hero-image

ค่า Excess กับ ค่า Deductible คืออะไร ต่างกันอย่างไร ซันเดย์มีคำตอบ

ทำประกันชั้น 1 แล้วทำไมยังต้องเสียค่า excess ด้วย! เจ้าของรถที่ทำประกันรถส่วนใหญ่มักโวยวายเมื่อถูกบริษัทประกันเรียกเก็บ “ค่า excess” วันนี้ซันเดย์จะมาอธิบายให้เคลียร์ไปเลยว่า ค่า excess คืออะไร ทำไมต้องเรียกเก็บในบางกรณี แล้วค่าใช้จ่ายนี้ต่างกับค่า deductible ที่หลายคนมักสับสนจนนำมาปนกันอย่างไร


อย่างแรกมาทำความรู้จักกันก่อน ค่า excess คืออะไร?

ค่า excess มีชื่อเต็มว่า “ค่าเสียหายส่วนแรกภาคบังคับ” นั่นก็คือ เป็นค่าใช้จ่ายที่ “บังคับเก็บ” ไม่ว่าคุณจะทำประกันชั้นไหน (แม้จะเป็น ประกันชั้น 1 ก็ไม่ยกเว้น!) หรือบริษัทใดก็ตาม โดยจะเรียกเก็บในการแจ้งเคลมบางกรณีที่ชวนให้สงสัยได้ว่า คุณแจ้งเคลมโดยที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริงเพื่อหวังซ่อมรถฟรี โดยกรณีที่เข้าข่ายโดนเก็บค่า excess คือ 1.จากอุบัติเหตุที่ไม่ได้เกิดจากการชนหรือคว่ำ หรือ 2. ชนแต่ไม่สามารถหาคู่กรณีได้ อ่านนิยามนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพ อ่านต่อสิ เดี๋ยวเรามีตัวอย่างมาให้


ทำไมต้องเก็บค่า excess ด้วย?

  1. เพราะบริษัทประกันกลัวคุณแจ้งเคลมทั้งที่ไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริง เพื่อหวังซ่อมรถฟรี เช่น อยากทำสีรถใหม่ ก็เอาคัตเตอร์กรีดรถให้เป็นรอยแล้วโทรเรียกประกัน
  2. เพื่อให้คุณพยายามขับรถโดยไม่ประมาท ไม่ใช่พอรู้ว่ามีประกัน จะขับรถสวิงสวายน่าหวาดเสียวอย่างไรก็ได้ เพราะรู้ว่ายังไงประกันก็จ่าย

กรณีไหนเสียหรือไม่เสียค่า excess บ้าง?

เอาละ ตอนนี้คุณรู้คอนเซปต์แล้วว่าค่า excess คืออะไร มีไว้ทำไม มาดูกันเลยว่ากรณีไหนเข้าข่ายเสีย/ไม่เสียค่า excess

ไม่เสียค่า excessเสียค่า excess
ชนรถคันอื่น & บาดแผลสอดคล้อง & บอกรายละเอียดคู่กรณีได้ชนรถคันอื่น แต่บอกรายละเอียดคู่กรณีไม่ได้
ชน “อะไรก็ตามที่ไม่ใช่รถ” จนทำให้อุปกรณ์หรือตัวรถ “บุบ แตก ร้าว”   บาดแผลต้องสอดคล้อง & ต้องบอกลักษณะการเกิดเหตุได้ ชน “อะไรก็ตามที่ไม่ใช่รถ” แต่รถหรืออุปกรณ์ไม่บุบ แตก ร้าว ชนคน/สัตว์ & บาดแผลสอดคล้อง & บอกลักษณะการเกิดเหตุได้ ชนวัตถุที่ยึดแน่นกับพื้นดิน & บาดแผลสอดคล้อง & บอกลักษณะการเกิดเหตุได้ โดยวัตถุที่ยึดแน่นกับพื้นดิน มีอาทิ             – กำแพง เสา ประตู ป้ายจราจร กำแพง             – ขอบถนน ราวสะพาน             – ต้นไม้ยืนต้น กองดิน หน้าผารถเสียหายที่ “ไม่ได้เกิดจากการชน” & หาคู่กรณีไม่ได้/ระบุสาเหตุที่ทำให้รถเสียหายไม่ได้ เช่น   รถถูกขีดข่วน หินหรือวัตถุกระเด็นใส่ เฉี่ยวกิ่งไม้ ลวดหนาม สายไฟฟ้า รถครูดกับพื้นถนน ตกหลุม รถเหยียบตะปู ของมีคม ยางฉีก รถถูกสัตว์กัดแทะ 
รถพลิกคว่ำรถไถลตกข้างทาง แต่ไม่พลิกคว่ำ

ต้องเสียค่า excess เท่าไหร่?

