หน้าหลัก สาระสุขภาพ 5 สาเหตุมะเร็งปอดใกล้ตัว แต่หลายคนไม่รู้!

5 สาเหตุมะเร็งปอดใกล้ตัว แต่หลายคนไม่รู้!

5-causes-of-lung-cancer

โรคมะเร็งปอดที่หลายคนมองข้าม!

มะเร็งปอด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้ป่วยมะเร็งทั่วโลก ทั้งยังเป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทยด้วยเช่นกัน โดยสาเหตุของมะเร็งปอดไม่ได้มีเพียงแค่การสูบบุหรี่ หรือ รับสารพิษที่ปะปนอยู่ในอากาศอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังมีอีก 5 สาเหตุโรคมะเร็งปอดและโรคปอดอักเสบที่หลายคนยังไม่รู้เช่นกัน

ดังนั้น เพื่อช่วยให้รับมือกับความเสี่ยงโรคมะเร็งปอดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วันนี้ลองมาทำความรู้จักกับ 5 สาเหตุหลักของมะเร็งปอดในบทความนี้ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณและคนที่รักเป็นหนึ่งใน 17,222 คนที่เป็นผู้ป่วยใหม่ของโรคมะเร็งปอดในแต่ละปีกัน

5 สาเหตุต่อไปนี้อาจช่วยให้คุณใส่ใจดูแลตัวเองได้ดียิ่งขึ้น


1. การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง

การทำงานในอุตสาหกรรมที่มีสารก่อมะเร็ง เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการเกิดมะเร็งปอด โดยสารเคมีบางชนิด เช่น ฝุ่นจากการทำเหมืองและการผลิตวัสดุก่อสร้าง รวมไปถึงสารเคมีในอุตสาหกรรมเคมีต่างๆ ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เซลล์ในระบบทางเดินหายใจแปรสภาพเป็นเซลล์มะเร็งได้ 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ เช่น เหล็กและนิกเกิล การผลิตและขนส่งน้ำมัน อุตสาหกรรมเคมีและพลาสติก และอุตสาหกรรมการผลิตยาสูบ ล้วนมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปอดได้สูง 

หากคุณเป็นอีกคนที่ต้องทำงานในอุตสาหกรรมดังกล่าว นอกจากจะงดการสูบบุหรี่ที่เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดแล้ว อย่าลืมเข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและการใช้มาตรการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารพิษอย่างต่อเนื่องด้วย

2. ควันบุหรี่มือสอง

แม้จะไม่ได้สูบบุหรี่โดยตรง แต่หากอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ หรือ ได้รับควันบุหรี่จากผู้อื่น แน่นอนว่าคุณก็ได้รับสารพิษจากบุหรี่ หรือ เรียกได้ว่ารับ “ควันบุหรี่มือสอง” จากผู้อื่นมาเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งควันบุหรี่มือสองเองก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญในการเกิดโรคมะเร็งปอดด้วยเช่นกัน

ควันบุหรี่มือสองนี้ มาพร้อมกับสารก่อมะเร็งหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเบนซีน ฟอร์มาลดีไฮด์ และสารตะกั่ว ซึ่งสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเซลล์ทางเดินหายใจและนำไปสู่การเป็นมะเร็งปอดได้

ดังนั้น เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการรับควันบุหรี่มือสอง การสร้างพื้นที่ปลอดบุหรี่ โดยเฉพาะในบ้าน ที่ทำงาน รวมถึงที่สาธารณะ จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ทั้งนี้เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีให้กับตนเอง คนรอบข้าง พร้อมช่วยลดความเสี่ยงที่จะได้รับควันบุหรี่มือสองและสารตกค้างในบุหรี่ด้วยเช่นกัน


บุหรี่ไฟฟ้า vs. บุหรี่มวน สูบแบบไหนอันตรายกว่ากัน? อ่านต่อที่นี่

บุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่มวน

3. มีประวัติเคยผ่านการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งมาก่อน

