หน้าหลัก เรื่องราวรอบตัว รีวิว 1 ดาวโดนฟ้องได้ไหม รีวิวยังไงให้ไม่โดนฟ้อง?

รีวิว 1 ดาวโดนฟ้องได้ไหม รีวิวยังไงให้ไม่โดนฟ้อง?

review-and-lawsuit-for-defamation

สรุป! กฎหมายการรีวิวในไทย พร้อมเข้าใจวิธีรีวิวยังไงไม่ให้โดนฟ้อง

ก่อนจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการใดๆ ในปัจจุบันนี้ เชื่อว่าใครๆ ก็ต้อง “อ่านรีวิวของผู้ใช้จริง” เป็นอันดับแรก ซึ่งหลายครั้งกลับพบว่า มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่รีวิวสินค้าตามความเป็นจริง หรือให้รีวิว 1 ดาวตามประสบการณ์ที่ได้รับจากการซื้อสินค้า แต่กลับโดนเจ้าของธุรกิจฟ้องกลับด้วยความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งมีโทษตั้งแต่ปรับไปจนถึงจำคุก

โดยจากข้อมูลของสำนักงานกฎหมายในประเทศไทย พบว่ามีการฟ้องร้องจากการรีวิวเชิงลบเกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะเมื่อมีการรีวิวที่ไม่เป็นความจริง หรือ มีเนื้อหาทำให้เสียชื่อเสียง ซึ่งอาจทำให้ผู้รีวิวต้องถูกดำเนินการทางกฎหมายได้

แล้วผู้บริโภคจะรีวิวยังไงไม่ให้โดนฟ้อง ควรเลือกพูดความจริงอย่างไรให้ปลอดภัยกับตัวเองมากที่สุด มาดูสรุปกฎหมายการรีวิวในประเทศไทยที่นำมาฝากในบทความนี้กัน

กฎหมายที่เกี่ยวกับการรีวิวสินค้าในประเทศไทย

ในประเทศไทย การรีวิวสินค้าและบริการนั้นอยู่การกระทำที่อยู่ภายใต้กฎหมายหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และกฎหมายแพ่งเกี่ยวกับการหมิ่นประมาท ซึ่งโดยส่วนมากแล้ว กฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวกับการรีวิวสินค้ามากที่สุดจะมีด้วยกัน 3 มาตราหลัก ดังนี้

1. มาตรา 423 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 423 ของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ว่า การกล่าวหา หรือ เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง ซึ่งทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงถือเป็นการหมิ่นประมาท จะต้องชดใช้ค่าเสียหาย

แต่หากข้อความดังกล่าวเป็นความจริง จะไม่ถือเป็นการละเมิดมาตรา 423 แต่หากทำให้เสียหายแก่สิทธิของบุคคลอื่น จะเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 420 ที่ระบุให้ผู้ที่จงใจ หรือ ประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย และทำให้เสียสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็จะต้องโทษชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

2. มาตรา 326 ของประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 326 ของประมวลกฎหมายอาญากำหนดไว้ว่า หากผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม จนทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือ ถูกเกลียดชัง ก็จะมีความผิดฐานหมิ่นประมาท มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

3. มาตรา 328 ของประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 328 ของประมวลกฎหมายอาญากำหนดไว้ว่า หากผู้ใดหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาผ่านสื่อหรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพ ตัวอักษร แผ่นเสียง หรือ สิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือ บันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

แล้วรีวิวแบบไหนถึงไม่ผิดกฎหมายการรีวิว?

จากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรีวิวข้างต้น เชื่อว่าหลายๆ คนคงสงสัยไม่น้อยว่า หากต้องการรีวิวสินค้าและบริการตามความเป็นจริง ควรจะต้องรีวิวอย่างไรให้เหมาะสม โดยคำตอบ คือ ผู้รีวิวจะต้องแสดงความคิดเห็นต่อสินค้าและบริการอย่างเหมาะสมตามมาตรา 329 ของประมวลกฎหมายอาญานั่นเอง

มาตรา 329 ของประมวลกฎหมายอาญา

มาตรา 329 ของประมวลกฎหมายอาญาเป็นข้อกฎหมายที่กำหนดบุคคลต้องแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต หรือ พูดง่ายๆ คือ ผู้รีวิวจะต้องรีวิวสินค้าและบริการตามเงื่อนไข 5 ข้อ คือ

  1. รีวิวด้วยความสุจริต เป็นธรรม และเป็นประโยชน์กับประชาชน
  2. ไม่รีวิวด้วยจุดประสงค์ที่ต้องการโจมตี หรือ ทำลายชื่อเสียง  
  3. ไม่รีวิวโดยมุ่งแต่จะหาข้อเสีย หรือ ความผิดพลาด โดยปราศจากการพิจารณาถึงข้อดี
  4. ไม่รีวิวในแง่ลบ เนื่องจากรับเงินจากบุคคลอื่นให้มาสร้างความเสื่อมเสีย
  5. หากต้องการแสดงความคิดเห็น ควรเลือกใช้คำที่แสดงให้เห็นว่าเป็นความคิดเห็นของเราเพียงคนเดียว

รีวิว 1 ดาวโดนฟ้องได้ไหม เขียนรีวิวอย่างไรให้ถูกกฎหมาย?

หากตัวบทกฎหมายข้างต้นทำให้หลายๆ คนรู้สึกสับสน ลองมาดูสรุป 6 เรื่องที่ต้องใส่ใจหากต้องการเขียนรีวิวให้เหมาะสมและถูกกฎหมายกัน โดยทั้ง 6 เรื่องที่ต้องพิจารณาให้ดีตอนเขียนรีวิวสินค้าและบริการจะประกอบไปด้วย

  1. รีวิวโดยใช้ถ้อยทำที่เหมาะสม ไม่ใช้ถ้อยคำที่รุนแรง ด่าทอ ใส่อารมณ์ หรือ เหน็บแนม
  2. รีวิวจากการใช้หรือประสบการณ์ที่ได้รับจริง และการรีวิวต้องเขียนให้เป็นประโยชน์กับผู้อื่น
  3. ไม่รีวิวเพื่อโจมตี ทำลายชื่อเสียง หรือ สร้างความเสื่อมเสียให้กับสินค้า บริการ หรือ ธุรกิจ
  4. รีวิวต่อตัวสินค้าและบริการโดยตรง ไม่รีวิวตัวบุคคลหรือบริษัทในทางเสียหาย
  5. เลือกใช้คำที่แสดงให้เห็นว่า การรีวิวดังกล่าวเป็นความคิดเห็นของเราคนเดียว
  6. หากต้องการรีวิวเตือนภัย ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าและบริการนั้นๆ สร้างความเสียหายให้กับเราจริง เช่น หากใช้สกินแคร์แล้วแพ้ ให้ตรวจสอบกับผู้เกี่ยวข้องให้แน่ใจก่อน ไม่ว่าจะเป็นตรวจกับแพทย์และมีใบรับรองแพทย์มายืนยัน ส่งสินค้าตรวจกับทางสคบ. หรือ ดำเนินการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง

เท่านี้ก็เข้าใจกฎหมายการรีวิว ตลอดจนการเขียนรีวิวที่เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมายแล้ว อย่าลืมนำไปปรับใช้ในการรีวิวสินค้าและบริการ เพื่อให้สามารถรีวิวได้ตามความเป็นจริง เหมาะสม เป็นประโยชน์ต่อบุคคลอื่น และไม่เสี่ยงโดนฟ้องด้วย


หากคุณเป็นอีกคนที่ชอบบอกต่อสิ่งดีๆ ให้กับคนรอบข้าง ตลอดจนเข้าใจการรีวิวที่เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมาย ก็สามารถสมัครแนะนำประกันผ่าน Sunday Affiliate Program พร้อมรับค่าแนะนำ 1,000 บาทต่อกรมธรรม์ เมื่อมีคนกดซื้อประกันจากลิงก์เฉพาะของคุณ ถือกรมธรรม์ครบ 30 วัน และคุณก็ต้องรีวิวตามเงื่อนไขที่กำหนดอย่างถูกต้องด้วย

สมัคร Sunday Affiliate Program ง่ายๆ วันนี้ เพียงอายุ 20 ปีขึ้นไป และ ไม่มีใบอนุญาตตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยทุกประเภท ก็สมัครสร้างรายได้จากการแนะนำประกันได้แล้ว

*โปรดอ่านเงื่อนไขและข้อกำหนดให้ครบถ้วนก่อนสมัครและทำการแนะนำ

sunday affiliate

เปิดตัว Sunday Affiliate Program สร้างรายได้จากการแนะนำประกันซันเดย์

แนะนำแผนประกันซันเดย์น่าแชร์

หมวดประกันสุขภาพซันเดย์


หมวดประกันรถยนต์

แผนประกันรถยนต์

หากคุณเป็นอีกคนที่กำลังมองหา Affiliate Marketing ที่ให้ค่าคอมสูง และ มีคุณสมบัติครบ อย่าลืมมาสมัครเข้าร่วม Sunday Affiliate Program เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างรายได้เสริมด้วย ทำง่ายๆ อยู่บ้าน หรือ อยู่ที่ไหนก็ทำได้

สมัครเลย!

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

เปิด 5 ประเทศปลูกชามากที่สุดในโลก ใช่ประเทศที่คิดไหม?

เจาะลึกประเภทชาจากประเทศที่ปลูกชาได้มากที่สุดในโลก ชาร้อน ๆ สักแก้ว หรือจะเป็นชาเขียวเย็น ๆ สักขวดระหว่างวัน…
top-5-tea-producing-countries-in-the-world

ชอบชาเขียวต้องอ่าน! ประโยชน์ของชาเขียว และการดื่มที่ถูกต้อง

รู้จักกับประวัติชาเขียว เครื่องดื่มสุดฮิตที่หลายคนหลงรัก ชาเขียวหรือ Ryokucha ( 緑茶 )…
green-tea-benefits-and-how-to-drink-correctly
0
Share