต้องพักเปลี่ยนเครื่องที่สนามบินในอัมสเตอร์ดัมนานหน่อยก็ดาวน์โหลดแอพ Schiphol Amsterdam Airport ที่มีแผนที่ภายในสนามบิน มีข้อมูลอัปเตดไฟลต์และประตูขึ้นเครื่องแบบเรียลไทม์ ถ้าคุณเที่ยวในสหรัฐฯ แอพ Yelp เป็นแอพยอดนิยมที่แนะนำร้านอาหารและร้านค้าต่างๆ รวมถึงมีแอพเรียกรถที่ชื่อ Lyft

แอพที่จะช่วยให้คุณเที่ยวได้ใกล้ชิดคนท้องถิ่นขึ้นอีกนิด

ถ้าคุณยังไม่ได้อ่านบทความ 5 แอพที่จะช่วยให้คุณเที่ยวต่างประเทศแบบคนท้องถิ่นละก็ เราแนะนำให้คลิกไปอ่านโดยพลัน เพราะแอพเหล่านี้จะช่วยให้คุณได้พบปะ รู้จัก และคลุกคลีกับคนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นแอพแนะนำอีเวนต์ต่างๆ ที่จัดขึ้นในแต่ละเมือง แอพพักกับคนต่างเมือง แอพหาที่เต้น และอื่นๆ อีกมาก

มีแอพคู่ใจแล้วก็ขอให้เที่ยวให้สนุก แต่อย่าให้ปัญหาน่าหงุดหงิดใจอย่างกระเป๋าเดินทางหาย เครื่องบินล่าช้า หรือปัญหาซีเรียสอย่างการเจ็บป่วยที่ต่างประเทศมาทำให้การเที่ยวหมดสนุก มีประกันเดินทางไว้ เที่ยวที่ไหนก็หายห่วง ราคาเริ่มต้นไม่ถึงร้อย เช็คราคาง่ายๆ ที่ travel.easysunday.com

ทำไมประกันเดินทางซันเดย์จึงแตกต่าง

  • แค่แผนประกันเริ่มต้นก็คุ้มครองครอบคลุมสิ่งจำเป็น – ตั้งแต่กระเป๋าหาย ชำรุด ไฟลท์ดีเลย์ เจ็บป่วย ราคาเริ่มต้นไม่ถึงร้อย เช็คราคาที่ travel.easysunday.com
  • คิดราคาเบี้ยประกันตามจำนวนวันเดินทางจริง – ไม่ต้องจ่ายสำหรับวันที่ไม่ได้ไป
  • เคลมสะดวก 24 ชั่วโมง– ผ่านเบอร์ฉุกเฉิน  +66 2 026 3355 หรือ LINE @sundayclaim
Share this article
Shareable URL
Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men

โรคที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก คุ้มครองด้วยประกันสุขภาพ OPD

การรักษาแบบ OPD คืออะไร ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกคุ้มครองโรคไหนบ้าง? จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า…
opd-diseases-and-opd-health-insurance

ทำประกันต้องรู้! ค่าห้องพิเศษโรงพยาบาล อัปเดตปี 2567

ซื้อประกันต้องเข้าใจ! ค่าห้องพิเศษโรงพยาบาลคืออะไร พร้อมอัปเดตค่าห้องปี 2567 นอกจากโรงพยาบาลในเครือข่ายแล้ว…
private-room-hospital-update-2024

อัปเดต! ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชนปี 2567 งบไม่เกิน 10,000 บาท!

ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชน ไม่เกิน 10,000 บาท อัปเดตล่าสุด เจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล เชื่อว่าหลายๆ…
hospital-room-costs-2024
0
Share