รู้ไหม บัตรเครดิตบางใบมีประกันเดินทางแถมมาด้วย
แต่เดี๋ยวก่อน ก่อนที่คุณจะตัดสินใจลากกระเป๋าเดินทางไปสนามบินพร้อมกระหยิ่มใจว่าพกบัตรเครดิตไปใบเดียวพอ เพราะบัตรที่มีอยู่โฆษณาไว้ว่าแถมประกันเดินทางมาด้วยนั้น คุณต้องดูดีๆ ว่าประกันเดินทางที่แถมมากับบัตรดังกล่าวครอบคลุมอะไรและมีเงื่อนไขอะไรบ้าง ไม่เช่นนั้น เกิดไปไส้ติ่งแตก เป็นไข้ ท้องเสียที่เมืองนอกเมืองนาอาจต้องเจอค่ารักษาพยาบาลบานเบอะเพราะมารู้ทีหลังว่าประกันเดินทางไม่ครอบคลุม
ประกันเดินทางส่วนใหญ่ที่ว่าแถมมากับบัตรเครดิต ส่วนใหญ่เป็น “ประกันอุบัติเหตุ” นี่หมายความว่า คุณจะได้ค่าชดเชยก็ต่อเมื่อคุณ 1.ตาย 2.เสียอวัยวะ 3.ทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุเท่านั้น แปลว่า หากคุณเจ็บป่วยทั่วไปอย่างปวดหัวตัวร้อน อาหารเป็นพิษ ฯลฯ คุณก็จะไม่สามารถเบิกค่าชดเชยรักษาพยาบาลที่ต่างประเทศได้
ฉะนั้น ก่อนออกเดินทางก็เช็คให้ดีๆ ว่า ประกันที่แถมมากับบัตรเครดิตนั้นเป็นแค่ “ประกันอุบัติเหตุ” หรือเป็น “ประกันเดินทาง” ที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยด้วย
มีบัตรเครดิตเพียงไม่กี่ใบเท่านั้นที่คุ้มครองการเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง ซันเดย์นำบัตรเครดิตบางใบเหล่านี้มารีวิวให้อ่านกัน
บัตรเครดิตใบไหนที่คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล
บัตร SCB Ultra Platinum
- สิ่งที่คุ้มครอง
- ค่ารักษาพยาบาล วงเงินสูงสุด 25,000 บาทต่อทริป
- ข้อควรรู้
- บัตรนี้คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล 25,000 บาทต่อทริปเท่านั้น หากคุณไปประเทศที่ค่าครองชีพและค่ารักษาพยาบาลแพงละก็ คุณอาจจำเป็นต้องซื้อประกันเดินทางเพิ่มเพื่อให้ได้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่ครอบคลุมกว่านี้
- ต้องซื้อตั๋วเครื่องบินด้วยบัตรใบนี้
- ใครเหมาะกับบัตรนี้
- คนที่เดินทางไปประเทศที่ค่ารักษาพยาบาลไม่แพง (วงเงินค่ารักษาไม่เกิน 25,000 บาท)
- แต่ถ้าคุณไปประเทศที่ค่ารักษาพยาบาลสูงๆ อย่างประเทศแถบยุโรป อเมริกา หรือญี่ปุ่น ทางที่ดีก็ควรซื้อประกันเดินทางที่มีวงเงินค่ารักษาพยาบาลสูงเพิ่มด้วย
บัตร Visa ทุกธนาคาร
- สิ่งที่คุ้มครอง
- ค่ารักษาพยาบาล
- บัตรวีซ่า เดบิต/คลาสสิก/โกลด์ – วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท
- บัตรวีซ่า แพลตินั่ม – วงเงินสูงสุด 1.5 ล้านบาท
- บัตรวีซ่า ซิกเนเจอร์/อินฟินิท – วงเงินสูงสุด 2 ล้านบาท
- ค่ารักษาพยาบาล
- ข้อควรรู้
- ประกันจากบัตรนี้มีระยะเวลาคุ้มครองเพียง 10 วันเท่านั้น หากคุณเดินทางไปต่างประเทศมากกว่า 10 วันละก็ ความคุ้มครองที่ให้มากับบัตรจะไม่ครอบคลุม
- หลายคนอาจคิดว่า อ้าว ถ้าไป 20 วัน ก็ใช้ความคุ้มครองฟรีที่มากับบัตรไปก่อน 10 วัน แล้วซื้อประกันเพิ่มอีก 10 วันได้ไหม คำตอบคือ ไม่ได้ เพราะกฎหมายไทยไม่ให้ซื้อประกันเดินทางระหว่างที่คุณอยู่ต่างประเทศ นั่นแปลว่าคุณจะได้รับความคุ้มครองเพียง 10 วันแรก ส่วนวันที่เหลือก็ต้องดูแลตัวเองดีๆ อย่าให้ต้องเจ็บไข้ได้ป่วย หรือไม่เช่นนั้นก็ซื้อประกันเดินทางแบบปกติไป
