หน้าหลัก สาระสุขภาพ ‘ไข้หวัดใหญ่’ รู้ก่อน ป้องกันไว ลดโอกาสเสียชีวิตได้จริง

‘ไข้หวัดใหญ่’ รู้ก่อน ป้องกันไว ลดโอกาสเสียชีวิตได้จริง

ไข้หวัดใหญ่ รู้ก่อน ป้องกันไว ลดโอกาสเสียชีวิตได้จริง

แม้จะดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ แต่ โรคภัยไข้เจ็บ ก็สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคภัยไข้เจ็บที่มาจากเชื้อไวรัสอย่าง ‘ไข้หวัดใหญ่’ ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับเด็กและผู้ใหญ่ 

ด้วยอาการที่คล้ายคลึงกับไข้หวัดทั่วไป คนส่วนใหญ่จึงมักชะล่าใจและเชื่อว่า ไข้หวัดใหญ่ เป็นเพียงโรคไข้หวัดธรรมดาเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรคไข้หวัดใหญ่ สามารถทวีความรุนแรง พร้อมก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจำนวนมาก จนเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียชีวิตได้เช่นกัน

ดังนั้น เพื่อช่วยให้ทุกคนรู้เท่าทันถึงอันตรายจากไข้หวัดใหญ่ที่แฝงตัวอยู่โดยรอบ ลองมาทำความรู้จักทุกรายละเอียดของโรค อาการต่างๆ พร้อมแนวทางการป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพในบทความนี้กัน

รู้ทันไข้หวัดใหญ่ก่อนสายเกินไป

รู้จัก ‘ไข้หวัดใหญ่’ กันก่อน

ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) คือ โรคที่มีการติดเชื้อไวรัส Influenza ในระบบทางเดินหายใจ เริ่มตั้งแต่จมูก ลำคอ และลึกไปยังปอด โดยผู้ป่วยสามารถแพร่กระจายไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ผ่านการไอ จาม รวมถึงการสัมผัสโดนเสมหะ น้ำมูก และของเสียอื่น ๆ ที่ขับออกมาจากร่างกาย

โดยทั่วไปแล้ว ไวรัส Influenza จะลอยตัวอยู่ในอากาศ เมื่อสูดหายใจนำเชื้อเข้าไป ไวรัส Influenza จะฝังตัวและเพิ่มจำนวนเซลล์ที่เยื่อบุทางเดินหายใจ จากนั้นจึงแพร่กระจายไปยังระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ และทำให้เกิดอาการป่วยภายใน 18 – 72 ชั่วโมง หรือ 1 – 3 วันหลังจากได้รับเชื้อ

โดยส่วนใหญ่แล้ว ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่พบได้บ่อยในช่วงฤดูฝน (ปลายพฤษภาคม – ต้นพฤศจิกายน) และ ช่วงฤดูหนาว (ปลายเดือนธันวาคม – มีนาคม) ทั้งยังสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งเด็กเล็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ


Q&A Sunday ตอบให้!

Q: ไข้หวัดใหญ่ต่างจากไข้หวัดทั่วไปอย่างไร?
A: คนส่วนใหญ่มักเข้าใจว่า ไข้หวัดใหญ่เป็นหนึ่งในอาการไข้หวัดธรรมดาเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไข้หวัดใหญ่เกิดขึ้นจากเชื้อไวรัส Influenza ในขณะที่ไข้หวัดทั่วไปจะเป็นการติดเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ อย่าง Rhinovirus และ Adenovirus ซึ่งหากเปรียบเทียบแล้ว ไข้หวัดใหญ่ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Influenza จะมีความรุนแรงมากกว่าไข้หวัดทั่วไป ทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มากกว่าอีกด้วย

อาการและภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่

อาการของโรคไข้หวัดใหญ่เบื้องต้น

อาการไข้หวัดในเด็กจะมีความแตกต่างจากอาการไข้หวัดในผู้ใหญ่เล็กน้อย ดังนี้

  • อาการในเด็กเล็ก : มีไข้สูง และ ความผิดปกติในระบบอื่น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว ชัก
  • อาการในวัยรุ่น : มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามตัว หนาวสั่น เจ็บคอ มีน้ำมูก ไอ มีเสมหะ บางรายอาจมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย
  • อาการในผู้ใหญ่ : มีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัวและศีรษะ เหงื่อออก เจ็บคอและไอแห้ง มีเสมหะ มีน้ำมูก บางรายอาจมีอาการหายใจถี่ ปวดตา เวียนศีรษะ และเหงื่อออกร่วมด้วย 

ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่

แม้จะพบได้น้อย แต่ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากไข้หวัดใหญ่ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน โดยส่วนมากแล้ว ภาวะแทรกซ้อนที่พบจะประกอบไปด้วย

