Affiliate Marketing ทำแล้วรายได้ดีจริงไหม?
ด้วยภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน เชื่อว่าหลายๆ คนอาจกำลังมองหาช่องทางในการสร้างรายได้เสริมควบคู่ไปกับงานประจำ โดยการทำ “Affiliate Marketing” ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงโอกาสการสร้างรายได้กับแบรนด์ชั้นนำ รวมถึงแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่าง Shopee และ Lazada ได้เช่นกัน
แล้วการทำ Affiliate Marketing คืออะไร มีข้อดีและข้อเสียอย่างไร และ การทำ Affiliate Marketing ในประเทศไทยจำเป็นต้องคำนวณรายได้เพื่อเสียภาษีหรือไม่ มาไขทุกข้อสงสัย พร้อมปูพื้นฐานความเข้าใจเพื่อการเริ่มทำ Affiliate Marketing ที่ถูกต้องและสามารถสร้างรายรับได้จริงกัน
Affiliate Marketing คืออะไร?
Affiliate Marketing แปลตรงตัวว่า “การตลาดแบบพันธมิตร” คือ กลยุทธ์ที่ธุรกิจเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถแนะนำสินค้าและบริการของธุรกิจผ่านช่องทางต่างๆ ที่กำหนด เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย แอปพลิเคชัน หรือ ช่องทางที่เป็นไปตามเงื่อนไขของธุรกิจ
เมื่อนำสินค้าและบริการของธุรกิจไปแนะนำบนช่องทางต่างๆ แล้ว บุคคลทั่วไปจะมีสถานะเป็น “ผู้ทำการตลาด” (Affiliate) หรือสามารถเรียกว่า “ผู้แนะนำ” ได้เช่นกัน โดยเมื่อมีการซื้อสินค้าและบริการ หรือ มีผู้ทำตามเงื่อนไขที่ธุรกิจกำหนด เช่น การคลิกลิงก์ หรือ ดูคลิปจนครบเวลา ผู้ถูกแนะนำก็จะได้รับค่าตอบแทนในรูปแบบของ “ค่าคอมมิชชัน” เป็นรางวัล
Affiliate Marketing สร้างรายได้จากอะไร?
เชื่อว่าหลายๆ คนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า Affiliate Marketing นั้นใช้วิธีไหนในการคำนวณรายได้ หรือ แต่ละธุรกิจมีแนวคิดในการคำนวณรายได้ให้กับผู้แนะนำสินค้าและบริการอย่างไร โดยวิธีการสร้างรายได้จาก Affiliate Marketing ในปัจจุบันนี้จะแบ่งออกเป็น 3 วิธีหลัก ดังนี้
- Pay per Sale (PPS) คือ การทำ Affiliate Marketing ที่รับค่าคอมมิชชัน เมื่อมีการขายสินค้าได้จริง
- Pay per Lead (PPL) คือ การทำ Affiliate Marketing ที่ผู้แนะนำจะได้รับค่าตอบแทน เมื่อมีผู้ลงทะเบียน หรือ สมัครสมาชิก
- Pay per Click (PPC) คือ การทำ Affiliate Marketing ที่จะได้ค่าตอบแทน เมื่อมีการคลิกที่ลิงก์โปรโมท
Affiliate Marketing เริ่มทำยังไง?