ผู้ที่เคยได้รับการรักษาด้วยการฉายรังสีเพื่อรักษามะเร็งในส่วนอื่นๆ ของร่างกาย มีความเสี่ยงสูงที่เซลล์ส่วนอื่นๆ จะพัฒนาเป็นเซลล์มะเร็งได้ในภายหลัง ทั้งนี้เป็นเพราะแสงรังสีสามารถทำลายเซลล์และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้เช่นกัน

ด้วยเหตุนี้ เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปอด รวมถึงมะเร็งในส่วนอื่นๆ ผู้ที่เคยผ่านการฉายรังสีมาแล้วจึงควรตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเฝ้าระวังความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้


4. Family Cancer Syndromes

Family Cancer Syndromes หรือ โรคมะเร็งที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ เป็นอีกหนึ่งสาเหตุของมะเร็งปอดที่หลายคนยังไม่รู้ 

โดยหากคนในครอบครัว รวมถึงวงศ์ตระกูลมีประวัติในการเป็นโรคมะเร็งมาก่อน โดยเฉพาะญาติสายตรง เช่น พ่อ แม่ พี่ หรือ น้อง แน่นอนว่าก็ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่คุณจะเป็นมะเร็งด้วยเช่นกัน 

โดยนอกจากจะตรวจสอบประวัติของครอบครัวและวงศ์ตระกูลโดยละเอียด เพื่อเฝ้าระวังความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดแล้ว ในปัจจุบันนี้โรงพยาบาลชั้นนำหลายแห่งยังมีบริการตรวจสอบพันธุกรรม หรือ ตรวจยีนมะเร็งที่มีมาตั้งแต่กำเนิด เพื่อเป็นตัวช่วยวางแผนดูแลสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

5. สภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นละอองพิษ

มลพิษในอากาศ ทั้งจากควันรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม การเผาไหม้ ไปจนถึงฝุ่น PM 2.5 ขนาดเล็กจิ๋ว ล้วนเป็นสาเหตุที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งปอดได้ เนื่องจากสารต่างๆ ที่ซ่อนตัวอยู่ในอากาศเหล่านี้สามารถเข้าไปสร้างความเสียหายให้กับเซลล์ระบบทางเดินหายใจ รวมถึงเซลล์ปอด จนเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอดได้ในที่สุด

ดังนั้น เพื่อลดความเสี่ยงที่มลพิษในอากาศจะเข้ามาสร้างความเสียหายให้กับเซลล์และระบบทางเดินหายใจ ขอแนะนำให้หลีกเลี่ยงกิจกรรมกลางแจ้งในวันที่มีคุณภาพอากาศไม่ดี และใช้หน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็น นอกจากนี้ การติดตั้งเครื่องฟอกอากาศภายในบ้านก็สามารถช่วยกรองฝุ่นละอองและสารพิษต่างๆ ได้เช่นกัน

เช็กให้ดี! มะเร็งปอดมีอาการเป็นอย่างไร?

หลังจากที่เข้าใจสาเหตุของโรคมะเร็งปอดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เชื่อว่าหลายๆ คนคงสงสัยอยู่ไม่น้อยว่า มะเร็งปอดจะแสดงอาการในแต่ละระยะอย่างไร และจะมีวิธีสังเกตด้วยตนเองอย่างไรบ้าง

โดยเบื้องต้น มะเร็งปอดจะแสดงอาการในระยะเริ่มแรกในรูปแบบของการไอเรื้อรังเป็นระยะเวลาต่อเนื่องและยาวนาน จากนั้นจึงเริ่มมีอาการหายใจหอบ ถี่ หรือ มีเสียงหวีดปนด้วย หลังจากนั้นอาจร้ายแรงขึ้น โดยมีอาการไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือ ปวดบวมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายเกิดขึ้น

อย่างไรก็ดี หากเริ่มรู้สึกไม่สบายตัว หรือ มีความผิดปกติเกิดขึ้น แม้จะเล็กน้อยแค่ไหน ควรรีบไปพบแพทย์ในทันที ทั้งนี้เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด วางแผนการรักษาที่เหมาะสม รวมถึงช่วยรักษาชีวิตและคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตต่อไป

ประกันโรคร้ายแรงออนไลน์ของซันเดย์ดีไหม แผนไหนดี?

