hero-image

รถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี เลือกอย่างไรให้เหมาะกับเรา?

การซื้อรถยนต์สักคันให้ตอบโจทย์จำเป็นต้องคิดให้รอบคอบ เช่นเดียวกับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้าคันแรกที่จำเป็นต้องพิจารณาให้รอบด้าน มากกว่าแค่ศึกษาว่ารถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี 

หลังจากที่ทำความรู้จักทุกรายละเอียดเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้าในบทความที่แล้ว ใครหลายคนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่าควรจะเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าอย่างไรให้ตอบโจทย์ชีวิตอย่างครอบคลุมมากที่สุด หากยังไม่รู้จะเริ่มจากจุดไหน มาเริ่มต้นพิจารณาจาก 5 เช็กลิสต์ที่นำมาฝากในบทความนี้กัน

รถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี-เลือกอย่างไรให้เหมาะกับเรา

1. สำรวจไลฟ์สไตล์ของตัวเองก่อน

เช็กลิสต์ช่วยซื้อรถยนต์ไฟฟ้าได้ตรงใจ

เมื่อเริ่มสนใจรถยนต์ไฟฟ้า ใครหลายคนมักเริ่มต้นศึกษาก่อนว่ารถยนต์ไฟฟ้าควรซื้อยี่ห้อไหนดี มีรุ่นไหนที่กำลังได้รับความนิยม หรือตอนนี้มีรถยนต์ค่ายใดที่กำลังติดชาร์จยอดขายรถไฟฟ้าสูงสุดในไทยบ้าง

แม้จะไม่ใช่เรื่องที่ผิด แต่หากอยากประหยัดเวลาในการศึกษารถยนต์ไฟฟ้าแต่ละรุ่นอีกสักนิด แทนที่จะโฟกัสไปยังข้อมูลเฉพาะของรถยนต์ไฟฟ้าที่สนใจ ขอแนะนำให้ลองกลับมาสำรวจไลฟ์สไตล์ที่สอดคล้องกับการใช้งานรถยนต์กันก่อน

ไม่ว่าจะเป็นจุดประสงค์สำหรับการใช้งาน ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่ต้องการ เส้นทางที่ใช้งานเป็นประจำ พื้นที่อยู่อาศัย รวมไปถึงประสบการณ์การดูแลรถยนต์และนิสัยการขับขี่ของตนเอง

สำหรับใครที่กำลังมองหารถยนต์ไฟฟ้าใช้งานในครอบครัว มีการเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยใช้ทางด่วนเป็นประจำ เน้นตอบโจทย์ตั้งแต่การท่องเที่ยว ไปทำงาน ส่งลูกไปโรงเรียน รวมไปถึงการใช้งานทั่วไปในชีวิตประจำวัน การเลือกรถยนต์ไฟฟ้าขนาดกลาง หรือ ขนาดใหญ่ อาจเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์มากกว่ารถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก

แต่สำหรับใครที่เน้นการใช้งานส่วนตัว ชอบความคล่องตัวในการเดินทาง และต้องการรถยนต์ที่สามารถจอดได้อย่างสะดวกในทุกพื้นที่ การเลือกใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็กก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ควรค่าแก่ศึกษาและพิจารณารายละเอียดเพิ่มขึ้น

ที่สำคัญ นอกจากจุดประสงค์การใช้งานและไลฟ์สไตล์ของตนเองแล้ว ผู้ที่สนใจซื้อรถยนต์ไฟฟ้ายังควรสำรวจจุดชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในพื้นที่ใกล้ตัว รวมถึงเส้นทางที่ใช้งานเป็นประจำด้วย 

ลองคิดดูง่าย ๆ หากเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาแล้ว แต่พื้นที่ใกล้ตัวไม่มีจุดชาร์จให้บริการอยู่เลย แม้จะสามารถกลับมาชาร์จที่บ้านได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่าคงรู้สึกไม่สะดวกอยู่ไม่น้อย หรือ หากวันใดลืมชาร์จรถยนต์เอาไว้แล้วพื้นที่โดยรอบไม่มีจุดชาร์จอยู่เลย ระหว่างการเดินทางก็คงรู้สึกหวั่นใจเช่นกัน

ดังนั้น หากไม่อยากแบกรับความรู้สึกไม่สบายใจระหว่างการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม อย่าลืมสำรวจไลฟ์สไตล์ จุดประสงค์การใช้งาน รวมถึงจุดชาร์จให้บริการในพื้นที่โดยรอบให้ดีด้วย


2. ตรวจสอบเงื่อนไขการรับประกันรถยนต์

เลือกรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี

หลังจากสำรวจไลฟ์สไตล์ จุดประสงค์การใช้งาน ไปจนถึงบริการจุดชาร์จในทุกพื้นที่ใกล้ตัวแล้ว หากยังรู้สึกว่า รถยนต์ไฟฟ้ายังเป็นทางเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างครอบคลุม ลองเขยิบมาพิจารณากันต่อเลยว่า รถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อไหนดีและเหมาะกับตัวเราบ้าง

การพิจารณาในส่วนนี้ ไม่เพียงแต่จะต้องศึกษาถึงประเภทรถยนต์ไฟฟ้าแต่ละค่าย สมรรถนะการขับขี่ ไปจนถึงข้อดีและข้อเสียของรถยนต์แต่ละรุ่นเท่านั้น แต่ว่าที่เจ้าของรถยนต์ทุกคนยังควรศึกษาเงื่อนไขการรับประกันรถยนต์ให้รอบคอบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการรับประกันที่เกี่ยวข้องกับอะไหล่ชิ้นสำคัญ การซ่อมแซมและซ่อมบำรุง ไปจนถึงเงื่อนไขการใช้งานที่อยู่ภายใต้การรับประกัน

การตรวจสอบเงื่อนไขการรับประกันอย่างละเอียดถี่ถ้วนนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นการรักษาสิทธิประโยชน์ของเจ้าของรถยนต์เท่านั้น แต่ยังถือเป็นการช่วยลดปัญหาและข้อพิพาทด้านค่าใช้จ่ายที่จะตามมาจากการซ่อมบำรุง ปัญหาจากตำหนิของรถยนต์เอง รวมไปถึงการเปลี่ยนอะไหล่ที่มีมูลค่าสูงในอนาคต


3. เช็กรีวิวของผู้ใช้งานจริงร่วมด้วย

เช็กรีวิวของผู้ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้า

เมื่อก้าวขาเข้าไปยังศูนย์รถยนต์ไฟฟ้าที่สนใจ แน่นอนว่าใคร ๆ ก็ย่อมรู้สึกอุ่นใจและมั่นใจมากยิ่งขึ้น ทั้งจากการได้ทดลองขับ ไปจนถึงการนำเสนอข้อมูลที่ครบถ้วน ทั้งยังมีโอกาสได้รับสิทธิพิเศษและโปรโมชันจากการซื้อรถยนต์

แต่ก่อนที่จะตัดสินใจจองรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นไหนไป ขอแนะนำให้ลองไปศึกษาข้อมูลจากผู้ใช้งานจริงเพิ่มเติม เพื่อเป็นการรับข้อมูลมาพิจารณาอย่างรอบด้าน ทั้งยังเป็นการศึกษาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับรถยนต์ไฟฟ้าด้วยเช่นกัน

นอกจากความคิดเห็นเชิงบวกเกี่ยวกับตัวรถยนต์แล้ว อย่าลืมศึกษาความคิดเห็นเชิงลบ ทั้งประสบการณ์การใช้งาน บริการหลังการขาย ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาทั้งหมด ไปจนถึงอาการเสียหายที่เกิดขึ้นได้บ่อย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกรณีฉุกเฉิน เป็นตัวช่วยคำนวณค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงจากการใช้งานจริง ตลอดจนเป็นการเปิดมุมมองใหม่ ๆ เพื่อพิจารณาเลือกซื้อรถยนต์ไฟฟ้าที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์และการใช้งานมากที่สุด


4. ตรวจสอบศูนย์ให้บริการรถยนต์

ตรวจสอบศูนย์ให้บริการรถยนต์

สำหรับใครที่ศึกษารีวิวจากผู้ใช้งานรถยนต์ EV ในไทยอย่างรอบด้าน พร้อมตัดสินใจได้แล้วว่าจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี ก่อนจะตัดสินใจเดินทางไปซื้อรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นที่สนใจ ขอแนะนำให้ใช้เวลาตรวจสอบอีกสักนิดว่า รถยนต์ไฟฟ้าค่ายที่สนใจมีศูนย์ให้บริการครอบคลุมมากแค่ไหนกัน

นอกจากพื้นที่อยู่อาศัยและเส้นทางที่ต้องสัญจรประจำแล้ว อย่าลืมตรวจสอบศูนย์ให้บริการในแต่ละพื้นที่ รวมไปถึงประสิทธิภาพของบริการฉุกเฉินของรถยนต์แต่ละค่ายในทุกพื้นที่ทั่วไทยด้วย

ลองคิดดูง่าย ๆ หากรถยนต์เสียกลางทาง เกิดเหตุฉุกเฉินในยามดึก หรือมีปัญหาขัดข้องในพื้นที่ต่างจังหวัด การมีศูนย์บริการ บริการฉุกเฉิน รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญด้านรถยนต์ไฟฟ้าในทุกพื้นที่คอยให้ความช่วยเหลือก็สามารถช่วยให้รู้สึกอุ่นใจในทุกการเดินทางเช่นกัน


5. วางแผนการเงินให้รอบคอบ

รถยนต์-EV-ในไทยยี่ห้อไหนน่าใช้บ้าง

หลังจากที่พิจารณาทุกรายละเอียดอย่างถี่ถ้วน จนสามารถตัดสินใจเลือกได้แล้วว่าควรซื้อรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อไหนดี อย่าลืมวางแผนการเงินเตรียมความพร้อมเอาไว้ด้วย

ไม่เพียงแต่จะต้องวางแผนการเงินสำหรับการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนจัดเตรียมเอกสารเพื่อกู้ยืมเงินเท่านั้น แต่ว่าที่เจ้าของรถยนต์ยังควรวางแผนการเงินเอาไว้สำหรับการบำรุงรักษา การติดตั้งแท่นชาร์จ ค่าใช้จ่ายในสำหรับการชาร์จรถยนต์ ไปจนถึงซ่อมแซมรถยนต์ในอนาคตด้วย

รถยนต์ไฟฟ้ามาพร้อมกับค่าบำรุงรักษาและการซ่อมแซมที่มีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งอะไหล่ยังหายาก มีราคาสูงมาก แถมบางชิ้นยังต้องใช้เวลาในการสั่งผลิตและส่งมาจากต่างประเทศ​ 

แน่นอนว่าหากต้องทิ้งรถยนต์เอาไว้ที่อู่ซ่อมก็ย่อมมีค่าเสียเวลาจากการรออะไหล่รถยนต์ และหากยิ่งต้องผ่อนรถยนต์ด้วยแล้วก็จะมีอัตราดอกเบี้ยที่ต้องแบกรับในขณะที่ต้องจอดรถยนต์ทิ้งไว้รอซ่อมเฉย ๆ ด้วยเช่นกัน 

ที่สำคัญ รถยนต์ไฟฟ้ายังจำเป็นต้องใช้ประกันรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะมีค่าเบี้ยประกันที่สูงกว่าประกันรถยนต์ทั่วไป ทั้งยังมีเงื่อนไขความคุ้มครองที่แตกต่างกันหลายจุด ทำให้เจ้าของรถยนต์จำเป็นที่จะต้องวางแผนให้รอบคอบด้วยเช่นกัน

ดังนั้น หากไม่วางแผนการเงินให้ครอบคลุมเอาไว้ตั้งแต่แรก หรือ เตรียมเงินไว้สำหรับแค่ค่ารถยนต์และอุปกรณ์จำเป็นเพียงอย่างเดียว ในอนาคตหากจำเป็นต้องซ่อมแซมรถยนต์ หรือ ต้องเปลี่ยนอะไหล่ขึ้นมา อาจทำให้สภาพคล่องทางการเงินมีปัญหาในอนาคตได้


รวมรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมราคาขายในประเทศไทย

Toyota bZ4X

  • Toyota bZ4X AWD ราคาอยู่ที่ 1,836,000 บาท

Nissan Leaf

  • Nissan Leaf ราคาอยู่ที่ 959,000 บาท

Lexus UX 300e

  • Lexus UX 300e ราคาอยู่ที่ 3,490,000 บาท

Tesla Model 3

  • Tesla Model 3 Rear-Wheel Drive ราคาอยู่ที่ 1,759,000 บาท
  • Tesla Model 3 Long Range ราคาอยู่ที่ 1,999,000 บาท
  • Tesla Model 3 Performance ราคาอยู่ที่ 2,309,000 บาท

Tesla Model Y

  • Tesla Model Y Rear-Wheel Drive ราคาอยู่ที่ 1,959,000 บาท
  • Tesla Model Y Long Range AWD ราคาอยู่ที่ 2,259,000 บาท
  • Tesla Model Y Performance ราคาอยู่ที่ 2,509,000 บาท

BYD Atto 3

  • BYD Atto 3 Standard Range ราคาอยู่ที่ 1,099,900 บาท
  • BYD Atto 3 Extended Range ราคาอยู่ที่ 1,199,900 บาท

BYD T3 และ M3

  • BYD T3 ราคาอยู่ที่ 990,000 บาท 
  • BYD M3 รถไฟฟ้า 5 ที่นั่งราคาอยู่ที่ 1,059,000 บาท
  • BYD M3 รถไฟฟ้า 7 ที่นั่งราคาอยู่ที่ 1,089,000 บาท

BYD e6

  • BYD e6 ราคาอยู่ที่ 1,390,000 บาท

Volt City EV

  • Volt City EV รุ่น FOR-TWO (3 ประตู 2 ที่นั่ง) รถยนต์ไฟฟ้า ราคาอยู่ที่ 325,000 บาท
  • Volt City EV รุ่น VOLT FOR-FOUR (5 ประตู 4 ที่นั่ง) รถยนต์ไฟฟ้า ราคาอยู่ที่ 385,000 บาท

MG MG4 EV

  • MG 4 Electric D ราคาอยู่ที่ 869,000 บาท
  • MG 4 Electric X ราคาอยู่ที่ 969,000 บาท

Wuling Hongguang MINI EV

  • Wuling Hongguang MINI EV ราคาอยู่ที่ 369,000 บาท

POCCO

  • POCCO รุ่น DD L ราคาอยู่ที่ 389,000 บาท
  • POCCO รุ่น DD K ราคาอยู่ที่ 449,000 บาท

Fomm ONE

  • Fomm ONE ราคาอยู่ที่ 499,000 บาท

NETA V

  • NETA V ราคาอยู่ที่ 549,000 บาท

ORA Good Cat

  • ORA Good Cat 400 Tech ราคาอยู่ที่ 763,000 บาท
  • ORA Good Cat 400 Pro ราคาอยู่ที่ 828,500 บาท
  • ORA Good Cat 500 Ultra ราคาอยู่ที่ 959,500 บาท

ORA Good Cat GT

  • ORA Good Cat GT ราคาอยู่ที่ 1,286,000 บาท

MG EP

  • MG EP รุ่น Standard ราคาอยู่ที่ 761,000 บาท
  • MG EP PLUS ราคาอยู่ที่ 771,000 บาท

MG ZS EV

  • NEW MG ZS EV D ราคาอยู่ที่ 949,000 บาท 
  • NEW MG ZS EV X ราคาอยู่ที่ 1,023,000 บาท

MINI Cooper SE

  • MINI Cooper SE ราคาอยู่ที่ 2,290,000 บาท 

Lexus UX 300e

  • Lexus UX 300e ราคาอยู่ที่ 3,490,000 บาท

Jaguar i-PACE

  • i-PACE AWD S ราคาอยู่ที่ 5,500,000 บาท
  • i-PACE AWD SE ราคาอยู่ที่ 6,000,000 บาท
  • i-PACE AWD HSE ราคาอยู่ที่ 6,500,000 บาท

Audi e-tron GT Audi e-tron GT

  • Audi e-tron GT quattro ราคาอยู่ที่ 6,390,000 บาท
  • Audi e-tron GT quattro Performance ราคาอยู่ที่ 6,790,000 บาท

Volvo XC40 Recharge Pure Electric

  • Volvo XC40 Recharge Pure Electric ราคาอยู่ที่ 2,590,000 บาท

Volvo C40 Recharge Pure Electric

  • Volvo C40 Recharge Pure Electric ราคาอยู่ที่ 2,750,000 บาท

BMW iX3 EV

  • BMW iX3 ราคาอยู่ที่ 3,399,000 บาท

Mercedes-Benz EQS 450+

  • Mercedes-Benz EQS 450+ AMG Premium ราคาอยู่ที่ 8,570,000 บาท
  • Mercedes-Benz EQS 450+ Edition 1 ราคาอยู่ที่ 8,870,000 บาท

BMW i4

  • BMW i4 eDrive40 M Sport ราคาอยู่ที่ 4,499,000 บาท
  • BMW i4 M50 ราคาอยู่ที่ 4,999,000

จบลงไปแล้วกับ 5 เช็กลิสต์ และรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นต่างๆ ที่มีวางขายในไทย ช่วยให้ทุกคนสามารถตัดสินใจได้ว่าควรซื้อรถยนต์ไฟฟ้ายี่ห้อไหนดีให้ตอบโจทย์กับความต้องการ การใช้งาน และไลฟ์สไตล์ได้ครบทุกด้านมากที่สุด รู้แบบนี้แล้วก็อย่าลืมนำทั้ง 5 เช็กลิสต์นี้ไปพิจารณาและปรับใช้ให้เหมาะสมกับความต้องการของตัวเองด้วย

นอกจากการพิจารณาตัวรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว อย่าลืมศึกษาเงื่อนไขสำหรับประกันรถยนต์ไฟฟ้าเอาไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อเป็นการทำความเข้าใจเงื่อนไขการคุ้มครองในกรณีฉุกเฉิน พร้อมเป็นการวางแผนค่าใช้จ่ายไปในตัวด้วย 


อยากรู้ว่ารถยนต์ไฟฟ้าแต่ละประเภทควรใช้ประกันรถยนต์ไฟฟ้าแบบใด การขับขี่ในแต่ละพื้นที่ทำให้เบี้ยประกันรถยนต์แตกต่างได้มากถึงขนาดไหน ทดลองออกแบบความคุ้มครอง สร้างแผนประกันภัยที่ใช่ในเบี้ยประกันที่เหมาะสมได้เลยที่ https://retail.easysunday.com/th/sunday-car-insurance-ev