โดยพื้นฐานแล้ว Affiliate Marketing สามารถเริ่มทำได้ง่ายๆ ใน 4 ขั้นตอน ดังนี้
- เลือกโปรแกรม Affiliate Marketing ที่สนใจ
ซึ่งนอกจากรายได้แล้ว คุณยังสามารถพิจารณาเลือก Affiliate Marketing ที่เหมาะกับตัวเองได้จากกลุ่มเป้าหมาย ความสนใจ ความเข้าใจที่มีต่อผลิตภัณฑ์ของธุรกิจ ไปจนถึงความปลอดภัยและความสะดวกของตัวเองได้
- สมัครเข้าร่วม Affiliate Marketing
โดยแต่ละธุรกิจจะมีเงื่อนไขในการสมัคร Affiliate Marketing ที่แตกต่างกันไป ทั้งในเรื่องของการสร้างรายได้ การถอนเงิน ไปจนถึงการแนะนำสินค้า ดังนั้น อย่าลืมศึกษารายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วนก่อนตัดสินใจสมัครด้วย
- เริ่มแนะนำสินค้าและบริการ
ไม่ว่าจะเป็นการทำคอนเทนต์ลงโซเชียลมีเดีย การโปรโมทบนเว็บไซต์ ไปจนถึงการแนะนำสินค้าในช่องทางที่ธุรกิจกำหนด ซึ่งก่อนแนะนำสินค้าและบริการ อย่าลืมศึกษาถึงแนวทางและข้อควรปฏิบัติที่ธุรกิจกำหนด เพื่อป้องกันการทำผิดกฎ จนทำให้ไม่สามารถสร้างรายได้ หรืออาจเสี่ยงโดนแบนจากธุรกิจ
- ติดตามผล
เมื่อแนะนำสินค้าและบริการอย่างถูกต้องตามที่ธุรกิจกำหนดแล้ว อย่าลืมติดตามผลลัพธ์และรายได้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้เพื่อวางแผนการนำเสนอใหม่ๆ เพื่อสร้างรายได้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Affiliate Marketing มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง?
ในปัจจุบันนี้ Affiliate Marketing ถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์การตลาดที่ได้รับความนิยมสูงในประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ต้องการสร้างรายได้เสริมจากการแนะนำสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์
ที่สำคัญ นอกจากจะเริ่มทำได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องลงทุนซื้อของมาขายแล้ว ผู้แนะนำผ่าน Affiliate Marketing ยังสามารถเริ่มแนะนำสินค้าและบริการได้อย่างสะดวก โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องสถานที่และเวลา ทำให้การทำ Affiliate Marketing ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีสร้างรายได้เสริมที่มีอิสระมากอีกวิธีหนึ่งเลยก็ว่าได้
อย่างไรก็ดี ถึงจะมีข้อดีในเรื่องของการสร้างรายได้ที่สะดวก มีความยืดหยุ่นในการทำงาน ทั้งยังไม่ต้องลงทุนซื้อของมาขายเหมือนการเริ่มธุรกิจสมัยก่อน แต่การทำ Affiliate Marketing ก็มีข้อควรระวังด้วยเช่นกัน
แน่นอนว่า ไม่ว่าจะเป็นการทำ Affiliate Marketing ในไทย หรือ ต่างประเทศ ด้วยค่าคอมสูง หรือ การสร้างผลตอบแทนที่มีประสิทธิภาพ จึงทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่า Affiliate Marketing เองก็จัดเป็นวิธีหารายได้เสริมที่มีการแข่งขันสูง ทำให้ผู้แนะนำจำเป็นที่จะต้องวางแผนการแนะนำสินค้าและบริการเพื่อสร้างรายได้ที่มีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน
นอกจากนี้ ผู้แนะนำยังควรศึกษาเงื่อนไขการสร้างรายได้ การถอนเงินออกมาใช้ เงื่อนไขการให้ผลตอบแทน ข้อบังคับในการแนะนำสินค้าและบริการ ไปจนถึงเงื่อนไขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ทำผิดกฎโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ตลอดจนเป็นการสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูลส่วนตัวและทรัพย์สินของตนเองในระหว่างการทำ Affiliate Marketing ด้วยเช่นกัน
ทำ Affiliate Marketing ในไทย ต้องเสียภาษีอย่างไร?
การทำ Affiliate Marketing ในประเทศไทย ถือเป็นการสร้างรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สามารถยื่นรายได้ผ่านเอกสาร ภ.ง.ด.90
ผู้แนะนำจะต้องยื่นภาษีเมื่อมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งในปัจจุบันนี้ ผู้ที่มีรายได้รวมจากทุกแหล่งที่เกิน 300,000 บาทต่อปี ซึ่งจะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท แต่หากเป็นพนักงานประจำและใช้สิทธิ์หักค่าใช้จ่าย 100,000 บาทแล้ว จะไม่สามารถใช้สิทธิ์นี้ได้อีก
ในบางกรณี รายได้จากการทำ Affiliate Marketing อาจมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายจากค่าคอมมิชชันที่ได้รับ โดยปกติแล้ว อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่ายจะอยู่ที่ 3% สำหรับค่าคอมมิชชันที่ได้รับจากการขายสินค้า ซึ่งผู้ที่จ่ายค่าคอมมิชชันจะต้องหักภาษีและส่งให้กับกรมสรรพากร
อย่างไรก็ดี เพื่อไม่ให้เป็นการพลาดรายละเอียดและเงื่อนไขทางภาษีที่เกี่ยวข้อง อย่าลืมติดต่อสอบถามไปยังธุรกิจ แพลตฟอร์ม หรือ องค์กรที่เปิด Affiliate Program เพื่อรับทราบเงื่อนไขและการเสียภาษีด้วยเช่นกัน
แนะนำ Affiliate Marketing เริ่มทำง่าย ค่าคอมสูง มือใหม่ก็ทำได้!