  • การอักเสบที่ระบบทางเดินหายใจ (พบได้บ่อย) เช่น ปอดอักเสบ ไซนัสอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ
  • การอักเสบที่ระบบหัวใจ (พบได้น้อย) เช่น กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
  • การอักเสบที่ระบบประสาท (พบได้น้อย) เช่น สมองอักเสบ ปลายประสาทอักเสบ

อันตรายและกลุ่มเสี่ยงโรคไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่สามารถทวีความรุนแรง ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยงดังต่อไปนี้

  1. เด็กเล็ก อายุ 6 เดือน – 2 ปี
  2. ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  3. ผู้ที่อยู่ในช่วงตั้งครรภ์
  4. ผู้ที่มีภาวะโรคอ้วน หรือ มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัมขึ้นไป
  5. ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคหอบหืด โรคเลือด ธาลัสซีเมีย เบาหวาน โรคตับ โรคไต 
  6. ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับหัวใจ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ และ โรคหัวใจพิการ
  7. ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับสมอง เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต และ โรคลมชัก
  8. ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด ถุงลมโป่งพอง  
  9. ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น โรคเอดส์ โรคมะเร็ง รวมไปถึง ผู้ที่อยู่ในช่วงรักษาด้วยเคมีบำบัด 
ไข้หวัดใหญ่มีกี่สายพันธุ์-อันตรายแค่ไหน

ไข้หวัดใหญ่มีกี่สายพันธุ์ แตกต่างกันอย่างไร?

ในปีค.ศ. 1993 ได้มีการแยกเชื้อไข้หวัดใหญ่เป็นครั้งแรก พร้อมมีการพัฒนาวัคซีนป้องกันมาอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันนี้ได้พัฒนาออกมาเป็น Quadrivalent Influenza Vaccine หรือ วัคซีนที่สามารถป้องกันไวรัสไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ ดังนี้

สายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่คืออะไรความรุนแรงและอาการ
1. สายพันธุ์ A /H1N1ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ หรือ สายพันธุ์ A / H1N1 เกิดจากการผสมสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จากคน หมู และนก 
ใครหลายคนอาจรู้จักไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ H1N1 ในชื่อของไข้หวัดหมูและไข้หวัดสเปน
หากสงสัยว่า ไข้หวัดสายพันธุ์ A อันตรายไหม 
ขอตอบได้เลยว่า ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่นี้มีอาการและความรุนแรงเทียบเท่ากับไข้หวัดใหญ่ทั่วไป แต่กลุ่มเสี่ยงอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้เช่นกัน
2. สายพันธุ์ A / H3N2ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A / H3N2 หรือเป็นที่รู้จักในชื่อของ ‘ไข้หวัดฮ่องกง’ ถือเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ร้ายแรงที่คร่าชีวิตผู้ป่วยไปมากถึง 4 ล้านคนมีอาการคล้ายคลึงกับการติดเชื้อ COVID-19 เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามร่างกาย ไอ จาม มีน้ำมูกและเสมหะ บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสียร่วมด้วย
3 และ 4
สายพันธุ์ B – Victoria และ B – Yamagata
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B ทั้ง Victoria และ Yamagata เป็นไวรัสที่มักระบาดในช่วงฤดูหนาว หรือ ตั้งแต่เดือนธันวาคมไปจนถึงมีนาคมโดยทั่วไปแล้ว การติดเชื้อไข้หวัดสายพันธุ์ B จะมีอาการที่รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์ A 
นอกจากนี้ ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ B มีอัตราการพบได้น้อยกว่าสายพันธุ์ A โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี

อย่างไรก็ดี สายพันธุ์ของไข้หวัดใหญ่ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่ 4 สายพันธุ์นี้เท่านั้น แต่ในอดีต เชื้อไวรัสไข้หวัดยังครอบคลุมไปถึง ‘ไข้หวัดนก’ (H5N1) และ ‘Asian Flu’ (H2N2) ซึ่งเป็นไวรัสสายพันธุ์ย่อยในไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A อีกที


นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบกันแล้ว ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมและกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่บ่อยกว่าสายพันธุ์ B เนื่องจากไวรัสสายพันธุ์ A เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อกับสัตว์ต่าง ๆ ได้ ในขณะที่สายพันธุ์ B จะมีการติดต่อและแพร่เชื้อในมนุษย์เท่านั้น

ป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างไร

7 วิธีดูแลตัวเองขณะที่เป็นไข้หวัดใหญ่

โดยส่วนมากแล้ว หากไม่ได้เป็นกลุ่มเสี่ยงข้างต้น ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่สามารถหายเองได้ โดยในระหว่างที่เป็นไข้หวัดใหญ่ ขอแนะนำให้ดูแลตัวเอง ดังนี้

