หน้าหลัก สาระสุขภาพ “ไข้เลือดออก” โรคอันตราย จากยุงลายตัวร้ายนอกฤดูฝน!

“ไข้เลือดออก” โรคอันตราย จากยุงลายตัวร้ายนอกฤดูฝน!

หนึ่งในโรคระบาดที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของคนทำงานอย่างเราๆ ก็คงไม่พ้น “โรคไข้เลือดออก” ซึ่งหลายคนก็น่าจะพอทราบกันดีว่าโรคนี้มีที่มาจากการโดนยุงลายที่มีเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) กัด ทำให้เกิดอาการป่วยจนไม่สามารถใช้ชีวิตเป็นปกติ นอกจากนั้นโรคนี้มีโอกาสทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หากดูแลตัวเองไม่ถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม โรคไข้เลือดออกส่งผลร้ายต่อการทำธุรกิจของคุณอย่างไรบ้าง?

ว่าแต่ทำไมเราถึงมาพูดเรื่องโรคไข้เลือดออกในช่วงเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งมีการนิยามเอาไว้ว่าเป็นช่วงหน้าร้อน แทนที่ปกติเรามักจะมีการแจ้งเตือนโรคไข้เลือดออกกันในช่วงหน้าฝน ซึ่งเป็นฤดูที่ยุงลายกำลังแพร่พันธุ์กันมากกว่า? มาหาคำตอบกันได้ในบทความนี้

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

โรคไข้เลือดออก คืออะไร?

อย่างแรกมาดูกันก่อนว่าไข้เลือดออก คืออะไร โรคไข้เลือดออกที่เราคุ้นหูกัน มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า ‘dengue hemorrhagic fever’ ต้นตอของการเกิดโรคนี้คือ เชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) ซึ่งมียุงลายเพศเมียเป็นพาหะนำโรค มักพบในประเทศที่มีอากาศร้อน ๆ หรือประเทศต่างๆ ในเขตร้อน และมักจะมีการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี โดยอาการของโรคไข้เลือดออกจะมีระดับความรุนแรงที่หลากหลาย ตั้งแต่ไม่มีอาการอะไรเลยไปจนถึงอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาทันที


เชื้อโรคตัวนี้มีหลายสายพันธุ์ มาดูกันว่าไข้เลือดออกแบ่งออกเป็นกี่สายพันธุ์

ชื้อไวรัสเดงกี (dengue virus) นั้นถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ด้วยกันดังนี้

  • DENV-1
  • DENV-2
  • DENV-3
  • DENV-4

และอย่างที่ได้กล่าวไปว่าโรคนี้มียุงลายเพศเมียเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายดูดเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกี เชื้อจะเข้าไปฝังตัวภายในกระเพาะและต่อมน้ำลายของยุง และจะมีระยะเวลาฟักตัวอีกประมาณ 8-12 วัน หลังจากนั้นเมื่อยุงตัวที่มีเชื้อไวรัสไปกัดคนอื่นๆ ต่อ เชื้อไวรัสก็จะเข้าสู่กระแสเลือดของผู้ที่โดนกัด ทำให้เกิดการแพร่ระบาดต่อกันไป

สำหรับผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่เคยได้รับเชื้อไวรัสเดงกีสายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่ง ก็จะมีภูมิคุ้มกันเฉพาะสายพันธุ์นั้น แต่หากได้รับเชื้อไวรัสเดงกีสายพันธุ์อื่นก็สามารถป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกได้อีก และโดยทั่วไปหากป่วยครั้งที่สองอาการมักจะรุนแรงกว่าครั้งแรก

Sunday แนะนำเกร็ดความรู้!

ในช่วงที่ผ่านมาพบว่ามีการกระจายของเชื้อไวรัสเดงกีทั้ง 4 สายพันธุ์ และในแต่ละปีก็มีการระบัดของเชื้อแตกต่างสายพันธุ์กัน ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้นี้โรคไข้เลือดออกเกิดการระบาดอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชาชนไม่มีภูมิต้านทานต่อเชื้อไวรัสสายพันธุ์ที่สลับผัดเปลี่ยนกันระบาด

ทำไมคุณหมอถึงเตือนเรื่องแนวโน้มการระบาดของไข้เลือดออกในช่วงหน้าร้อน?