สำหรับใครที่ยังไม่ชัวร์ว่า Affiliate Marketing ที่น่าสนใจมีอะไรบ้าง และ มีโปรแกรมไหนที่ให้ผลตอบแทนสูงและเหมาะสำหรับมือใหม่บ้าง ลองมาดู 5 ไอเดียโปรแกรม Affiliate Marketing ที่น่าสนใจ ดังนี้
1. Shopee Affiliate Program
Shopee Affiliate Program คือ Affiliate Marketing ของ Shopee ที่เปิดโอกาสให้บุคคลธรรมดาสามารถสร้างรายได้จากการแนะนำสินค้าได้หลากหลายประเภท โดยค่าคอมมิชชันที่จะได้รับนั้นจะขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและแคมเปญโปรโมชันจากทาง Shopee เอง
การสมัครเข้าร่วม Shopee Affiliate Program สามารถทำได้ง่ายๆ เพียงลงทะเบียนเพื่อเป็น Affiliate จากนั้นสร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องและแชร์ลิงก์สินค้าที่ไม่ซ้ำกันผ่านช่องทางออนไลน์ของคุณ จะเป็นโซเชียลมีเดีย เว็บไซต์ หรือ แอปพลิเคชันก็ได้
โดยคุณสามารถติดตามผลลัพธ์ผ่านผ่านแดชบอร์ดหลังบ้าน ที่จะแสดงถึงข้อมูลการคลิก คำสั่งซื้อ และการคำนวณค่าคอมมิชชันที่คุณจะได้รับ ง่ายๆ เพียงเท่านี้ก็สามารถสร้างรายได้จาก Affiliate Marketing ของ Shopee ได้แล้ว
หากคุณเข้าร่วมกับ Shopee Affiliate Program อยู่แล้ว สามารถค้นหาร้านค้า Shopee Mall ของเรา Sunday Thailand Official แล้วแชร์เพื่อรับคอมมิชชันจากเราเลย
2. Lazada Affiliate Program
Lazada Affiliate Program เป็น Affiliate Marketing ของ Lazada ที่คุณสามารถสร้างรายได้จากค่าคอมมิชชันสูงสุดถึง 60% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าและแคมเปญโปรโมชันที่ Lazada เป็นผู้กำหนด
การสมัครเข้าร่วม Affiliate Marketing ของ Lazada สามารถทำได้จากทั้งการสมัครผ่าน Lazada เอง หรือ จะสมัครผ่านพาร์ทเนอร์อย่าง Involve Asia ก็ได้ ซึ่งหลังจากได้รับลิงก์สำหรับ Affiliate แล้ว คุณก็สามารถนำลิงก์ไปโปรโมทตามช่องทางต่างๆ เพื่อสร้างรายได้ โดยสามารถติดตามผลผ่านระบบแดชบอร์ดหลังบ้านได้เช่นกัน
3. TikTok Affiliate
ดูคลิปและปักตะกร้าอย่างเดียวว่าเพลินแล้ว แต่ดาว TikTok ยังสามารถสร้างรายได้จากการทำ TikTok Affiliate ได้เช่นกัน ง่ายๆ เพียงมีผู้ติดตามขั้นต่ำ 1,000 คน พร้อมสมัครลงทะเบียนผ่าน TikTok Shop หรือ ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน TikTok Seller จากนั้นยืนยันตัวตน เลือกสินค้าที่ต้องการแนะนำ เลือก Affiliate และกดลงวิดีโอ เท่านี้ก็รอติดตามรายได้จากการแนะนำสินค้าได้แล้ว
การทำ TikTok Affiliate ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสร้างรายได้ที่มีประสิทธิภาพ เนื่องจากคุณสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้ชมขนาดใหญ่ได้มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก และหากยิ่งทำคอนเทนต์ที่มีคุณภาพด้วยแล้ว ก็ยิ่งเพิ่มโอกาสสร้างรายได้มากขึ้นด้วยเช่นกัน
4. Sansiri Affiliate Program
