หน้าหลัก สาระสุขภาพ ยาฆ่าเชื้อกับยาแก้อักเสบต่างกันอย่างไร ใช้แทนกันได้ไหม?

ยาฆ่าเชื้อกับยาแก้อักเสบต่างกันอย่างไร ใช้แทนกันได้ไหม?

anti-inflammatory-vs-antibiotics

ยาฆ่าเชื้อ vs ยาแก้อักเสบ ต่างกันอย่างไร ซื้อกินเองได้ไหม?

ในยุคที่ปัญหาสุขภาพทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง การทำความเข้าใจ “ยารักษาโรค” จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะตัวยาอย่าง “ยาฆ่าเชื้อ” และ “ยาแก้อักเสบ” ที่ใครหลายคนยังสับสนถึงความแตกต่าง การใช้งาน รวมถึงผลข้างเคียงของการใช้งานที่ไม่ถูกต้อง

แล้ว “ยาฆ่าเชื้อ” ต่างกับ “ยาแก้อักเสบ” อย่างไร ซื้อกินเองได้ไหม มีเรื่องอะไรที่ต้องเข้าใจก่อนเลือกใช้ยาทั้ง 2 ตัวนี้บ้าง มาหาคำตอบไปพร้อมกันได้ในบทความนี้!


รู้จัก “ยาฆ่าเชื้อ” กันก่อน

ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotics) คือ กลุ่มของยาที่มีการออกฤทธิ์ต่อแบคทีเรียโดยเฉพาะ และไม่สามารถใช้เพื่อฆ่าเชื้อไวรัส หรือ เชื้อโรคจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้ 

ยาฆ่าเชื้อถือเป็นอีกหนึ่งยารักษาโรคที่สามารถใช้เพื่อรักษาโรคได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ ผิวหนัง และการติดเชื้ออื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย

กลุ่มยาฆ่าเชื้อ

โดยเบื้องต้นแล้ว ยาฆ่าเชื้อสามารถแบ่งได้เป็น 10 กลุ่มหลัก ซึ่งจะสามารถใช้รักษาโรคได้แตกต่างกัน ดังนี้

กลุ่มยาตัวอย่างยาโรคที่รักษา*
ยากลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillins)อะม็อกซิซิลลิน (Amoxicillin) และ แอมปิซิลลิน (Ampicillin)รักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ ทางเดินปัสสาวะ และผิวหนัง
ยากลุ่มเซฟาโลสปอริน (Cephalosporins)เซฟาโซลิน (Cefazolin) และ เซฟทราไซโอน (Ceftriaxone)
ยากลุ่มคาร์เบเพนม (Carbapenems)อิมิเปเนม (Imipenem) และ เมอโรเปเนม (Meropenem)ใช้รักษาการติดเชื้อที่รุนแรง เช่น การติดเชื้อในกระดูกและข้อ
ยากลุ่มอะมิโนกลัยโคไซด์ (Aminoglycosides)เจนตามัยซิน (Gentamicin) และอะมิคาซิน (Amikacin)
ยากลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolides)คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) และ อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin)ใช้รักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
ยากลุ่มฟลูโอโรควิโนโลน (Fluoroquinolones)ซีโปรฟลอซาซิน (Ciprofloxacin) และ เลโวฟลอซาซิน (Levofloxacin)ใช้รักษาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและระบบทางเดินหายใจ
ยากลุ่มเตตราไซคลีน (Tetracyclines)เตตราไซคลีน (Tetracycline) และดอกซีไซคลีน (Doxycycline)ใช้รักษาการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียหลายชนิด รวมถึงโรคผิวหนัง
ยากลุ่มซัลโฟนามายด์ (Sulfonamides)ซัลฟาไดอะซีน (Sulfadiazine) และ โค-ไตรม็อกซาโซล (Co-trimoxazole)ใช้ฆ่าเชื้อได้ครอบคลุมหลายชนิด
ยากลุ่มคลอแรมเฟนนิคอล (Chloramphenicol)คลอแรมเฟนนิคอล (Chloramphenicol)ใช้ในการรักษาการติดเชื้อที่รุนแรง เช่น โรคไข้ไทฟอยด์
ยากลุ่มไกลโคเปปไทด์ (Glycopeptides)แวนโคมัยซิน (Vancomycin)ใช้รักษาการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียแกรมบวกที่ดื้อยา

*เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาและเลือกใช้ยาฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพและชีวิต

กลไกการทำงานของยาฆ่าเชื้อ

โดยปกติแล้ว ยาฆ่าเชื้อจะมีกลไกในการฆ่า หรือ ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในหลากหลายรูปแบบ เช่น เข้าทำลายผนังเซลล์ของแบคทีเรีย หรือ ยับยั้งการสร้างโปรตีนที่จำเป็นต่อชีวิตของแบคทีเรียส่งผลให้แบคทีเรียไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ จนลดจำนวนและหายไปจากร่างกายในที่สุด

ยาฆ่าเชื้อใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง?