ปกติแล้วโรคไข้เลือดออกมักจะเกิดการระบาดสูงสุดในช่วงฤดูฝน (มิถุนายน – กันยายน) แต่ถ้าหากลองศึกษาจากสถานการณ์ในอดีต ช่วงปี 2565 เมื่อเช็กข้อมูลจากข้อมูลของกองระบาดวิทยา ที่ได้มีรายงานออกมาเมื่อวันที่ 28 ก.พ. ปี 2565 ว่าสถานการณ์การระบาดของไข้เลือดออกในประเทศไทยนั้น มีข้อมูลทางสถิติที่ควรจับตามองและเฝ้าระวังว่าโรคนี้อาจเกิดการระบาดได้มากขึ้น และรวดเร็วขึ้นแม้ว่าจะยังไม่ถึงฤดูฝนเลยก็ตาม

  • ในเดือน ม.ค. – ก.พ. ในปี 2565 มีการพบผู้ป่วยเสียชีวิตด้วยไข้เลือดออกทั้งหมด 2 ราย คิดเป็น 0.44% จากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด
  • แม้ว่าอาจจะฟังดูไม่มาก แต่หากนำเอาข้อมูลของ 2 เดือนแรกในปี พ.ศ. 2565 เทียบกับข้อมูลย้อนหลังไปในปี 2564 ตลอดทั้งปีนั้น พบว่าในปี 2564 จะมีจำนวนผู้เสียชีวิต 6 รายเท่านั้น (คิดเป็น 0.06%)  จากผู้ป่วยทั้งหมด

เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสถานการณ์การระบาดของไข้เลือดออกมากกว่านี้ และเพื่อเป็นความรู้ในการดูแลตนเอง ซันเดย์จึงได้ขอคำปรึกษาจาก “คุณหมอชัย” นพ. วิชัย อังคเศกวินัยอายุรแพทย์โรคหลอดเลือดและหัวใจ เพื่อให้แนวทางกับทุกคน

ถ้าโดนยุงลายกัดจนติดเชื้อไข้เลือดออก จะมีอาการยังไง?

คุณหมอชัยได้ให้ข้อมูลว่าอาการของคนที่ติดเชื้อแล้วป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก จะมีอาการที่เราสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนเลย

หลังจากโดนยุงที่มีเชื้อกัดแล้ว ประมาณ 3-8 วัน (ระยะฟักตัว) มีดังนี้

  • มีไข้ขึ้นสูง บางรายอาจมีไข้ขึ้นถึง 40 องศา
  • มีอาการปวดเมื่อย ปวดหัว ปวดตัว ปวดกระดูก ปวดตา ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ
  • อาจมีอาการปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ชายโครงด้านขวา เพราะผู้ป่วยไข้เลือดออก มักมีอาการตับอักเสบร่วมด้วย
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นผลต่อเนื่องมาจากอาการตับอักเสบ
  • มีอาการผื่นแดง ตุ่มแดงปรากฏ ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในช่วงที่ไข้ลงแล้ว

เราจะแยกความแตกต่างของไข้เลือดออก vs ไข้หวัดใหญ่ vs COVID-19 ได้ยังไง?

สำหรับใครที่ไม่แน่ใจว่าอาการป่วยที่เป็นอยู่นั้น เป็นอาการของไข้เลือดออก หรือเป็นเพียงไข้หวัดใหญ่ธรรมดา คุณหมอชัยได้ให้ข้อสังเกตว่า อาการของโรคไข้เลือดออกนั้น แทบไม่มีอาการที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจเลย แตกต่างจากไข้หวัดใหญ่

เช่น คนที่มีอาการไข้ขึ้นสูง ปวดตามเนื้อตัว และมีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกไหล รวมถึงมีอาการไอหรือเจ็บคอเป็นระยะ กลุ่มนี้อาจจะมีแนวโน้มป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ธรรมดา ไม่ใช่โรคไข้เลือดออก

อีกประเด็นที่หลายคนน่าจะอยากทราบ ก็คือ ความแตกต่างระหว่างโรคไข้เลือดออกกับ COVID-19 นั้น สามารถแยกความแตกต่างกันได้เหมือนกับไข้หวัดใหญ่ นั่นก็คือ COVID-19 มักจะมีอาการที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจเช่นกัน เช่น มีไข้ ปวดหัว อ่อนเพลีย อ่อนล้า น้ำมูกไหล เจ็บคอ จาม หรือไม่รับรู้กลิ่นและรส (อาการขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของ COVID-19) ดังนั้นผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการป่วยดังกล่าว ควรต้องเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดอีกครั้ง

เป็นโรคไข้เลือดออกมีอันตรายถึงชีวิตหรือไม่?