มะเร็งปอดเสี่ยงกว่าที่คิด ให้ซันเดย์ช่วยวางแผนรับมือตั้งแต่วันนี้

มะเร็งปอด เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายแรงที่มีความซับซ้อน มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายกว่ามะเร็งชนิดอื่น ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงมาก เนื่องจากต้องใช้แพทย์และเครื่องมือในการรักษาเฉพาะ

ด้วยเหตุนี้ การทำประกันสุขภาพที่ให้ความคุ้มครองด้านการรักษาโรคมะเร็งด้วย จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดีๆ ที่จะช่วยบริหารความเสี่ยงด้านการเงินที่มาจากการรักษาโรคมะเร็งปอดได้ โดยคุณไม่ต้องนำเงินเก็บ หรือ เงินสำหรับเป้าหมายอื่นๆ ในชีวิตมาเสียไปกับการรักษาพยาบาลที่มีค่าใช้จ่ายมหาศาล

ซันเดย์ มาพร้อมกับประกันสุขภาพ IPD เหมาจ่ายที่ให้ความคุ้มครองด้านการรักษาโรคมะเร็งสูงถึง 250,000 บาทต่อปีกรมธรรม์* ทั้งยังมาพร้อมกับประกันสุขภาพโรคร้ายแรง “เจอ จ่าย จริง” ให้คุณได้รับความคุ้มครองจากการเจ็บป่วยด้วย 1 ใน 22 โรคร้ายแรง 

สามารถเช็กเบี้ยและความคุ้มครองที่เหมาะสมกับตัวเองได้ง่ายๆ ที่เว็บไซต์ของซันเดย์ ใช้แค่ “วันเดือนปีเกิด” เท่านั้น ไม่ต้องกรอกข้อมูลติดต่อให้ลำบากใจ

*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทกำหนด

**ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจรายละเอียด ความคุ้มครอง และเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง

ประกัน mti care for kids

Tip Cancer Plus
Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

หนาวนี้ ดูแลตัวเองยังไงให้ห่างไกลจากโรคที่มากับหน้าหนาว

ระวังโรคช่วงหน้าหนาว พร้อมวิธีดูแลสุขภาพช่วงอากาศเปลี่ยน เผลอแปปเดียวก็จะสิ้นปีอีกแล้ว ช่วงใกล้หน้าหนาวแบบนี้…
winter-health-tips-prevent-cold-season-illnesses

ยาฆ่าเชื้อกับยาแก้อักเสบต่างกันอย่างไร ใช้แทนกันได้ไหม?

ยาฆ่าเชื้อ vs ยาแก้อักเสบ ต่างกันอย่างไร ซื้อกินเองได้ไหม? ในยุคที่ปัญหาสุขภาพทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง…
anti-inflammatory-vs-antibiotics

ข้าวเหนียวมะม่วง กี่แคล? กินยังไงให้พอดี หุ่นไม่พัง!

ข้าวเหนียวมะม่วง กินยังไงให้ไม่เสียสุขภาพ ข้าวเหนียวมะม่วงเป็นหนึ่งในของหวานที่ใครหลาย ๆ…
how-to-enjoy-mango-sticky-rice-without-ruining-your-diet

5 วิธี ปรับชีวิตออนไลน์ให้เกิดเวิร์คไลฟ์บาลานซ์?

Work Life Balance คืออะไร? แล้วเราจะสร้างมันได้อย่างไร? คนวัยทำงานคงคุ้นหูกันดีกับคำว่า Work Life Balance…
5-tips-for-work-life-balance-in-digital-age
0
Share