  1. ใช้ยารักษาตามอาการ เช่น ลดไข้ด้วยพาราเซตตามอล ยาลดน้ำมูก ยาละลายเสมหะ ยาแก้ไอ แต่ควรหลีกเลี่ยงยาลดไข้กลุ่มยาแอสไพริน หรือพบแพทย์เพื่อรับยาฆ่าเชื้อไวรัส ยาลดอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) และยาที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
  2. เช็ดตัวด้วยน้ำอุ่น หรือ น้ำธรรมดา เพื่อลดไข้
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ งดทำกิจกรรมหนัก และออกกำลังกาย
  4. รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เน้นให้ครบ 5 หมู่ 
  5. ดื่มน้ำให้มาก ๆ และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
  6. หลีกเลี่ยงการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ผู้มีภูมิต้านทานต่ำ กลุ่มเสี่ยงข้างต้น หรือ หากจำเป็นจริง ๆ ควรใส่หน้ากากอนามัยและล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส
  7. หากมีอาการผิดปกติ เช่น ไข้สูงต่อเนื่อง 2 – 3 วัน มีอาการหายใจลำบาก หน้ามืด แน่นหน้าอก หรือ โรคประจำตัวกำเริบหนัก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้

6 วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่หลายคนยังไม่รู้

ไข้หวัดใหญ่ รู้ก่อน ป้องกันไว ลดโอกาสเสียชีวิตได้จริง

ไม่ว่าจะเป็นจนหายแล้ว หรือ ยังไม่เคยเป็นมาก่อน การป้องกันตัวเองเอาไว้ก็สามารถช่วยลดโอกาสติดเชื้อและความเสี่ยงที่จะเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้เช่นกัน โดยทุกคนสามารถป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากไข้หวัดใหญ่ง่าย ๆ ดังนี้

  1. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์ หรือ น้ำเปล่าและสบู่
  2. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ รวมไปถึงการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
  3. ใช้ช้อนกลาง และ ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
  4. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
  5. หลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่แออัด พื้นที่เสี่ยง หรือ หากจำเป็น ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  6. ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อลดความรุนแรงและความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตจากโรคไข้หวัดใหญ่ 
Q&A Sunday ตอบให้!

Q: ฉีดวัคซีนแล้ว ทำไมยังเป็นไข้หวัดใหญ่อยู่?
A: การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่สามารถ ‘ลดความรุนแรงและความเสี่ยงในการเสียชีวิต’ จากโรคไข้หวัดใหญ่ได้แบบปีต่อปีเท่านั้น โดยหลังจากฉีดวัคซีน ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาภายใน 2 สัปดาห์ โดยหากครบกำหนด 1 ปีแล้วต้องรีบไปฉีดวัคซีนเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไป

จบลงไปแล้วกับทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ ตั้งแต่อาการไข้หวัดในเด็กและผู้ใหญ่ รวมไปถึงสายพันธุ์ของไวรัส ตลอดจนแนวทางการดูแลตัวเองเบื้องต้นและวิธีป้องกันไข้หวัดอย่างมีประสิทธิภาพ

แม้จะเป็นโรคที่สามารถหายเองได้ แต่การรักษาไข้หวัดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุม ไม่เพียงแต่จะต้องใช้ความเชี่ยวชาญของแพทย์เท่านั้น แต่บางเคสยังจำเป็นต้องใช้ เครื่องมือและยารักษาเฉพาะ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงเช่นกัน 

ด้วยเหตุนี้ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรงควบคู่ไปกับทำ ประกันสุขภาพออนไลน์ จาก Sunday จึงไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันไข้หวัดใหญ่เท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณและคนที่รักเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย เคลมสะดวกผ่านแอปฯ อนุมัติไว* ติดตามสถานะการเคลมได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง พร้อมเพิ่มโอกาสเข้าถึงการรักษาจากโรงพยาบาลชั้นนำ เพื่อการรักษาโรคไข้หวัดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพ


Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เช็กลิสต์ 10 วิธีดูแลสุขภาพให้ดีทั้งกายและใจ ใคร ๆ ก็ทำได้

สุขภาพดีที่สร้างได้จาก 10 วิธีการดูแลตัวเองเหล่านี้ อยากมีสุขภาพดี แต่ไม่รู้จะเริ่มจากตรงไหน…
how to take care your self

รู้จักไวรัส RSV โรคทางเดินหายใจในเด็ก อันตรายถึงชีวิต

โรค RSV คืออะไร สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง? ในช่วงที่อากาศเริ่มเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ อย่างช่วงปลายฝนต้นหนาว…

นอนเยอะแต่เหมือนนอนไม่พอ คุณอาจจะเป็นโรคนอนเกิน!

นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ อาจเป็นโรคนอนเกินได้นะ! มีใครเคยเป็นบ้าง นอนเต็ม 8 ชั่วโมงก็แล้ว 12 ชั่วโมงก็แล้ว…
oversleeping-symptoms-feeling-tired-despite-sleeping-a-lot
0
Share