ค่า excess เรียกเก็บครั้งละ 1,000 บาทต่อ “เหตุการณ์” เช่น ถ้าคุณโชคร้าย ก้อนหินตกใส่รถและล้อรถเหยียบตะปูในคราวเดียวกัน นับเป็น 2 เหตุการณ์ (เหตุการณ์ที่ 1 ก้อนหินตกใส่, เหตุการณ์ที่ 2 รถเหยียบตะปู) คุณต้องเสียค่า excess 1,000 x 2 = 2,000 บาท

ช้าก่อน แต่ถ้าไม่อยากเสียค่า excess ละก็ เรียกเคลมผ่านไลฟ์สตรีมมิ่งที่ LINE @easysunday หรือ ซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday (iOS และ Android) ได้แล้วตั้งแต่วันนี้


มารู้จักค่า deductible กันต่อดีกว่า

เจ้าของรถส่วนใหญ่มักสับสนค่า deductible กับค่า excess ขอบอกตรงนี้เลยว่า

  • ค่า excess = ค่าเสียหายส่วนแรก “ภาคบังคับ”
  • ค่า deductible = ค่าเสียหายส่วนแรก “ภาคสมัครใจ”

ค่า deductible คือค่าใช้จ่ายที่คุณยอมเสีย “แบบสมัครใจ” ทุกครั้งที่มีการเคลมในอุบัติเหตุ “ที่คุณเป็นฝ่ายผิด”

อ้าว บ้าหรือเปล่า แล้วอยู่ดีๆ จะยอมเสียตังค์ให้บริษัทประกันทำไม คำตอบคือ ถ้าคุณยอมจ่ายค่า deductible คุณก็จะประหยัดค่าประกันรถไปได้ตามจำนวนค่า deductible ที่คุณระบุไว้

เช่น เบี้ยประกัน 10,000 บาท คุณระบุว่า สมัครใจจ่ายค่า deductible 2,000 บาททุกครั้งที่มีการเคลมโดยที่คุณเป็นฝ่ายผิด คุณก็จะประหยัดค่าประกันไปได้เลย 2,000 บาท ทำให้เสียค่าเบี้ยประกันแค่ 10,000 – 2,000 = 8,000 บาท


เลือกจ่ายค่า deductible กับไม่จ่าย แบบไหนคุ้มกว่ากัน?

คำตอบนี้ขึ้นอยู่กับว่า คุณเป็นนักขับแบบไหน

  1. นักขับชำนาญ – หากคุณเชี่ยวชาญในการขับรถพอสมควร มีวินัยในการขับรถ และมั่นใจว่าตัวเองมีโอกาสเฉี่ยวชนผู้อื่นน้อย ก็เลือกแบบจ่ายค่า deductible เถอะ เพราะช่วยให้ประหยัดเบี้ยประกันไปได้ และถ้าเกิดอุบัติเหตุแบบที่ “คุณไม่เป็นฝ่ายผิด” คุณก็ไม่ต้องจ่ายอะไร
  2. นักขับชนบ่อย – ถ้าคุณยังขับรถไม่ชำนาญ หรือใจร้อนชอบขับชนนู่นชนนี่ ก็อย่าเลือกทำประกันรถแบบเสียค่า deductible เลย เพราะค่าเบี้ยประกันที่ลดไปได้อาจไม่คุ้มกับค่า deductible ที่ต้องเสียรายครั้ง ในแต่ละครั้งที่คุณชนแบบ “เป็นฝ่ายผิด”

หวังว่าอ่านมาถึงตรงนี้ คุณจะเข้าใจแล้วว่า ไม่ว่าคุณจะทำประกันชั้นไหน คุณก็ต้องเสียค่า excess อยู่ดีหากเข้าเกณฑ์ แต่ถ้าคุณไม่อยากเสียค่า excess สามารถเรียกเคลมผ่านไลฟ์สตรีมมิ่งที่ LINE @easysunday หรือ ดาวน์โหลดซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday (iOS และ Android) ได้แล้วตั้งแต่วันนี้ เรายกเว้นค่า excess ให้ สำหรับลูกค้าที่ทำประกันรถยนต์กับซันเดย์

ประกันรถจากซันเดย์ ให้คุณปรับความคุ้มครองเองได้ แถมบริการรับรถส่งซ่อมให้ฟรี เช็คราคาที่ https://retail.easysunday.com/sunday-car-insurance


แนะนำแผนประกันจากซันเดย์

ทำไม ประกันรถยนต์ จากซันเดย์แตกต่างจากประกันทั่วไป?

  • ราคาเบี้ยประกันที่ถูกลง
    • ด้วยเทคโนโลยีประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลความเสี่ยงด้วย Artificial Intelligence (AI) ทำให้เราประเมินความเสี่ยงของคุณได้ใกล้เคียงความเป็นจริงที่สุด คุณจึงไม่ต้องจ่ายค่าประกันราคาแพงโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ คุณยังปรับเปลี่ยนความคุ้มครองเองได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีประกันเจ้าใดให้คุณทำมาก่อน
  • เคลมออนไลน์ เคลมเร็ว
    • เราผนวกแพล็ตฟอร์มดิจิทัลหลากหลาย จะเรียกเคลม แจ้งอุบัติเหตุ เช็คสถานะการเคลม จองคิวรับรถ เช็คสถานะการซ่อม ต่อกรมธรรม์ ทั้งหมดทำได้ง่ายๆ ผ่านมือถือด้วยซูเปอร์แอปฯ Jolly by Sunday (ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ที่ App Store และ Google Play Store) หรือเคลมผ่าน LINE @easysunday ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
  • บริการรับส่งรถถึงที่ การันตีซ่อมเสร็จใน 7 วัน
    • พร้อมรับประกันอะไหล่ซ่อม 1 ปี สำหรับความเสียหายไม่เกิน 1 หมื่นบาท อ่านรายละเอียด

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง