หน้าหลัก รู้ทันประกันสุขภาพ 3 ประเด็นสำคัญ ช่วยให้การเลือกซื้อและเปรียบเทียบประกันสุขภาพเป็นเรื่องง่าย

3 ประเด็นสำคัญ ช่วยให้การเลือกซื้อและเปรียบเทียบประกันสุขภาพเป็นเรื่องง่าย

3-ประเด็นสำคัญขการเลือกซื้อประกันสุขภาพ

การเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ ต้องเริ่มดูที่ตรงไหน” เชื่อว่าเป็นอีกหนึ่งคำถามที่ใครหลายคนสงสัยอยู่ไม่น้อยเมื่อชีวิตจำเป็นต้องเริ่มบริหารความเสี่ยงด้วยการซื้อประกันสุขภาพสักกรมธรรม์

ไม่เพียงแต่จะต้องรู้จักว่าประกันสุขภาพมีกี่แบบ ไปจนถึงการเสาะหาคำตอบให้กับคำถามที่ว่าประกันสุขภาพที่ไหนดีเท่านั้น แต่การเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ยังต้องอาศัยความเข้าใจอย่างรอบด้าน จนสามารถเปรียบเทียบประกันสุขภาพแต่ละกรมธรรม์ได้ด้วยตัวเองเช่นกัน

มาปูพื้นฐานสู่การเลือกซื้อประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์กับ 3 ประเด็นสำคัญที่นำมาฝากในบทความนี้ เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจเหตุและผลของการซื้อประกันสุขภาพ ไปจนถึงวิธีเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับตัวเองมากที่สุดกัน

ประกันสุขภาพจำเป็นไหม-ลองชั่งน้ำหนัก-2-สิ่งนี้

ประเด็นที่ 1: ประกันสุขภาพจำเป็นแค่ไหน?

จุดประสงค์ของการทำประกันสุขภาพ คือ การมองหาตัวช่วยบริหารความเสี่ยงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่คาดเดาได้ยาก เพราะในบางครั้งอาการเจ็บป่วยเพียงเล็กน้อยก็สามารถลุกลามกลายเป็นโรคร้ายที่มีค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สูงได้

จุดประสงค์ของการทำประกันสุขภาพในจุดนี้เป็นเรื่องที่หลายคนทราบ ไม่ว่าจะอ่านบทความจากที่ไหนก็ล้วนเน้นย้ำถึงความบริหารความเสี่ยงของการทำประกันสุขภาพอยู่แล้ว แต่เชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่สงสัยเหมือนกันว่า ประกันสุขภาพยังจำเป็นอยู่หรือไม่หากดูแลสุขภาพเพียงพอ หรือ จะมีโอกาสเสี่ยงที่โรคร้ายจะเกิดขึ้นกับตัวเราแค่ไหนกันเชียว

คำตอบของคำถามเหล่านี้คงจำกัดอยู่ที่ ‘ความไม่แน่นอนของอนาคต’ ที่มาพร้อมกับ ‘ความเสี่ยงที่มองไม่เห็น’

ดังนั้น ความจำเป็นของการทำประกันสุขภาพจึงไม่ได้อยู่ที่การเข้าใจจุดประสงค์การทำประกันสุขภาพเพียงอย่างเดียว แต่อยู่ที่ความพร้อมของตัวเองในการรับมือกับ ‘ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่มาพร้อมกับอนาคตที่ไม่แน่นอน’

สำหรับใครที่ไม่มั่นใจว่าจะซื้อประกันสุขภาพที่ไหนดี หรือ ยังรู้สึกสองจิตสองใจถึงความจำเป็นของประกันสุขภาพ ขอแนะนำให้ลองถามตัวเองถึง ‘ความพร้อม’ ต่อ ‘การรับมือความเสี่ยงในอนาคต’ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความพร้อมด้านการเงินที่เพียงพอต่อการรักษาพยาบาล

วิธีเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสม

ประเด็นที่ 2 : การเลือกซื้อประกันสุขภาพจำเป็นต้องเข้าใจอะไรบ้าง?

หลังจากที่พิจารณาถึงความจำเป็นของประกันสุขภาพของตนเองเรียบร้อย ในส่วนนี้ลองมาดูวิธีเลือกประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับตัวเองกัน

หลาย ๆ คนมักเคยได้ยินว่า หากไม่แน่ใจว่าประกันสุขภาพที่ไหนดี ให้ลองนำกรมธรรม์มาเปรียบเทียบกันดู แล้วให้เลือกอันที่รู้สึกว่าเข้ากับไลฟ์สไตล์ หรือ สอดคล้องกับสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองมากที่สุด

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเปรียบเทียบประกันสุขภาพที่เหมาะสม นอกจากจะดูถึงงบประมาณที่ตนเองมีแล้ว ยังควรพิจารณาไปถึงความคุ้มครองที่จะได้รับในหลากหลายส่วน จากนั้นจึงเลือกความคุ้มครองที่เมคเซนส์ในเบี้ยประกันที่เหมาะสม

สำหรับใครที่เป็นมือใหม่หัดซื้อประกันสุขภาพ หรือ เป็นคนที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ แต่ยังสงสัยว่าควรจะซื้อประกันสุขภาพพ่อแม่ที่ไหนดีถึงจะคุ้มครองครบถ้วน ลองมาจับจุดการเลือกซื้อประกันสุขภาพที่คุ้มค่ากับ 2 เรื่องที่ต้องเข้าใจ ดังนี้

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

1. วิธีเลือกเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสม

ประกันสุขภาพส่วนใหญ่ให้ความคุ้มครองแบบปีต่อปี โดยผู้เอาประกันจะต้องส่งเบี้ยประกันตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น รายเดือน รายปี หรือ ตามที่ตกลงกับบริษัทประกันภัย ซึ่งเบี้ยประกันสุขภาพนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเสี่ยงของผู้เอาประกันที่เปลี่ยนไป

เช่น ผู้เอาประกันมีอายุเพิ่มขึ้น ไลฟ์สไตล์ การประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง หรือ มีโรคภัยไข้เจ็บที่จำเป็นต้องใช้การรักษาพิเศษที่มีค่ารักษาพยาบาลสูง 

ด้วยเหตุนี้ วิธีเลือกเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสมจึงขึ้นอยู่กับ 2 ปัจจัยหลัก คือ ‘ความเสี่ยงด้านสุขภาพที่เปลี่ยนไป’ และ ‘ความสามารถในการชำระเบี้ยประกันตามเงื่อนไขที่บริษัทประกันภัยกำหนด’

โดยเบื้องต้น ประกันสุขภาพควรมีเบี้ยประกันสูงสุดไม่เกิน 20% ของรายได้รวมทั้งปีเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินมากจนเกินไป โดย 20% นี้จะเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเบี้ยประกันสุขภาพทั้งหมดรวมกัน 

เช่น หากมีรายได้ 30,000 บาทต่อเดือน ตลอดทั้งปีจะมีรายได้รวมอยู่ที่ 360,000 บาท ดังนั้น เบี้ยประกันสุขภาพรวมกัน ไม่ว่าจะเป็นของตัวเอง พ่อแม่ หรือ ของลูกที่ร่วมรับผิดชอบกับคู่ชีวิต จึงไม่ควรเกิน 72,000 บาท

อย่างไรก็ดี เบี้ยประกันสุขภาพยังไม่ควรส่งผลกระทบต่อรายจ่ายจำเป็นส่วนอื่น ภาระหนี้สิน รวมถึงเงินเก็บสำหรับเป้าหมายชีวิต หรือ เป้าหมายทางการเงินอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อสร้างความสมดุลให้กับการใช้ชีวิตของตัวเองด้วย

ดังนั้น หากคำนวณแล้วว่า 20% ของรายได้ทั้งหมดเป็นจำนวนเงินที่มากเกินไปก็สามารถปรับลดเบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสมมาอยู่ที่ 10% – 15% ของรายได้ทั้งหมดทั้งปีได้ หรือจากตัวอย่างเดิมคิดเป็น 36,000 บาท – 54,000 บาทนั่นเอง

2. คำศัพท์ประกันสุขภาพเบื้องต้นที่ต้องรู้

การเข้าคำศัพท์ประกันสุขภาพ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้เลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เข้าใจว่า การซื้อประกันสุขภาพสักกรมธรรม์สามารถช่วยบริหารความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลส่วนไหนในราคาเท่าไหร่บ้าง

โดยพื้นฐานแล้ว วิธีเลือกประกันสุขภาพเบื้องต้นควรทำความเข้าใจศัพท์ประกันทั้งหมด ดังนี้

คำศัพท์ความหมาย
ค่าใช้จ่ายส่วนแรก (Deductible)ค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อประกันจะต้องรับผิดชอบเบื้องต้น จากนั้นจึงให้บริษัทประกันรับผิดชอบในส่วนที่เหลือของค่าใช้จ่ายทั้งหมด
เช่น หากซื้อประกันสุขภาพแบบมีค่าใช้จ่ายส่วนแรก 20,000 บาท แต่มีค่ารักษาพยาบาล 60,000 บาท 
เท่ากับว่าบริษัทประกันจะรับผิดชอบอยู่ที่ 60,000 – 20,000 = 40,000 บาท ส่วนอีก 20,000 บาท ผู้เอาประกันจะต้องรับผิดชอบเอง 
20,000 บาทในส่วนนี้อาจจะนำไปเบิกกับประกันสุขภาพ หรือ สวัสดิการอื่น ๆ ได้ตามเงื่อนไขที่กำหนด 
ชดเชยรายวันชดเชยรายวัน หรือ ชดเชยรายได้ เป็นค่าชดเชยรายได้ที่บริษัทประกันจะรับผิดชอบในกรณีที่ต้องเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน (IPD) ในโรงพยาบาล
บางกรมธรรม์อาจมีเงื่อนไขชดเชยรายวัน หรือ ชดเชยรายได้ ในขณะที่บางกรมธรรม์อาจไม่ได้คุ้มครองในส่วนนี้
เบี้ยประกันสุขภาพจำนวนเงินที่จ่ายให้กับบริษัทประกันเพื่อรับความคุ้มครอง เงื่อนไขการชำระเบี้ยประกันสุขภาพจะแตกต่างกันไปตามที่บริษัทประกันกำหนด เช่น อาจแบ่งเป็นรายเดือน หรือ รายปี
ทุนประกัน หรือ จำนวนเงินเอาประกันภัยจำนวนเงินสูงสุดที่จะได้รับในกรณีที่เป็นตามสัญญา เช่น ได้เงินชดเชยเมื่อเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือ สูญเสียอวัยวะ
ค่าห้องค่าห้องพักต่อคืนเมื่อต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล สามารถแบ่งได้เป็นค่าห้อง ค่าพยาบาล ค่าอาหาร และ ค่าการดูแลพิเศษอื่น ๆ 
ดังนั้น ผู้เอาประกันต้องเช็กเอกสารแนบท้ายให้ครบถ้วนว่า ค่าห้องในประกันสุขภาพครอบคลุมค่าใช้จ่ายในส่วนไหนบ้าง
IPD – In Patient Departmentการรักษาแบบผู้ป่วยใน เฉพาะกรณีที่แพทย์ลงความเห็นให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลนานเกินกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไปเท่านั้น
OPD – In Patient Departmentการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก แพทย์ไม่ได้มีความเห็นให้นอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล เช่น ป่วย มาหาหมอ แล้วรับยากลับบ้าน จัดอยู่ในกลุ่มการรักษาพยาบาลแบบ OPD
เวชภัณฑ์อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการรักษา มักพบเห็นได้ในบิลการรักษาพยาบาล ประกอบไปด้วย
เวชภัณฑ์ 1 คือ วัสดุสำหรับการรักษาแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง เวชภัณฑ์ 2 คือ อุปกรณ์ใช้เพื่อช่วยในชีวิตประจำวัน ไม่ได้ใช้เพื่อการรักษา
ความคุ้มครองด้านค่าใช้จ่ายเวชภัณฑ์จะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง ผู้เอาประกันจะต้องศึกษาเอกสารแนบท้ายให้ครบถ้วน
ระยะเวลาเอาประกันภัยระยะเวลาที่ตกลงทำประกัน เช่น 1 ปี 10 ปี หรือ ตามที่กำหนดในกรมธรรม์
ระยะรอคอยระยะเวลาที่ยังเคลมประกันไม่ได้ เริ่มตั้งแต่ 14 วัน 30 วัน 90 วัน หรือ 120 วัน ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันสุขภาพที่เลือกทำ
ระยะผ่อนผันระยะเวลาที่บริษัทประกันอนุญาตให้ชำระเบี้ยประกันล่าช้าได้ ส่วนใหญ่มักนับจากวันครบกำหนดชำระ 30 – 60 วัน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง
เอกสารแนบท้ายเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ที่จะบอกข้อกำหนดการทำประกันสุขภาพอย่างละเอียด เช่น กรณีไหนต้องได้คุ้มครองแบบใด ได้เงินชดเชยเท่าไหร่ 
สินไหมหรือ ค่าสินไหมทดแทน เป็นการตกลงชดเชยเงิน หรือ สิ่งของ ทดแทนความเสียหายที่สามารถคำนวณได้ โดยบริษัทประกันจะจ่ายให้ตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น การคำนวณและพิจารณาค่าสินไหมจะเป็นไปตามที่บริษัทประกันกำหนด
การเลือกซื้อประกันสุขภาพจำเป็นต้องเข้าใจอะไรบ้าง

ประเด็นที่ 3 : เข้าใจข้อยกเว้นประกันสุขภาพ

นอกจากข้อยกเว้นประกันสุขภาพทั่วไปในเรื่องของโรคที่เป็นมาก่อนการรับประกัน ไปจนถึงโรคและภาวะที่จะไม่ได้รับความคุ้มครองแล้ว ผู้เอาประกันยังควรทำความเข้าใจถึงเงื่อนไขความคุ้มครองของประกันสุขภาพ เพื่อป้องกันประเด็นข้อพิพาทที่อาจตามมาในอนาคต