ส่วนใหญ่คนที่เป็นโรคไข้เลือดออกนั้น หากดูแลตัวเองได้ถูกต้องและไม่มีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ จะสามารถหายเป็นปกติได้เอง แต่ก็มีกรณีที่ผู้ป่วยเป็นไข้เลือดออกนั้นเกิดการเสียชีวิตเช่นกัน ซึ่งคุณหมอชัยได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สาเหตุของการเสียชีวิตจากไข้เลือดออก มี 4 สาเหตุ ดังนี้

  1. ถูกไวรัสไข้เลือดออกสายพันธุ์รุนแรงเล่นงาน เนื่องจากไวรัสเดงกีมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ถ้าติดเชื้อไข้เลือดออกสายพันธุ์ที่มีความรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหนักกว่าสายพันธุ์ที่เบากว่าได้
  2. อาการป่วยส่วนใหญ่ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ โรคประจำตัว อาทิ เบาหวาน โรคอ้วน ความดัน ผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลต่ออาการป่วยที่เป็นแตกต่างกันไปในแต่ละคน
  3. ผู้ป่วยเคยมีประวัติการติดเชื้อไข้เลือดออกมาแล้ว เรื่องจากเชื้อไวรัสเดงกี สามารถตอบสนองต่อร่างกายมีภูมิคุ้มกันของผู้ที่ติดเชื้อมาก่อนจนทำให้มีการอักเสบรุนแรงได้ โดยเฉพาะคนที่พึ่งติดเชื้อมาในช่วง 6 เดือน-1 ปี 
  4. การดูแลตัวเองของคนไข้ไม่เหมาะสม เช่น การที่ผู้ป่วยขาดน้ำเนื่องจากไม่อยากอาหาร หรือเป็นผู้ป่วยที่ตัดสินใจเลือกซื้อยาทานเอง และอาจจะเลือกทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs อาทิ ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยาแอสไพริน (Aspirin) ยาทัมใจ ฯลฯ ซึ่งไม่ควรทำ เนื่องจากอาจทำให้เกล็ดเลือดลดต่ำและเกิดอาการเลือดไหลภายในร่างกาย จนถึงแก่ชีวิต

สิ่งสำคัญก็คือ “ช่วงไข้ลดลง” จะเป็นช่วงที่วิกฤติที่สุดของอาการไข้เลือดออก เนื่องจากเป็นช่วงที่ร่างกายมีเกล็ดเลือดต่ำมากที่สุด ดังนั้นต้องเช็กตัวเองให้ดีว่า มีเลือดออกในร่างกายที่ไหนหรือไม่? โดยเฉพาะถ้าเป็นอาการเลือดออกในอวัยวะสำคัญ เช่น กระเพาะอาหาร สมอง หรือลำไส้ใหญ่ เช่น มีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายเป็นเลือด ถ่ายดำ อาเจียนดำ ปวดท้องรุนแรง ปวดหัวรุนแรง หน้ามืด ใจสั่น ตัวเย็น ฯลฯ หรือเปล่า เพราะอาการเหล่านี้จะบอกเราว่าอาจมีเลือดออกภายในร่างกาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาทันที จะมีอัตราการเสียชีวิตสูง

เพื่อเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออก คุณหมอแนะนำว่าควรทำแบบนี้

  • มีไข้เมื่อไหร่ (อุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาฯ ขึ้นไป)ให้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรฝืนทำงาน
  • ไม่ควรให้ร่างกายขาดน้ำเด็ดขาด! โดยให้ลองสังเกตเวลาที่คนป่วยปัสสาวะ ถ้าปัสสาวะเป็นสีเข้มให้ทานน้ำเข้าไปเยอะๆ ให้ปัสสาวะสีอ่อน หรือสีใส จะเป็นการดี
  • ไม่ควรกินยาแก้ปวดตระกูล NSAIDs เพราะยาเหล่านี้จะไปรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือด และอาจทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดอาการเลือดออกในกระเพาะมากขึ้น
  • สามารถทานยาแก้ปวดตระกูลพาราเซตามอลได้ โดยให้เว้นระยะในการทานทุก 4-6 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ควรทานยาต่อเนื่องนานเกินไป เพราะอาจส่งผลต่อภาวะตับอักเสบได้
  • ควรหมั่นเช็ดตัวเยอะๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กใช้วิธีเช็ดตัวจะดีกว่าทานยา

ป่วยเป็นไข้เลือดออกกี่วันหาย ต้องเข้าพักรักษาตัวใน รพ. กี่วัน?