ยาฆ่าเชื้อจะถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากแบคทีเรียเท่านั้น เช่น โรคปอดบวม โรคติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะ โรคติดเชื้อที่ผิวหนัง และโรคที่เกิดจากแบคทีเรียอื่นๆ

อย่างไรก็ดี ยาฆ่าเชื้อจะไม่สามารถนำมาใช้รักษาโรคที่เกิดจากไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ หรือ ไวรัสโควิด-19 ได้ เนื่องจากยาฆ่าเชื้อเป็นยาที่ไม่มีฤทธิ์ต่อไวรัส ทำให้การรักษาโรคที่มาจากไวรัสจำเป็นต้องใช้ยาต้านไวรัสโดยเฉพาะ

ผลข้างเคียงของยาฆ่าเชื้อ

  1. ท้องเสีย ยาฆ่าเชื้อสามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เนื่องจากยาจะเข้าไปรบกวนสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ ส่งผลให้แบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ลดลงและเชื้อก่อโรคเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น อาการท้องเสียที่เกิดขึ้นอาจมีความรุนแรงตั้งแต่ไม่รุนแรงจนถึงมีไข้ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ หรือมีเลือดปนในอุจจาระ
  2. แพ้ยา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแพ้ยา เช่น ผื่นคัน อาการบวม หรือหายใจติดขัด ซึ่งในกรณีที่รุนแรงอาจเกิดอาการช็อกจากการแพ้ยาได้
  3. เชื้อดื้อยา การใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างไม่เหมาะสม หรือ หยุดยาก่อนครบกำหนด สามารถทำให้เกิดเชื้อดื้อยา ซึ่งหมายถึงการที่เชื้อแบคทีเรียกลายพันธุ์และไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาที่เคยใช้ได้ผล ทำให้การรักษาเป็นไปได้ยากขึ้น จึงเป็นเหตุว่าทำไมถึงไม่ควรซื้อยาฆ่าเชื้อกินเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกรก่อน
  4. โรคแทรกซ้อน ยาฆ่าเชื้อสามารถกำจัดแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ในลำไส้ ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น ลำไส้อักเสบ

ยาฆ่าเชื้อ ห้ามกินกับยาอะไร?

ห้ามรับประทานยาฆ่าเชื้อร่วมกับนม โยเกิร์ต และยาลดกรด เนื่องจากจะทำให้ดูดซึมยาฆ่าเชื้อได้น้อยลง จนระดับยาในเลือดไม่เพียงพอต่อการรักษา

เข้าใจ “ยาแก้อักเสบ” 

ยาแก้อักเสบ (Anti-inflammatory Drugs) คือ กลุ่มของยาที่ใช้ในการลดอาการอักเสบและบรรเทาอาการปวด ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น การบาดเจ็บ การติดเชื้อ หรือ โรคเรื้อรังอย่างโรคข้ออักเสบ 

กลุ่มยาแก้อักเสบ

โดยทั่วไปแล้ว ยาแก้อักเสบสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และ ยาสเตียรอยด์ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันตามรายละเอียด ดังนี้

  1. ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เป็นกลุ่มของยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและลดการอักเสบ ทำงานโดยการยับยั้งเอนไซม์ที่เรียกว่า “ไซโคลออกซีจีเนส” (Cyclooxygenase หรือ COX) ซึ่งมีบทบาทในการผลิตสารเคมีที่เรียกว่า “โปรสตาแกลนดิน” (Prostaglandins) ที่ทำให้เกิดอาการปวดและการอักเสบ

ตัวอย่างยา: ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) นาพรอกเซน (Naproxen) และไดคลอฟีแนค (Diclofenac)

  1. ยาสเตียรอยด์ เป็นฮอร์โมนที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายหรือผลิตขึ้นในห้องปฏิบัติการ ทำงานโดยการยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งช่วยลดระดับการอักเสบที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อโรคหรือการบาดเจ็บ นอกจากนี้ยังสามารถลดความไวของเซลล์ต่อสารเคมีที่ทำให้เกิดอาการอักเสบได้อีกด้วย

ตัวอย่างยา: เพรดนิโซน (Prednisone) คอร์ติโซน (Cortisone) และไฮโดรคอร์ติโซน (Hydrocortisone)

กลไกการทำงาน

ยาแก้อักเสบทำงานโดยการลดการผลิตสารเคมีในร่างกายที่ทำให้เกิดอาการอักเสบ เช่น โปรสตาแกลนดิน ซึ่งส่งผลให้ลดอาการปวด บวม และแดง นอกจากนี้ยังช่วยลดไข้ได้

ยาแก้อักเสบใช้รักษาโรคอะไรได้บ้าง?