- ต้องโทรแจ้งอย่างน้อย 1 วันก่อนเดินทาง
- ทุกคนที่มีบัตรนี้สามารถรับประกันเดินทางครั้งแรกได้ แต่การที่คุณจะรักษาสิทธิความคุ้มครองครั้งต่อไป คุณต้องมียอดรูดบัตรที่ต่างประเทศอย่างน้อย 2 หมื่นบาท (สำหรับวีซ่าแพลตตินั่ม, ซิกเนเจอร์, อินฟินิท) หรือ 1 หมื่นบาท (สำหรับวีซ่าเดบิต, คลาสสิก, โกลด์)
- ประกันจากบัตรนี้มีระยะเวลาคุ้มครองเพียง 10 วันเท่านั้น หากคุณเดินทางไปต่างประเทศมากกว่า 10 วันละก็ ความคุ้มครองที่ให้มากับบัตรจะไม่ครอบคลุม
- ใครเหมาะกับบัตรนี้
- คนที่เดินทางระยะสั้น (ไปต่างประเทศไม่เกิน 10 วัน) และมีแผนที่จะรูดบัตรใช้จ่าย 1-2 หมื่นบาททุกทริป เพื่อรักษาสิทธิสำหรับทริปถัดไป
บัตร SCB Private Banking
- สิ่งที่คุ้มครอง
- คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 800,000 บาท
- ข้อควรรู้
- คุณต้องซื้อตั๋วเครื่องบินทั้งไปและกลับด้วยบัตรใบนี้
- ใครเหมาะกับบัตรนี้
- คนรวย (มาก) เพราะคนที่จะถือบัตรใบนี้ได้ต้องมีทรัพย์สิิน 50 ล้านบาทขึ้นไป!
บัตรเครดิตไหนที่คุ้มครองกระเป๋าเดินทางและเที่ยวบิน
บัตรเครดิตบางใบแถมเฉพาะความคุ้มครองกระเป๋าเดินทางและเครื่องบินล่าช้ามาด้วย บัตรเครดิตเหล่านี้มีอาทิ
บัตร Citi Cash Back Platinum & บัตร Citi Simplicity
- สิ่งที่คุ้มครอง
- เที่ยวบินล่าช้า – วงเงินสูงสุด 7,000 บาท
- กระเป๋าเดินทางล่าช้า – วงเงินสูงสุด 7,000 บาท
- กระเป๋าเดินทางสูญหาย – วงเงินสูงสุด 24,500 บาท
- ข้อควรรู้
- คุณต้องซื้อตั๋วเครื่องบินด้วยบัตรใบนี้
- ใครเหมาะกับบัตรใบนี้
- คนที่ไม่ต้องการความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย เพราะบัตรใบนี้คุ้มครองเรื่อง 1.กระเป๋าเดินทาง 2.เที่ยวบิน 3. เสียชีวิต เสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุเท่านั้น (พูดง่ายๆ ว่า หากคุณปวดหัวตัวร้อน ท้องเสีย ได้รับบาดเจ็บ หรือเจ็บป่วยทั่วไปก็จะไม่ได้รับความคุ้มครอง)
บัตร Citi Premier
- สิ่งที่คุ้มครอง
- เที่ยวบินล่าช้า – วงเงินสูงสุด 20,000 บาท
- กระเป๋าเดินทางล่าช้า – วงเงินสูงสุด 20,000 บาท
- กระเป๋าเดินทางสูญหาย – วงเงินสูงสุด 50,000 บาท
- สินค้าที่ซื้อผ่านบัตรสูญหายหรือเสียหายจากอุบัติเหตุภายใน 30 วัน – วงเงินสูงสุด 400,000 บาท/ครั้ง หรือ 120,000บาท/ชิ้น
- เงื่อนไข
- ต้องชำระตั๋วเครื่องบินด้วยบัตร
- ใครเหมาะกับบัตรใบนี้
- คนที่ไม่ต้องการความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย เพราะบัตรใบนี้คุ้มครองเรื่อง 1.กระเป๋าเดินทาง 2.เที่ยวบิน 3.เสียชีวิต เสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุเท่านั้น
บัตร Krungsri Exclusive Signature
- สิ่งที่คุ้มครอง
- เที่ยวบินล่าช้า – วงเงินสูงสุด 20,000 บาท
- กระเป๋าเดินทางล่าช้า – วงเงินสูงสุด 20,000 บาท
- เงื่อนไข
- ต้องชำระตั๋วเครื่องบินด้วยบัตร
- ใครเหมาะกับบัตรใบนี้
- คนที่เงินเดือนสูงหรือรวยประมาณหนึ่ง (เพราะคนที่จะถือบัตรใบนี้ได้ต้องมีเงินเดือนขั้นต่ำ 70,000 บาทหรือมีทรัพย์สิิน 5 ล้านบาทขึ้นไป)