หากคุณป่วยเป็นไข้เลือดออกแล้วตัดสินใจไปที่ รพ. คุณหมออาจจะแนะนำให้เข้าพักรักษาตัวหรือไม่ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยในแต่ละคน แต่หากจำเป็นจริงๆ คุณอาจจะต้องนอนพักรักษาตัวใน รพ. ประมาณ 5-7 วัน ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกาย ความเสี่ยงและความรุนแรงของอาการ

จุดต่างกันที่แพทย์จะเลือกให้คนไข้นอน รพ. หรือไม่ ดูจากว่ามีความเสี่ยงที่จะขาดน้ำหรือเปล่า เนื่องจากคนไข้ที่นอนรักษาที่ รพ. จะไม่ได้แตกต่างจากการดูแลตัวเองที่บ้าน แต่จะเพิ่มความมั่นใจได้ว่าคนไข้จะไม่มีอาการขาดน้ำอย่างแน่นอน เช่น หากคนไข้ไม่สามารถทานอาหารหรือน้ำได้ เป็นคนที่มีโรคประจำตัวเยอะ มีไข้สูงรุนแรง หรือมีผลเลือดที่บ่งบอกว่า ค่าไต ค่าตับ ผิดปกติ หรือการตรวจปัสสาวะแล้วมีผลไม่ดี เป็นต้น

  • นับตั้งแต่วันที่เริ่มมีไข้เป็นวันที่ 1 ปกติไข้ควรจะลดลงภายใน 5-7 วัน ต่อให้อยู่ รพ. หรือไม่ก็ตาม
  • ปกติอาการไข้ของโรคไข้เลือดออกจะเริ่มหนักขึ้นเมื่อเข้าสู่วันที่ 3  
  • ถ้ามาเจอหมอวันที่ 1 หมออาจจะนัดตรวจเพื่อเจาะเลือดวันที่ 3 หรือวันที่ 5 เพื่อเช็กอาการว่าแย่ลงแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยว่า ตัวคนไข้จะสามารถดูแลตัวเองได้มากน้อยแค่ไหน
  • เมื่อหลังจากไข้ลงแล้ว หมอมักจะให้คนไข้นอน รพ. ก่อนอีก 1-2 วันเพื่อดูว่าร่างกายสามารถฟื้นเกล็ดเลือดขึ้นตามเกณฑ์โดยธรรมชาติได้หรือไม่ หลังจากนั้นจึงให้คนไข้กลับบ้านได้

ดังนั้นหากคนทำงานมีอาการเจ็บป่วยเป็นไข้เลือดออก แล้วมีประกันสุขภาพที่ให้การคุ้มครองการเข้ารักษาตัวใน รพ. ก็จะสามารถใช้สิทธิ์ความคุ้มครองของผู้ป่วยใน (IPD) โดยประเมินได้ที่ระยะเวลาราวๆ 5-7 วัน จนกว่าการรักษาจะเสร็จสิ้น


โดยสรุปก็คือ ไม่ว่าคุณจะมีโอกาสเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ การที่มี “ประกันสุขภาพซันเดย์” ที่รองรับความคุ้มครองในการณีเข้าพักรักษาตัวใน รพ. ที่ครอบคลุมทั้งค่าห้อง ค่ารักษา หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ฯลฯ นั้น ย่อมมีความสบายใจกว่า เพราะคุณสามารถเลือกใช้สิทธิ์ประกันที่มี ที่ รพ. แห่งใดก็ได้ โดยเฉพาะ รพ. ที่อยู่ในเครือข่ายของซันเดย์

จะเห็นได้ว่าโรคระบาด เชื้อโรคอันตรายต่างๆ อยู่รายล้อมตัวเรา ดังนั้นขอแนะนำให้ ซื้อประกันสุขภาพออนไลน์ ซันเดย์ เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันได้ทุกเมื่อ

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

สถิติโรคไข้เลือดออกระบาดปี 2567

รับมือไข้เลือดออกระบาด เช็กอาการและป้องกันอย่างไร? หน้าฝนแบบนี้นอกจากจะฝนตกหนักและอาจทำให้เป็นหวัดได้ง่ายแล้ว…
รับมือกับโรคไข้เลือดออกปี 2567

วิตามินดีคืออะไร ขาดแล้วอันตรายต่อร่างกายอย่างไร?

วิตามินดีคืออะไร อาการเมื่อขาดวิตามินดีเป็นอย่างไร? แม้ร่างกายจะสามารถรับวิตามินดีจากแดดได้…
ประโยชน์ของวิตามินดี