Sansiri Affiliate Program เป็น Affiliate Marketing ที่บุคคลทั่วไปสามารถสร้างรายได้จากการแนะนำอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทแสนสิริ จำกัด (มหาชน) ได้ ซึ่งจะประกอบไปด้วยโครงการบ้านและคอนโดมิเนียมมากถึง 27 โครงการที่ครอบคลุมทุกระดับราคา
ผู้แนะนำของ Sansiri Affiliate Program มีโอกาสได้รับค่าตอบแทนสูงสุด 1 ล้านบาทต่อการขาย ทั้งยังเปิดโอกาสให้สามารถสร้างคอนเทนต์เพื่อดึงดูดกลุ่มเป้าหมายได้หลายแพลตฟอร์ม ซึ่งถือว่ามีอิสระในการทำงานและโอกาสในการสร้างรายได้ที่สูงมากเช่นกัน
5. Sunday Affiliate Program
สำหรับใครที่กำลังตามหา Affiliate Marketing ที่ให้ค่าคอมสูง Sunday Affiliate Program ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณไม่ควรพลาด
โดยคุณจะได้รับค่าแนะนำ 1,000 บาทต่อกรมธรรม์ เมื่อมีคนคลิกและซื้อประกันซันเดย์ผ่านลิงก์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น ประกันสุขภาพ ประกันโรคร้ายแรง ประกันรถยนต์ และ ประกันรถยนต์ไฟฟ้า (ดูเพิ่มเติม) ขอเพียงมีเบี้ยขั้นต่ำเพียง 10,000 บาทหลังจากหักส่วนลดแล้ว และต้องถือกรมธรรม์ให้ครบ 30 วัน เท่านี้ก็สามารถรับค่าแนะนำจากซันเดย์ได้แล้ว
สมัครง่ายๆ เพียงคุณอายุ 20 ปีขึ้นไป และ ไม่ได้มีใบอนุญาตนายหน้า หรือ ตัวแทนประกันภัยจากที่ไหน ก็สามารถสมัครเข้าร่วมโปรแกรมและรับค่าแนะนำจากซันเดย์ได้ในทันที ที่สำคัญ คุณยังสามารถติดตามผลการแนะนำ เงื่อนไขและข้อกำหนด รวมถึงรายได้จากการแนะนำประกันซันเดย์ได้อย่างสะดวกผ่านระบบแดชบอร์ดหลังบ้านด้วย
แนะนำแผนประกันซันเดย์น่าแชร์
หมวดประกันสุขภาพซันเดย์
หมวดประกันรถยนต์
หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังมองหา Affiliate Marketing ที่ให้ค่าคอมสูง และ มีคุณสมบัติครบ อย่าลืมมาสมัครเข้าร่วม Sunday Affiliate Program เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างรายได้เสริมด้วย ทำง่ายๆ อยู่บ้าน หรือ อยู่ที่ไหนก็ทำได้
เกี่ยวกับซันเดย์
ซันเดย์ คือ ผู้นำด้านเทคโนโลยีอินชัวร์เทคสัญชาติไทย ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2560 ด้วยเป้าหมายที่จะพลิกโฉมวงการประกันภัย ให้สะดวกและเข้าถึงง่าย ด้วยการนำเสนอโซลูชันครบวงจรผ่านพันธมิตรและช่องทางการจัดจำหน่ายเฉพาะ พร้อมให้บริการประกันภัยด้วยแพลตฟอร์มขายและบริการแบบครบวงจร โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการประกันภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับความเสี่ยงส่วนบุคคล ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Vertex Ventures เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดีย, Quona Capital, Tencent, SCB 10X, Z Ventures, Vertex Growth, Aflac Ventures, OSK-SBI และ KSK Ventures
เรียนรู้เกี่ยวกับ “ซันเดย์” เพิ่มเติมที่นี่