เช่น เงื่อนไขความคุ้มครองการเจ็บป่วยในช่วงระยะเวลารอคอย การรักษาที่เกินจำเป็นจนทำให้ไม่สามารถเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลได้ ไปจนถึงการเจ็บป่วยด้วยสาเหตุ หรือ โรคที่อยู่นอกเหนือความคุ้มครอง 

ตัวอย่างข้อยกเว้นประกันสุขภาพเบื้องต้น

หากนาย A ดื่มสุราจนเกิดอุบัติเหตุตกบันไดขาหัก จะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลในส่วนนี้ได้ หรือ หากนาย B เข้ารับการศัลยกรรมแล้วเกิดภาวะแทรกซ้อน จะไม่สามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลในส่วนนี้ได้เช่นกัน

ทั้งนี้ ข้อยกเว้นประกันสุขภาพจะแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยแต่ละแห่ง ดังนั้น ก่อนตัดสินใจทำประกันสุขภาพที่ไหนดีก็ตาม ผู้เอาประกันควรศึกษาได้ที่เอกสารแนบท้าย หรือ สอบถามไปยังบริษัทประกันภัยที่สนใจโดยตรงทุกครั้ง

เข้าใจข้อยกเว้นประกันสุขภาพ

เลือกประกันสุขภาพที่ไหนดี เลือกประกันสุขภาพออนไลน์ Sunday ดีกว่า!

การเลือกซื้อประกันสุขภาพให้ตอบโจทย์ความต้องการ จำเป็นต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย 

หลังจากที่เข้าใจวิธีเลือกเบี้ยประกันสุขภาพ ตลอดจนมีพื้นฐานด้านคำศัพท์ประกันสุขภาพที่จะช่วยให้เปรียบเทียบความคุ้มครองของประกันสุขภาพในกรณีต่าง ๆ ได้เบื้องต้นแล้ว จะดีกว่าไหม? หากได้ลองนำความเข้าใจในบทความนี้ไปปรับใช้ในการเปรียบเทียบประกันสุขภาพจริง

ประกันสุขภาพออนไลน์ Sunday ครบครันทุกความต้องการด้านประกันสุขภาพ เปรียบเทียบประกันสุขภาพที่เหมาะสมกับคุณและคนที่รักได้ง่าย ๆ เพียงใส่ ‘วันเดือนปีเกิด’ และ ‘ตอบคำถามสุขภาพไม่กี่คลิก’ ก็รับความคุ้มครองที่เมคเซนส์ในเบี้ยประกันที่เหมาะสมทันที

หากเปรียบเทียบประกันสุขภาพออนไลน์ดูแล้ว แต่ยังไม่แน่ใจจะเลือกประกันสุขภาพกรมธรรม์ไหนดี แอดไลน์ : @easysunday (มี @ ด้วย) แล้วรับคำปรึกษาฟรี ไม่ต้องกรอกข้อมูลติดต่อก็รู้ประกันสุขภาพที่เหมาะสมได้ง่าย ๆ 

ซื้อประกันสุขภาพเหมาจ่าย

Share this article
Shareable URL
อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

ประกันอุบัติเหตุจำเป็นแค่ไหน ผู้หญิงเสี่ยงกว่าจริงไหม?

ผู้หญิงเสี่ยงอุบัติเหตุมากกว่าจริงหรือไม่ ทำไมต้องทำประกันอุบัติเหตุผู้หญิงโดยเฉพาะ? “อุบัติเหตุ”…
does-woman-face-more-accidents-than-men

โรคที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก คุ้มครองด้วยประกันสุขภาพ OPD

การรักษาแบบ OPD คืออะไร ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกคุ้มครองโรคไหนบ้าง? จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่า…
opd-diseases-and-opd-health-insurance

ทำประกันต้องรู้! ค่าห้องพิเศษโรงพยาบาล อัปเดตปี 2567

ซื้อประกันต้องเข้าใจ! ค่าห้องพิเศษโรงพยาบาลคืออะไร พร้อมอัปเดตค่าห้องปี 2567 นอกจากโรงพยาบาลในเครือข่ายแล้ว…
private-room-hospital-update-2024

อัปเดต! ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชนปี 2567 งบไม่เกิน 10,000 บาท!

ค่าห้องโรงพยาบาลเอกชน ไม่เกิน 10,000 บาท อัปเดตล่าสุด เจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาล เชื่อว่าหลายๆ…
hospital-room-costs-2024
0
Share