- คนที่ไม่ต้องการความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย เพราะบัตรใบนี้คุ้มครองเรื่อง 1.กระเป๋าเดินทาง 2.เที่ยวบิน 3.เสียชีวิต เสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุเท่านั้น
บัตร UOB Privimiles
- สิ่งที่คุ้มครอง
- การพลาดต่อเที่ยวบิน – วงเงินสูงสุด 100,000 บาท
- กระเป๋าเดินทางล่าช้า – วงเงินสูงสุด 100,000 บาท
- กระเป๋าเดินทางสูญหาย – วงเงินสูงสุด 100,000 บาท
- เงื่อนไข
- ต้องชำระค่าโดยสารด้วยบัตร
- ต้องโทรแจ้งก่อนออกเดินทางอย่างน้อย 2 วันทำการ
- ใครเหมาะกับบัตรใบนี้
- คนที่ไม่ต้องการความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย เพราะบัตรใบนี้คุ้มครองเรื่อง 1.กระเป๋าเดินทาง 2.เที่ยวบิน 3.เสียชีวิต เสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุเท่านั้น
บัตร SCB Private Banking
- สิ่งที่คุ้มครอง
- ความล่าช้าของเที่ยวบิน – วงเงินสูงสุด 30,000 บาท
- กระเป๋าเดินทางล่าช้า – วงเงินสูงสุด 30,000 บาท
- กระเป๋าเดินทางสูญหาย – วงเงินสูงสุด 80,000 บาท (ไม่เกิน 5,000 บาท/ชิ้น/คู่/ชุด)
- บัตรใบนี้คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลด้วย ย้อนกลับไปอ่านด้านบน
- ข้อควรรู้
- คุณต้องซื้อตั๋วเครื่องบินทั้งไปและกลับด้วยบัตรใบนี้
- ใครเหมาะกับบัตรนี้
- คนรวย (มาก) เพราะคนที่จะถือบัตรใบนี้ได้ต้องมีทรัพย์สิิน 50 ล้านบาทขึ้นไป!
ทิ้งท้าย ก่อนไปเที่ยว
บัตรเครดิตบนโลกนี้ยังมีอีกมากเกินกว่าที่จะนำมาเขียนในบทความนี้ได้ ฉะนั้น หากรู้ว่าบัตรเครดิตที่ตัวเองมีมีประกันเดินทางต่างประเทศแถมมาด้วย ก็ต้องดูดีๆ ว่าประกันเดินทางที่ว่าครอบคลุม
- ค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยที่ต่างประเทศ
- กระเป๋าเดินทางล่าช้าหรือสูญหาย และเที่ยวบินล่าช้า
หรือไม่ โดยเฉพาะข้อ 1 ที่เป็นเรื่องสำคัญและประกันเดินทางที่แถมมากับบัตรเครดิตส่วนใหญ่ไม่ครอบคลุม
เที่ยวอย่างฉลาด ทำอย่างไร
- หากบัตรเครดิตของคุณคุ้มครองอุบัติเหตุอยู่แล้ว ก็ซื้อแค่ความคุ้มครองเจ็บป่วย-กระเป๋าเดินทาง-เที่ยวบินพอ เช็คราคาเบี้ยประกันเดินทางเสริมของซันเดย์ได้ที่ travel.easysunday.com
- หากบัตรเครดิตของคุณคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลอยู่แล้ว ก็ซื้อแค่ความคุ้มครองกระเป๋าเดินทางและเที่ยวบินเพิ่ม หรือหากบัตรเครดิตของคุณคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลอยู่แล้ว แต่วงเงินคุ้มครองน้อยเกินไป คุณก็ซื้อความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเพิ่มได้ เช็คราคาเบี้ยประกันเดินทางเสริมของซันเดย์ได้ที่ travel.easysunday.com
ทำไมประกันเดินทางซันเดย์จึงแตกต่าง
- แค่แผนประกันเริ่มต้นก็คุ้มครองครอบคลุมสิ่งจำเป็น – ตั้งแต่กระเป๋าหาย ชำรุด ไฟลท์ดีเลย์ เจ็บป่วย ราคาเริ่มต้นไม่ถึงร้อย เช็คราคาที่ travel.easysunday.com
- คิดราคาเบี้ยประกันตามจำนวนวันเดินทางจริง – ไม่ต้องจ่ายสำหรับวันที่ไม่ได้ไป
- เคลมค่าชดเชยอื่นๆ สะดวก – ผ่านเบอร์ฉุกเฉิน +66 2 026 3355 หรือ LINE @sundayclaim ได้ 24 ชั่วโมง