ยาแก้อักเสบมักถูกใช้ในการรักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับอาการอักเสบ เช่น โรคข้ออักเสบ โรคนิ้วล็อก อาการปวดศีรษะ อาการปวดประจำเดือน และภาวะอื่นๆ ที่มีอาการอักเสบร่วมด้วย โดยไม่จำเป็นต้องมีการติดเชื้อแบคทีเรีย

ผลข้างเคียงของยาแก้อักเสบ

สำหรับใครที่สงสัยว่า ยาแก้อักเสบสามารถซื้อกินเองได้ไหม บอกเลยว่า “ไม่ควร” เนื่องจากหากใช้งานไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ โดยผลข้างเคียงของยาแก้อักเสบจะแตกต่างกันไปตามกลุ่มของยาแก้อักเสบ ดังนี้

  1. ยาต้านการอักเสบแบบไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ปัญหาทางเดินอาหาร อาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง แผลในกระเพาะอาหาร หรือเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร
  • ความดันโลหิตสูงในระยะยาว
  • ปัญหาเกี่ยวกับไต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ หรือ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตอยู่แล้ว
  1. ยาสเตียรอยด์
  • น้ำหนักเพิ่ม เนื่องจากตัวยาทำให้เกิดการเก็บน้ำ และ การเปลี่ยนแปลงของเมตาบอลิซึม
  • ความเสี่ยงในการติดเชื้อ เนื่องจากยาสเตียรอยด์สามารถกดภูมิคุ้มกัน ทำให้ผู้ใช้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • โรคกระดูกพรุน เพราะยาสเตียรอยด์สามารถทำให้กระดูกบางและเสี่ยงต่อการแตกหักได้ง่าย

ยาแก้อักเสบ ห้ามกินกับยาอะไร?

ห้ามรับประทานยาแก้อักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์กับยาต้านการแข็งตัวของเลือด ยาลดความดันโลหิต ยาต้านเศร้า และยาแก้อักเสบกลุ่มสเตียรอยด์ หากจำเป็นต้องรับประทานกลุ่มดังกล่าว หรือ มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ หรือ เภสัชกร เพื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อไป

ยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบ ใช้ร่วมกันได้หรือไม่?

ในกรณีที่การติดเชื้อแบคทีเรียที่มีอาการอักเสบร่วมด้วย แพทย์อาจลงความเห็นให้ใช้ยาฆ่าเชื้อร่วมกับยาแก้อักเสบ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในการรักษาที่ดีที่สุด 

อย่างไรก็ดี เนื่องจากยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบต่างมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ดังนั้น จึงไม่ควรซื้อยาทั้ง 2 ตัวมารับประทานร่วมกันด้วยตัวเอง แต่ต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์และเภสัชกร

และเพื่อช่วยความเสี่ยงของการใช้ยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบที่ไม่เหมาะสม หากเจ็บป่วย แต่ไม่สะดวกไปหาหมอเมื่อไหร่ ลูกค้าซันเดย์สามารถปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรที่ร้านขายยาในเครือ เพื่อใช้บริการ Walk-in Pharmarcy โดยไม่ต้องสำรองจ่าย และยังสามารถใช้บริการ Telemedicine หรือ บริการปรึกษาแพทย์ทางไกล และ บริการปรึกษาเภสัชกรออนไลน์ ผ่านระบบที่ได้รับการรับรองโดยสภาเภสัชกรรม พร้อมจัดส่งยารักษาที่เหมาะสมให้ถึงที่

แม้ไม่สะดวกเดินทาง ซันเดย์ก็พร้อมมอบประสบการณ์รักษาพยาบาลที่ตอบโจทย์ พร้อมรับยารักษาโรคที่เหมาะสม เพื่อการรักษาพยาบาลที่ตรงจุดและปลอดภัย

เลือกประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่ายที่มีวงเงิน OPD ครบทุกความคุ้มครอง พร้อมวงเงิน OPD สำหรับการพบแพทย์แบบผู้ป่วยนอก Walk-in Pharmacy และ Telemedicine

4 จุดเด่น บริการปรึกษาแพทย์ทางไกล telemedicine

เช็กเบี้ยง่ายๆ บนเว็บไซต์ของซันเดย์ ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิด” เท่านั้น


axa smartcare essential
Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

รู้จักไวรัส RSV โรคทางเดินหายใจในเด็ก อันตรายถึงชีวิต

โรค RSV คืออะไร สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง? ในช่วงที่อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ อย่างช่วงปลายฝนต้นหนาว…

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot
0
Share